ไปรท์ค่ะYou

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

พันธุ์และลักษณะโคเนื้อ


ในอดีต การเลี้ยงโคเนื้อในประเทศไทยเน้นหนักไปในทางการใช้แรงงาน เช่น ช่วยในการไถนา หรือทำไร่ เมื่อโคเหล่านี้
มีอายุมาก ใช้แรงงานไม่ไหว เจ้าของมักจะส่งเข้าโรงฆ่า ดังนั้นเนื้อโคที่ใช้บริโภคในอดีต มักจะมาจากโคที่ใช้แรงงาน
เหล่านี้ถูกขายเข้าโรงฆ่าเมื่อมีอายุมาก หรือหมดสภาพที่จะใช้แรงงานได้ ซึ่งเนื้อที่ได้จากโคที่ใช้แรงงานเหล่านี้ จะเป็น
เนื้อคุณภาพต่ำ เนื้อจะเหนียว มีไขมันแทรกในเส้นใยกล้ามเนื้อน้อย ไขมันหุ้มซากจะเป็นสีเหลือง เรียกว่า เนื้อวัวมัน ขาย
ไม่ได้ราคาเท่าใดนักและไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ หรือตลาดเนื้อคุณภาพสูงในประเทศ

และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาความรู้เรื่องโคเนื้อ และการขุนโคเพื่อให้ได้เนื้อมีคุณภาพดีมากขึ้น ทำให้เกิดการ
ปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อ มีการขุน เพื่อให้โคโตเร็ว มีไขมันแทรกตามเส้นใยกล้ามเนื้อ จนเนื้อมีความนุ่มและฉ่ำ จนกลาย
เป็นเนื้อคุณภาพดี เนื้อที่มีคุณภาพดีเหล่านี้ จะขายได้ราคาและเป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อคุณภาพสูงภายในประเทศ
เช่นตามโรงแรมต่าง ๆ และตลาดเนื้อคุณภาพสูงของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ปัจจุบันได้เกิดธุรกิจการเลี้ยงโคขุนขึ้น
และได้แพร่กระจายอยู่เกือบทุกภาคของประเทศ แต่ก่อนจะทราบถึงวิธีการเลี้ยงโคเนื้อหรือการขุนโค ควรรู้เรื้องพันธุ์โค
เนื้อและลักษณะโคเนื้อที่ดีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องการเลี้ยงและการขุนต่อไป



โคพันธุ์ขาวลำพูน
  โคพันธุ์ขาวลำพูน เป็นโคพันธุ์พื้นเมืองในภาคเหนือของไทย โดยเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว พ่อค้าที่อยู่ตามแนวชายแดน
ไทย-พม่า แถบแม่ฮ่องสอน ได้เคลื่อนย้ายโคมาจากพม่าเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายกับสินค้าอื่น ๆ โดยถ้ามีรูปร่างสวยงาม
เป็นที่ถูกใจก็จะคัดเอาไว้เลี้ยง และแม่พ่อค้าโคชาวของหรือไทยของซึ่งมีถิ่นฐานในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูนได้พบเห็นและ
ชอบใจในโคเหล่านี้จึงได้ซื้อและได้นำมาเลี้ยงผสมพันธุ์ในกลุ่มโคขาวด้วยกันเอง จนได้ลูกหลานโคที่มีผิวและขนขาวเด่น
รูปร่างสวยเพรียวขึ้นแตกต่างไปจากเดิม
เป็นโคที่มีลักษณะสวยเพรียว สันทัด สีขาวปลอด ขนตาออกสีขาวชมพู ดวงตาสีน้ำตาลอ่อน เขาสีขาว จมูกสีขาว 
ขนหางสีขาว กีบสีขาว เหนียงไม่หย่อนยานมาก มีนิสัยเชื่อง ไม่ดุ ฝึกสอนง่ายสามารถใช้ไถนาเทียมเกวียนได้อย่างดี
ได้รับความนิยมสูงในเกษตรกรภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นพันธุ์โคเอกลักษณะของจังหวัด
ลำพูน ซึ่งสมควรจะได้รับการอนุรักษ์ไว้ต่อไป (จุลสารผสมเทียม "40 ปี งานผสมเทียมในประเทศไทย")
โคพันธุ์ชาโรเลส์(Charolais) เป็นโคสายพันธุ์ยุโรป (Bos taurus) ได้รับการเรียกชื่อตามแหล่งกำเนิด  คือ
เมืองชาโรเลส์(Charolles) ในแคว้นเบอร์กันดี (Burgandy)ทางตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างปี ค.ศ. 
ี1850-1880 มีการนำโคพันธุ์ชอร์ทฮอร์น (Shorthorn) มาผสมข้ามพันธุ์เพื่อปรับปรุงให้มีลักษณะของโคเนื้อที่ดี
ียิ่งขึ้น ได้มีการยอมรับเป็นพันธุ์โคอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1864 และสามารถจัดเป็นพันธุ์แทและจดทะเบียน
้ลักษณะสายพันธุ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นพันธุ์หลักของประเทศฝรั่งเศสที่ใช้ผลิตเป็นพ่อแม่พันธุ์
หรือเป็นโคขุนส่งออกไปขายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โคพันธุ์ชาโรเลส์ได้มีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 
2515
โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคที่มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันมากในแหล่งเลี้ยง
โคเนื้อทั่วโลกว่า สามารถให้ลูกผสมที่มีคุณลักษณะทางเศรษฐกิจดีเด่นหลายประการ เช่น อัตราการเจริญเติบโตเร็ว 
มีโครงร่างที่ใหญ่ มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร (Feed conversion)สูง และสร้างเนื้อคุณภาพ
ดีได้มาก ฯลฯ
โคพันธุ์อเมริกันบราห์มัน (American Brahman) เป็นโคเนื้อเมืองร้อนสายพันธุ์โคอินเดีย (Bos
indicus) ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศอเมริกาโดยนำไปปรับปรุงพันธุ์ทางตอนใต้ของอเมริกา ซึ่งเป็น
แถบที่มีอากาศร้อนและมีเห็บมาก โคพันธุ์นี้ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาจากโคพันธุ์ในประเทศอินเดีย เช่น กูจาราต, 
เนลลอร์ และเกอร์รี่ กับพันธุ์อินดูบราซิลจากประเทศบราซิล ดังนั้น จึงตั้งชื่อว่าบราห์มัน ซึ่งแผลงมาจากคำว่าพราหมณ์ 
เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศอินเดีย และใส่อเมริกันไว้ข้างหน้า เพื่อให้ทราบว่าปรับปรุงพันธุ์จากประเทศอเมริกา ทาง
กรมปศุสัตว์ได้ทดลองนำเข้าโคพันธุ์นี้ครั้งแรกจากประเทศอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2497 หลังจากนั้นก็มีการนำเข้า
เป็นระยะ ๆ ทั้งจากหน่วยงานราชการและเอกชน ปัจจุบันเป็นที่นิยมของเกษตรอย่างมากโดยเฉพาะภาคอีสาน อีกทั้ง
ยังนิยมใช้เป็นโคพื้นฐานในการผสมพันธุ์กับโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรปอื่น ๆ เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพ
ภูมิอากาศแบบเมืองร้อนและมีความทนทานต่อโรคและแมลงดี เกิดเป็นโคพันธุ์ผสมที่ดีเด่นได้หลากหลายเช่น โคพันธุ์
ชาร์เบรย์ (Chabray), พันธุ์แบรงกัส(Brangus), พันธุ์บราห์ฟอร์ด(Brahford),
ซิมบราห์(Simbrah) ฯลฯ
โคพันธุ์เฮียร์ฟอร์ด(Hereford) มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ จัดเป็นโค
ที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ โคเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัม 
โคเพศเมียมีน้ำหนัก 800 กิโลกรัม รูปร่างเตี้ยและสั้น และมีสีขาวบริเวณหน้า 
หน้าอก เหนียงคอ พื้นท้อง โคพันธุ์นี้มักมีสุขภาพทางเพศดี สามารถให้ลูกได้
มากกว่าโคยุโรปพันธุ์อื่น ๆ แต่คุณภาพซากมักจะสู้โคยุโรปพันธุ์อื่น ๆ ไม่ได้

 โคพันธุ์ชอร์ทฮอร์น(Shorthorn) เป็นโคที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศอังกฤษทางตอนเหนือ เป็น
โคขนาดกลาง โคเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 850 กิโลกรัม โคเพศเมียมีน้ำหนักเฉลี่ย 600 กิโลกรัม มีเขาสั้น ขนหยิก
หน้าสั้น คอสั้น รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ลำตัวกว้างลึก ลำตัวสีแดงขาวหรือสีแดงแกมขาว
โคพันธุ์แองกัส(Angus) มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศสก๊อตแลนด์ เป็นโคขนาดกลางถึงเล็ก โคเพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 900 
กิโลกรัม โคเพศเมียมีน้ำหนักประมาณ 600 กิโลกรัม โคพันธุ์นี้จะมีสีดำตลอด
ตัว ไม่มีเขา ถึงวัยเจริญเร็ว แม่โคเลี้ยงลูกเก่ง โคพันธุ์นี้มีไขมันแทรกใน
กล้ามเนื้อมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ทำให้เนื้อมีคุณภาพดีเยี่ยม แต่มีข้อเสียคือ 
เนื่องจากมีขนาดเล็กอัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมไม่ดีนัก พร้อมทั้ง
ปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย คือ ร้อนชื้นไม่ดี
โคพันธุ์ลิมัวซิน(Limousin) เป็นโคที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส 
นำเข้าประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2520 โดย กรป.กลาง  (นิตยสารโคบาล
แมกกาซีน ปีที่ 2 ฉบับที่ 16 เดือน พฤศจิกายน 2548)   เป็นโคขนาดกลาง
ถึงใหญ่ โคเพศผู้หนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม โคเพศเมียหนักประมาณ
650 กิโลกรัม มีสีเหลืองอ่อนตลอดลำตัว บริเวณขอบตาและจมูก สีจะอ่อน
กว่าบริเวณลำตัว ลำตัวยาว หัวจะสั้น หน้าผากกว้าง จมูกกว้าง เขาขนานกับ
พื้นและปลายจะโค้งงอขึ้นข้างบน อกกลม ซี่โครงโค้งมีกล้ามเนื้อหลังเต็ม
บริเวณสะโพกมีกล้ามเนื้อมาก อัตราการเจริญเติบโตดี ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักสูง
คุณภาพซากดีปานกลาง มีเนื้อแดงมากแต่ความชุ่มฉ่ำมีน้อย
โคพันธุ์เดร้าท์มาสเตอร์ (Droughtmaster) มีแหล่งกำเนิดอยู่ในรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย เกิดจากการ
ผสมข้ามพันธุ์ระหว่างโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรป (Bos taurus)ได้แก่ พันธุ์เดวอน, ชอร์ทฮอร์น, เฮียร์ฟอร์ด
กับโคเนื้อสายพันธุ์อินเดีย (Bos indicus)ได้แก่พันธุ์อเมริกันบราห์มัน และมีสายเลือดพันธุ์ซานตา เกอร์ทรูดิส
ผสมอยู่ด้วย ในประเทศไทยได้มีการสั่งนำเข้ามาเลี้ยงจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2527 ด้วยเงินยืมจาก
กองทุนเกษตรกร นำมาเลี้ยงไว้ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง จ.สระบุรี

: ลักษณะประจำพันธุ์ :
     -ทนร้อนได้ดี เนื่องจากมีต่อมเหงื่อในตัวมาก พิเศษกว่าวัวพันธุ์อื่น ผิวหนังขับเหงื่อได้ดีพอ ๆ กับต่อมน้ำลาย ช่วยให้ขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกจากตัว
ได้ง่าย จึงทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีมาก
    -ผิวสีแดง สามารถจะป้องกันรังสีแสงแดดที่แผดจ้า อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้วัวเกิดโรคก้อนเนื้อในดวงตา(Eye Cancer)และโรคเยื่อตาอักเสบ(Pink eye)
    -คุณภาพเนื้อ เป็นเนื้อคุณภาพดี นุ่มไม่เหนียว สีแดงสด สันนอกและสันในมีเนื้อแดงมาก
    -กินอาหารเก่ง ช่วยให้มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว
    -เหมาะสมทุกพื้นที่ เดร้าท์มาสเตอร์ถูกพัฒนาเพื่อให้อยู่ได้ในทุกสภาพพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาทั่วแถบแปซิฟิค
และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    -เลี้ยงง่ายโตเร็ว มีความสมบูรณ์พันธุ์เร็ว สามารถเลี้ยงปล่อยให้พื้นที่แห้งแล้ง หากินหญ้าตามธรรมชาติที่มีคุณค่าต่ำได้อย่างไม่มีปัญหา
    -ให้ลูกดก กลับเป็นสัดหลังคลอดเร็ว ความสมบูรณ์พันธุ์ดี ผสมติดง่าย เปอร์เซ็นต์การผสมติด 81-92 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้ลูกดกทุกปี
    -เลี้ยงลูกเก่ง มีน้ำนมมาก ช่วยให้ลูกเจริญเติบโตเร็ว มีน้ำหนักเมื่อหย่านมสูง เฉลี่ยอัตราการรอดของลูกเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น