ไปรท์ค่ะYou

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

สัตวFC vs บางกอกกล๊าส

http://www.youtube.com/watch?v=XYu25thvWv8

สัตว์น่ารัก








คลิปสัตว์น่ารัก


หมาหื่น ข่มขืนแมว - ดูคลิปทั้งหมด คลิกที่นี่
อัน นี้้ ไม่ ใช่ แพะ รับ บาป เรียก ว่า แพะ ... อิ อิ - ดูคลิปทั้งหมด คลิกที่นี่
ขอกินหน่อยคับ ขอกินหน่อย? - ดูคลิปทั้งหมด คลิกที่นี่ ที่มา:http://www.clipmass.com/channel/14/3

การเลี้ยงไก่ไข่


การเลี้ยงไก่ไข่

ประวัติและความเป็นมา
ในอดีตการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทย มีการเลี้ยงตามบ้านเล็กๆ น้อยๆ เพื่อกินเนื้อกินไข่ คือ การเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติให้ไก่อาศัยตามใต้ถุนบ้าน ชายคา โรงนา และต้นไม้ พันธุ์ไก่ที่เลี้ยงจะเป็นไก่พันธุ์พื้นเมือง เช่น ไก่แจ้ ไก่อู และไก่ตะเภา เป็นต้น

ในปี พ.ศ.2567 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤษดากร ได้นำไก่พันธุ์เล็กฮอร์นมาเลี้ยงแบบทันสมัย เพื่อการค้าเป็นครั้งแรก แต่การเลี้ยงไก่ไม่พัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีวัคซีนและยาเพื่อป้องกันและรักษาโรคไก่

ในปี พ.ศ.2484 หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ ได้ร่วมมือกันทดลองเลี้ยงไก่พันธุ์ต่างๆ ที่แผนกสัตว์เล็ก บางเขน แต่พอมีไก่เต็มโรงเรือนและมีการแข่งขันไก่ไข่ดกเป็นทางการขึ้นเป็นครั้งแรก ก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น ทำให้การเลี้ยงไก่ไข่และไก่ไข่ดกต้องหยุดชะงักไประยะหนึ่ง

ต่อมาในปี พ.ศ.2492 ได้สั่งไก่พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์แดง จากประเทศสหรัฐอเมริกาและพันธุ์ออสตราล็อปจากประเทศออสเตรเลีย เข้ามาทดลองเลี้ยงและส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงเป็นอาชีพ รวมทั้งได้สั่งไก่พันธุ์อื่นๆ เข้ามาเลี้ยง เช่น พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค พันธุ์นิวแฮมเชียร์ เป็นต้น และในปี พ.ศ.2489 นี้เองเป็นปีที่มีการตื่นตัวในการเลี้ยงไก่อย่างมาก เนื่องจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นและ จอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและประธานกรรมการการส่งเสริมปศุสัตว์แห่งชาติ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก

ต่อมาในราวปี พ.ศ.2494-2495 ได้มีการเลี้ยงไก่ลูกผสม เพื่อให้ได้ไข่ดกและทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย เชน พันธุ์ออสตราไวท์โร๊ดบาร์ เป็นต้น นอกจากนี้องค์การอาหารและเกษตรขององค์การสหประชาชาติยังได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไก่และโรคไก่เข้ามาช่วยเหลือและส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่
ในประเทศไทย อีกทั้งกรมปศุสัตว์ได้ทำการศึกษา ทดลอง และผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ในการเลี้ยงไก่ไข่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเลี้ยงไก่ไข่เริ่มเป็นที่ยอมรับของประชาชนมากขึ้น กลายเป็นอาชีพที่สำคัญของคนไทยในปัจจุบัน
พันธุ์ไก่ไข่
ไก่พันธุ์แท้
เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์มาเป็นอย่างดี จนลูกหลานในรุ่นต่อๆ มามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สี และอื่นๆ เหมือนบรรพบุรุษไก่พันธุ์แท้
1. โร๊ดไอส์แลนด์แดงหรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไก่โร๊ด เป็นไก่พันธุ์เก่าแก่พันธุ์หนึ่ง มีอายุกว่า 100 ปี โดยการผสมและคัดเลือกพันธุ์มาจากพันธุ์มาเลย์แดง ไก่เซี่ยงไฮ้แดง ไก่เล็กฮอร์นสีน้ำตาล ไก่ไวยันดอทท์ และไก่บราห์มาส์ ไก่พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์แดง มี 2 ชนิดคือ ชนิดหงอนกุหลาบและหงอนจักร แต่นิยมเลี้ยงชนิดหงอนจักร
รูปร่างลักษณะ
มีรูปร่างค่อนข้างยาวและลึก เหมือนสี่เหลี่ยมยาว
ขนสีน้ำตาลแกมแดง
ผิวหนังและแข้งสีเหลือง แผ่นหูมีสีแดง
เปลือกไข่สีน้ำตาล

ลักษณะนิสัย
เชื่อง แข็งแรง
สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
เริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 5 เดือนครึ่ง - 6 เดือน ให้ไข่ปีละประมาณ 280-300 ฟอง
น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3.1-4.0 ก.ก. เพศเมียหนัก 2.2-4.0 ก.ก.
2. บาร์พลีมัทร็อค หรือที่เรียกกันว่า ไก่บาร์ เป็นไก่พันธุ์พลีมัทร็อค ผิวหนังสีเหลือง
รูปร่างลักษณะ
ขนสีบาร์ คือมีสีดำสลับกับขาวตามขวางของขน
หงอนจักร
ให้ไข่เปลือกสีน้ำตาล
เริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือนครึ่ง - 6 เดือน
3. เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร จัดเป็นไก่พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายมากที่สุดในบรรดาไก่เล็กฮอร์นด้วยกัน ปัจจุบันนิยมผสมข้าม
สายพันธุ์ตั้งแต่สองสายพันธุ์ขึ้นไป เพื่อผลิตเป็นไก่ไข่ลูกผสมเพื่อการค้า
รูปร่างลักษณะ
มีขนาดเล็ก
ขนสีขาว
ให้ไข่เร็ว ให้ไข่ดก ไข่เปลือกสีขาว
มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารค่อนข้างสูง เพราะมีขนาดเล็ก ทนร้อนได้ดี
เริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 4 เดือนครึ่ง - 5 เดือน ให้ไข่ปีละประมาณ 300 ฟอง
น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 2.2-2.9 ก.ก. เพศเมีย 1.8-2.2 ก.ก.
ไก่ลูกผสม
เป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ไก่ที่ให้ไก่ดก เพื่อเป็นการผลิตไข่ในราคาที่ถูกที่สุด ส่วนมากแล้วการผสมไก่ประเภทนี้ลูกผสมที่ได้จะมีลักษณะบางอย่างที่ดีกว่าพ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะความทนทานต่อโรค ไก่ลูกผสมที่ยังมีผู้นิยมเลี้ยงอยู่บ้าง ได้แก่ ไก่ลูกผสมระหว่างพ่อโร๊ด+แม่บาร์, พ่อบาร์+แม่โร๊ด, เล็กฮอร์น+โร๊ด, โร๊ด+ไฮบริด และลูกผสม 3 สายเลือด คือ ลูกตัวเมียที่ได้จากลูกผสมพ่อโร๊ด+แม่บาร์ นำไปผสมกับพ่อไก่อู ลูกผสมที่ได้จะมีเนื้อดี โตเร็ว และไข่ดีพอสมควร เหมาะสำหรับนำไปเลี้ยงเป็นรายได้เสริม
ไกไฮบรีด
เป็นไก่พันธุ์ไข่ที่มีผู้นิยมเลี้ยงมากที่สุดในปัจจุบัน เป็นพันธุ์ไก่ที่ผสมขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตลูกไก่พันธุ์จำหน่ายได้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ไก่พันธู์ที่ให้ผลผลิตไข่สูง และมีคุณภาพตามความต้องการของตลาด คือ ให้ไข่ดก เปลือกไข่สีน้ำตาล ไข่ฟองโตและไข่ทน ไก่ไฮบรีดจะมีลักษณธะเด่นประจำพันธุ์และมีข้อมูลประจำพันธุ์อย่างละเอียด เช่น อัตราการเจริญเติบโต เปอร์เซนต์การไข่ ระยะเวลาในการให้ไข่ ขนาดของแม่ไก่ อัตราการเลี้ยงรอด ขนาดของฟองไข่ สีของเปลือกไข่ ปริมาณอาหารที่กิน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไก่ไฮบรีดนี้ต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพสูง มีการจัดการที่ถูกต้อง เช่น การควบคุมน้ำหนักตัว การควบคุมการกินอาหาร การควคุมแสงสว่าง ตลอดทั้งการสุขาภิบาลและการป้องกันโรคที่ดี

ด้วยเหตุนี้ที่ไก่ไฮบรีดส่วนใหญ่มีการผสมพันธุ์ที่ดำเนินการโดยบริษัทผลิตพันธุ์ไก่เป็นการค้า ซึ่งจะรักษาไก่ต้นพันธุ์และระบบการผสมพันธุ์ไว้เป็นความลับเพื่อผลประโยชน์ในทางการค้า ไก่ไข่ไฮบรีดจึงมีชื่อแตกต่างกันออกไปตามแต่บริษัทผู้ผลิตจะตั้งขึ้น ที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทย ได้แก่ ดีคาร์บ, ซุปเปอร์ฮาร์โก้, เอ-เอบราวน์, เซพเวอร์สตาร์คร็อส, เมโทรบราวน์ เป็นต้น
อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่
การเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้าจำเป็นที่จ้องมีอุปกรณ์การเลี้ยงที่จำเป็นและสำคัญนับตั้งแต่ระยะลูกไก่จนถึงระยะให้ไข่ ดังนี้      1. อุปกรณ์การให้อาหาร มีอยู่หลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากมี 4 ชนิด คือ
1.1ถาดอาหาร ขนาด 48 x 72 x 6.5 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) จำนวน 1 ถาด ใช้กับลูกไก่อายุ 1-7 วัน ได้จำนวน 100 ตัว วางไว้ใต้เครื่องกก เพื่อหัดไก่กินอาหารเป็นเร็วขึ้น
1.2
รางอาหาร ทำด้วยไม้ สังกะสี เอสล่อนหรือพลาสติก ทำเป็นรางยาวให้ไก่ยืนกินได้ข้างเดียวหรือสองขาง ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปมี 2 ขนาดคือ ขนาดเล็กสำหรบลูกไก่ และขนาดใหญ่ใช้กับไก่อายุประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากนี้รางอาหารอาจทำจากปล้องไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่แทนก็ได้
1.3
ถังอาหาร ทำด้วยเอสล่อนหรือพลาสติก เป็นแบบถังแขวนมีขนาดเดียวเป็นมาตรฐาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว มีเส้นรอบวงประมาณ 50 นิ้ว หลังจากลูกไก่อายุได้ 15 วัน อาจใช้ถังอาหารแบบแขวนได้ และให้อาหารด้วยถังตลอดไป การให้อาหารด้วยการใช้ถังแขวนนี้ต้องปรับให้อยู่ในระดับเดียวกับหลังไก่หรือต่ำกว่าหลังไก่เล็กน้อย อาหารจะไหลลงจานล่างได้โดยอัตโนมัติ และควรเขย่าถังบ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาหารติดค้างอยู่ภายในถัง สำหรับจำนวนถังสำหรับถังที่ใช้จะแตกต่างไปตามอายุของไก่

1.4
รางอาหารแบบอัตโนมัติ โรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10-12 เมตร ใช้รางอัตโนมัติ 2 แถว แล้วเพิ่งถังอาหารแบบแขวนจำนวน 6-8 ถัง ต่อไก่จำนวน 1,000 ตัว แต่ถ้าโรงเรือนที่มีความกว้างเกิน 12 เมตร ควรตั้งรางอาหารเกิน 4 แถว
2. อุปกรณ์ให้น้ำ แตกต่างกันไปตามช่วงอายุของไก่ อุปกรณ์ให้น้ำที่นิยม มีอยู่ 2 แบบ ดังนี้
2.1
แบบรางยาว รางน้ำอาจทำด้วยสังกะสี พลาสติกหรือเอสล่อน การเลี้ยงลูกไก่อายุ 1-3 สัปดาห์ ถ้าใช้รางน้ำที่เข้าไปกินได้ด้านเดียว ควรใช้รางยาว 2-2.5 ฟุตต่อลูกไก่ 100 ตัว สำหรับไก่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนควรเพิ่มขึ้นอีก สำหรับไก่ในระยะไข่ ควรให้มีเนื้อที่รางประมาณ 1 นิ้ว ต่อ ไก่ 1 ตัว
2.2
แบบขวดมีฝาครอบ เป็นภาชนะให้น้ำที่นิยมใช้มากเพราะใช้สะดวกมีขายอยู่ทั่วไป มีหลายขนาด หรือเกษตรกรอาจดัดแปลงจากขอบประมาณ 1 เซนติเมตร จำนวน 2 รู ใส่น้ำสะอาดแล้วคว่ำลงบนจานหรือถาดใช้เลี้ยงลูกไก่ได้ลูกไก่ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกควรใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ในอัตราส่วน 2 ใบ ต่อลูกไก่ 100 ตัว เมื่อลูกไก่อายุ 3-6 สัปดาห์ ใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ควรใช้ 2 ใบต่อลูกไก่ 100 ตัว
3. เครื่องกกลูกไก่ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในการเลี้ยงลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในขณะที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่ ซึ่งมีหลายแบบ ดังนี้
3.1
เครื่องกกแบบฝาชี เป็นเครื่องกกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกว่าเครื่องกกแบบอื่น มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ส่วนมากมีรูปร่างกลมหรือเป็นเหลี่ยม ทำด้วยโลหะช่วยให้ความร้อนสะท้อนลงสู่พื้นกก ขนาดของกกแบบฝาชีโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เมตร สามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 500 ตัว เครื่องกกแบบฝาชีอาจจะเป็นห้วยแขวนกับเพดาน สามารถปรับให้สูงต่ำได้ตามต้องการ เมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถดึงขึ้นเก็บไว้หรืออาจเป็นแบบมีขาวางกับพื้นคอกที่สามารถปรับให้สูงต่ำได้ และยกออกจากบริเวณกก เมื่อไม่ต้องการใช้ เครื่องกกแบบนี้ส่วนมากจะใช้ไฟฟ้า น้ำมันหรือแก๊ส เป็นแหล่งให้ความร้อน
3.2
เครื่องกกแบบหลอดอินฟราเรด การกกด้วยเครื่องกกแบบนี้โดยใช้หลอดไฟอินฟราเรด ซึ่งหลอดไฟอินฟราเรดขนาด 250 วัตต์ 1 หลอด แขวนไว้เหนือพื้นดินประมาณ 45-60 เซนติเมตร จะสามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 60-100 ตัว แต่โดยทั่วไปจะใช้หลอดอินฟราเรดจำนวน 4 หลอดต่อกก ความร้อนที่ได้จากหลอดไฟจะไม่ช่วยให้อากาศรอบๆ อุ่น แต่จะให้ความอบอุ่นโดยตรงแก่ลูกไก่
3.3
เครื่องกกแบบรวม เป็นการกกลูกไก่จำนวนมากๆ โดยให้ความร้อนจากแหล่งกลางแล้วปล่อยความร้อนไปตามท่อในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำ วางท่อไปตามความยาวของโรงเรือนตรงกลางใต้คอนกรีต อย่างไรก็ดี การกกลูกไก่ด้วยวิธีนี้การให้ความร้อนจะไม่ทั่วพื้นคอนกรีตทั้งคอก แต่จะให้เฉพาะตรงส่วนกลางไปตามความยาวของโรงเรือน กว้างเพียง
2-2.5 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้การกกแบบรวมอาจปล่อยความร้อนออกมาในรูปของลมร้อนออกมาตามท่อกระจายไปทั่วคอก ซึ่งแหล่งให้ความร้อนอาจได้จากน้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน หรือไม้ฟืน เป็นต้น
การเลี้ยงลูกไก่ในระยะกกจำเป็นจะต้องมีที่สำหรับล้อมเครื่องกก ซึ่งอาจจะเป็นไม้กระดานหรือสังกะสีแผ่นเรียบ หรือลวดตาข่ายหรือกระดาษแข็งก็ได้ ที่มีความ
4. รังไข่ รังไข่ที่ดีต้องมีขนาดกว้างพอ สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำความสะอาดได้ง่าย มีการระบายอากาศได้ดี เย็น ภายในมีความมืดพอ และวางอยู่ในที่มีความเหมาะสมภายในโรงเรือนไก่ไข่ รังไข่อาจะทำด้วยไม้หรือสังกะสี รังไข่ทำด้วยไม้อาจจะมีปัญหาเรื่องการทำความสะอาด และจะเป็นที่อาศัยของไรแดง รังไข่ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปมีดังนี้
5. วัสดุรองพื้น หมายถึง วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเพื่อให้ไก่ในคอกสะอาดและอยู่ได้สบาย วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเลี้ยงไก่ควรหาได้ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก และเมื่อเลิกใช้แล้วสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี
วัสดุรองพื้นที่เหมาะสำหรับใช้ในประเทศไทยและนิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ แกลบ ขี้กบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เปลือกฝ้าย เปลือกถั่วลิสง เปลือกไม้และทราย ถ้าใช้แกลบควรมีฟางข้าวโรยหน้าบางๆ เพื่อป้องกันไก่คุ้ยแกลบลงไปในรางน้ำและรางอาหาร
6. อุปกรณ์การให้แสง เนื่องจากแสงสว่างมีความจำเป็นต่อการมองเห็นของไก่ ไม่ว่าเวลากินอาหาร กินน้ำ หรืออื่นๆ นอกจากนี้แสงยังมีความสำคัญต่อการให้ไข่ของไก่ ดังนั้น ภายในโรงเรือนจะต้องมีอุปกรณ์การให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปนิยมติดตั้งหลอดไฟ หลอดไฟที่นิยมใช้กันมาก คือ หลอดกลมธรรมดาและหลอดฟลูออกรสเซนต์หรือหลอดนีออน
กฎของการให้แสงสว่างในการเลี้ยงไก่ คือ
1. ความยาวของแสงจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วง 8-16 สัปดาห์
2. ไม่ลดความยาวของแสงหลังจากไก่เริ่มไข่
การให้แสงสำหรับไข่ในประเทศไทย ขอแนะนำดังนี้
อายุ
ความยาวแสง
0-2 วัน
3-4 วัน
5-6 วัน
7-8 วัน
9-10 วัน
11 วัน - 16 สัปดาห์
17 สัปดาห์
18 สัปดาห์
19 สัปดาห์
20 สัปดาห์
21 สัปดาห์
22 สัปดาห์
22 ชั่วโมง
20 ชั่วโมง
18 ชั่วโมง
16 ชั่วโมง
14 ชั่วโมง
13 ชั่วโมง
13.5 ชั่วโมง
14 ชั่วโมง
14.5 ชั่วโมง
15 ชั่วโมง
15.5 ชั่วโมง
16 ชั่วโมง

แสงสว่างที่เพิ่มขอแนะให้ใช้ความเข้มประมาณ 20-30 ลักซ์ หรือหลอดไฟ 4 วัตต์ ต่อตารางเมตร
ข้อแนะนำสำหรับความเข้มของแสง
อายุ
ความเข้มของแสง
ข้อแนะนำการใช้หลอดกลมมีไส้
(วัตต์)
ลักซ์
ฟุต-แรงเทียน
0-3 วัน
4 วัน - 126 วัน
127 วัน - ปลด
20
5
5
2.0
0.5
0.5
40 - 60
15
15
7. ผ้าม่าน ในระยะกกลูกไก่รอบๆ คอกมีผ้าม่านไว้เพื่อป้องกันลมพัดแรงโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว การปิดผ้าม่านจะทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนและอุณหภูมิใต้เครื่องกกอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว สำหรับการกกลูกไก่ในฤดูร้อน ควรเปิดม่านขึ้นเล็กน้อยในเวลากลางวัน เพื่อให้ลมพัดผ่านภายในโรงเรือน และปิดม่านในตอนเย็น
8. คอนนอน การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยพื้นโดยเฉพาะในระยะไก่สาว มีความจำเป็นจะต้องทำคอนนอนสำหรับให้ไก่ได้นอน และยังช่วยให้ไก่เย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าวเหมือนอยู่ในคอกคอนนอนอาจะทำขึ้นเป็นคอนนอนโดยเฉพาะ โดยใช้ไม้ขนาด 1x4 นิ้ว หรือ 1x3 นิ้ว หรือ 2x3 นิ้ว หรือ 2x2นิ้ว ก็ได้ ส่วนความยาวตามต้องการ ลบเหลี่ยมไม้ให้กลมเพื่อให้ไก่เกาะได้สะดวกและไม่เป็นอันตรายต่อเท้าและอกไก่ โดยวางเอาด้านแคบขึ้น วางห่างกันประมาณ 33-41 เซนติเมตร ให้มีเนื้อที่คอนนอน 10-15 เซนติเมตรต่อตัวสำหรับไก่สาว และ 18-20 เซนติเมตร สำหรับไก่ไข่ ใต้คอนนอนและด้านข้างต้องบุด้วยลวดตาข่ายเพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เข้าไปคุ้ยเขี่ยอุจจาระใต้คอนนอน ควรอยู่ติดข้างฝาด้านใดด้านหนึ่งของโรงเรือน ในระยะไก่สาวควรลดระดับด้านหน้าของคอนนอนลงให้ต่ำพอที่ไก่จะขึ้นเกาะคอนได้สะดวก เมื่อไก่โตขึ้นค่อยยกระดับขึ้นให้สูงกว่าระดับปกติดประมาณ 75 เซนติเมตร
อาหารและการให้อาหารไก่ไข่
อาหารไก่ไข่
อาหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การเลี้ยงไก่ไข่มีกำไรหรือขาดทุน เนื่องจากต้นทุนการผลิตประมาณ 60-70 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมดเป็นค่าอาหาร ไก่ไข่นั้นนอกจากจะต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพ การเจริญเติบโตแล้ว ยังต้องนำไปใช้ในการผลิตไข่อีกด้วย การที่ผู้เลี้ยงจะลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าอาหารลงนั้น สามารถทำได้โดยการประกอบสูตรอาหารที่มีราคาถูก แต่คุณภาพดี เลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาถูกตามฤดูกาลและให้อาหารแก่ไก่กินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ไข่ที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำ

การที่ไก่จะเจริญเติบโตได้ดี มีความแข็งแรงและให้ไข่มาก จำเป็นจะต้องได้กินอาหารที่เพียงพอและกินอาหารได้ดีสม่ำเสมอทุกวัน โดยทั่วไปแล้วอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่จะประกอบด้วยสารอาหาร 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. โปรตีน เป็นสารประกอบที่สำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด ประกอบด้วยกรดอะมิโนชนิดต่างๆ เป็นสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยในการสร้างและซ่อมแซมรักษาส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ขน เล็บ หนัง กระดูก อวัยวะภายในต่างๆ เม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนประกอบของผลผลิต เช่น ไข่ รวมทั้งยังนำไปใช้ในการสร้างเนื้ออีกด้วย โดยปกติแล้วอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่จะประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 13-19% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของไก
2. คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และช่วยให้ไก่อ้วน คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งในการให้พลังงานแก่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพื่อการดำรงชีพ การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต เช่น ไข่ ฯลฯ คาร์โบไฮเดรตถือเป็นอาหารหลัก เพราะเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารไก่ไข่ประมาณ 38-61% ขึ้นอยู่กับอายุไก่ คาร์โบไฮเดรตแบ่งเป็น 2 พวกตามลักษณะความยากง่ายในการย่อย คือ น้ำตาล และแป้งกับเยื่อใย แหล่งคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่ได้มาจากพืช
3. น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ร่างกายไก่มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 60-70% ลูกไก่อายุ 1 วัน มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 85% และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น น้ำมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น ช่วยในการย่อย การดูดซึม การรักษาระดับความร้อนปกติในร่างกาย และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกาย น้ำนับเป็นสารอาหารที่จำเป็นและมีความสำคัญที่สุด เพราะถ้าไก่ขาดน้ำจะทำให้ไก่ไม่อยากกินอาหารและอาจถึงตายได้ ดังนั้นเกษตรกรจะต้องหาภาชนะใส่น้ำจืดสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา หากไก่ขาดน้ำจะแคระแกร็น และการสูญเสียน้ำเพียง 10% ของร่างกาย ไก่จะตายได้
4. ไขมัน เป็นแหล่งให้พลังงานแก่ร่างกายเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต แต่ให้พลังงานมากกว่า 2.5 เท่า และยังให้กรดไขมันบางชนิดที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ให้ความอบอุ่น ทำให้อ้วนและช่วยเพิ่มความน่ากินของอาหาร ส่วนมากจะได้จากไขมันสัตว์และน้ำมันพืช หากปริมาณไขมันมากเกินไปจะทำให้ไก่ถ่ายเหลวหรือท้องเสีย ทำให้พื้นเปียกแฉะ วัสดุรองพื้นจะเสียเร็ว
5. วิตามิน จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของไก่ ช่วยสร้างความแข็งแรงและความกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท แต่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ เพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินไปตามปกติ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามคุณสมบัติในการละลาย คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค และวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี ซี หากไก่ขาดจะทำให้โตช้าและเป็นโรคขาดวิตามินนั้นๆ
6. แร่ธาตุ ช่วยในการสร้างโครงกระดูก สร้างความเจริญเติบโต สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่ และอื่นๆ ร่างกายสัตว์มีแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 3% ของน้ำหนักตัว แร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โซเดียม คลอรีน เหล็ก กำมะถัน ไอโอดีน ทองแดง โคบอลต์ แมงกานีส และสังกะสี
ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่
1. อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยมากจะเติมยาปฏิชีวนะ, วิตามิน, แร่ธาตุ และกรดอะมิโนที่จำเป็นลงไปด้วย อาหารนี้นำไปเลี้ยงไก่ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสริมอะไรอีก
2. หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และยาต่างๆ ยกเว้นธัญพืชหรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร แต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบอื่นบางอย่างราคาถูกหรือที่ปลูกเก็บเกี่ยวเอง เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพด เมื่อผสมกับอาหารข้นตามอัตราส่วนที่กำหนด ก็จะได้อาหารสมดุลซึ่งมีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการ
3. อาหารอัดเม็ด เป็นการนำอาหารผสมสำเร็จรูปที่อยู่ในรูปของอาหารผสมไปผ่านกรรมวิธีการอัดเม็ด ก็จะได้อาหารอัดเม็ดขนาดต่างๆ ตามอายุของไก่
4. อาหารเสริม คืออาหารหรือวัตถุดิบที่เติมไปกับส่วนประกอบต่างๆ ที่จะผสมเป็นอาหารใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยเสริมคุณภาพของอาหารนั้นๆ ให้ดีขึ้นและให้เป็นอาหารที่สมดุล
สูตรอาหารไก่ไข่เล็ก (อายุแรกเกิด - 6 สัปดาห์)
วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ก.ก.)
สูตรที่ 1
สูตรที่ 2
สูตรที่ 3
สูตรที่ 4
ปลายข้าว
ข้าวโพด
ข้าวฟ่าง
มันเส้น
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง
ปลาป่น
ไดแคลเซียมฟอสเฟต
เกลือ
พรีมิกซ์ไก่ไข่เล็ก
56
-
-
-
112
22
8
1
0.5
0.5
-
61.2
-
-
10
18.8
8
1
0.5
0.5
-
-
59.3
-
12
18.7
8
1
0.5
0.5
-
-
-
46.2
15
26.8
10
1
0.5
0.5
รวม
100
100
100
100
สูตรอาหารไก่ไข่รุ่น (อายุ 6-14 สัปดาห์)
วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ก.ก.)
สูตรที่ 1
สูตรที่ 2
สูตรที่ 3
สูตรที่ 4
ปลายข้าว
ข้าวโพด
ข้าวฟ่าง
มันเส้น
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง
ปลาป่น
เปลือกหอย
ดีแอล-เมทไธโอนีน
เกลือ
พรีมิกซ์ไก่ไข่รุ่น
51.5
-
-
-
29
10
8
0.5
-
0.5
0.5
-
58.3
-
-
25
7.2
8
0.5
-
0.5
0.5
-
-
56.4
-
27
7.1
8
0.5
0.05
0.5
0.5
-
-
-
46.6
26
18.1
8
0.3
0.05
0.5
0.5
รวม
100
100
100
100
สูตรอาหารไก่ไข่สาว (อายุ 14-20 สัปดาห์)
วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ก.ก.)
สูตรที่ 1
สูตรที่ 2
สูตรที่ 3
สูตรที่ 4
ปลายข้าว
ข้าวโพด
ข้าวฟ่าง
มันเส้น
รำละเอียด
ใบกระถินป่น
กากถั่วเหลือง
ปลาป่น
เปลือกหอย
ไดแคลเซียมฟอสเฟต
ดีแอล-เมทไธโอนีน
เกลือ
พรีมิกซ์ไก่ไข่สาว
55
-
-
-
30
4
5.8
3
0.7
0.5
-
0.5
0.5
-
58.3
-
-
30
4
2.6
3
0.8
0.3
-
0.5
0.5
-
-
58.3
-
30
4
2.6
3
0.8
0.3
0.05
0.5
0.5
-
-
-
48.2
30
4
11.1
5
0.7
-
0.05
0.5
0.5
รวม
100
100
100
100
สูตรอาหารไก่ไข่ระยะให้ไข่
วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ก.ก.)
สูตรที่ 1
สูตรที่ 2
สูตรที่ 3
สูตรที่ 4
ปลายข้าว
ข้าวโพด
ข้าวฟ่าง
มันเส้น
รำละเอียด
ใบกระถินป่น
กากถั่วเหลือง
ปลาป่น
ไขมันสัตว์/น้ำมันพืช
เปลือกหอย
ไดแคลเซียมฟอสเฟต
ดีแอล-เมทไธโอนีน
เกลือ
พรีมิกซ์ไก่ไข่สาว
47
-
-
-
20
-5
9.9
8
1
8.3
-
0.1
0.5
0.25
-
47.9
-
-
20
5
8.8
7
2
8.5
-
0.1
0.5
0.25
-
-
46.6
-
20
5
9
7
3
8.3
0.2
0.15
0.5
0.25
-
-
-
38.8
20
5
16.6
8
2.5
8.2
-
0.15
0.5
0.25
รวม
100
100
100
100
การทำวัคซีนไก่ไข่
1. วัคซีนเชื้อเป็น เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีความรุนแรงแต่ถูกทำให้อ่อนแอลง หรือถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นจุลชีพที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ จุลชีพเหล่านี้สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดความเครียดหรือเกิดอาการแพ้วัคซีน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถให้ไก่ได้ทีละตัว โดยการหยอดตาหรือหยอดจมูก หรือให้ไก่เป็นกลุ่มโดยการละลายในน้ำดื่ม หรือการสเปรย์ ทำให้ประหยัดแรงงาน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่แต่ให้ความคุ้มโรคสูง อาจทำให้สัตว์เกิดโรคได้ แต่การเก็บรักษายุ่งยากกว่าวัคซีนเชื้อตาย และมีราคาถูก
2. วัคซีนเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่มักเตรียมจากเชื้อที่ความรุนแรงที่ถูกทำให้ตายโดยทางเคมีหรือฟิสิกส์ จุลชีพเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงมีความปลอดภัย แต่ให้ความคุ้มโรคต่ำ วัคซีนเชื้อตายจะให้โดยวิธีการฉีดเท่านั้น สารที่ใช้ผสมกับวัคซีนจะเป็นน้ำมันหรืออลูมินั่มไฮดร็อกไซด์ สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดี วัคซีนเชื้อตายมีราคาแพงแต่เก็บรักษาง่าย
วิธีการทำวัคซีน
การทำวัคซีนไก่สามารถทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่ใช้และชนิดของโรค
1. การหยอดตาหรือหยอดจมูก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคนิวคาสเซิล และหลอดลมอักเสบ โดยละลายวัคซีนในน้ำยาละลายวัคซีน (น้ำกลั่น ที่อุณหภูมิห้อง) การใช้น้ำเย็นจัดอาจทำให้เยื่อบุอักเสบ ขวดที่ใช้หยอดวัคซีนควรเป็นขวดมาตรฐาน เพื่อให้ลูกไก่ได้รับวัคซีนครบโด๊ส การหยอดตาให้หยอดวัคซีน 1-2 หยดต่อไก่ 1 ตัว ตำแหน่งที่จะหยอดวัคซีนก็คือที่บริเวณมุมตาด้านใน รอจนกระทั่งวัคซีนเข้าไปในตาจึงปล่อยไก่ การหยอดจมูกจะให้ผลดีกว่าการหยอดตา การหยอดโดยใช้นิ้วมือปิดรูจมูกไว้ข้างหนึ่งแล้วจึงหยอดวัคซีนในรูจมูกอีกข้างหนึง การทำวัคซีนโดยการหยอดตาและหยอดจมูกทำให้ไก่ทุกตัวได้รับปริมาณวัคซีนที่ใกล้เคียงกันทุกๆ ตัว ดังนั้น ภูมิคุ้มโรคที่เกิดจึงมีระดับใกล้เคียงกัน เพียงแต่วิธีการทำยุ่งยาก เสียเวลา และเสียแรงงานมากกว่าเท่านั้น
2. การแทงปีก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ คือบริเวณใต้ผิวหนัง เช่น วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ เป็นวัคซีนที่มีความเข้มข้นมาก เนื่องจากใช้น้ำยาละลายวัคซีนเพียงเล็กน้อย และใช้เข็มจุ่มวัคซีนครั้งละ 0.01 ซี.ซี. โดยสังเกตุจากการที่วัคซีนเต็มรูเข็มทั้งสองข้าง แล้วแทงเข็มจากทางด้านล่างผ่านทะลุผนังของปีกไก่ ระวังอย่าให้แทงผ่านขน กล้ามเนื้อ หรือกระดูก ภายใน 7-10 วัน หลังจากทำวัคซีนจะเกิดรอยสะเก็ดแผลทั้งด้านบนและด้านล่างของผนังปีกไก่ซึ่งเกิดจากการแทงเข็มผ่าน
3. การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการทำวัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์ โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้ายทอยหรือฐานคอ ทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ให้ผลในการคุ้มกันโรคนาน
4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่นิยมใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันดีกว่าการหยอดตาและจมูก เพราะจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วยสารนำขึ้นในกระแสเลือดและเกิดการหมุนเวียนไปทั่วร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่ เป็นต้น
5. การละลายน้ำดื่ม เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ประหยัดแรงงาน และเหมาะสำหรับไก่จำนวนมากๆ แต่การสร้างภูมิคุ้มกันจะมีความผันแปรค่อนข้างมาก เนื่องจากไก่แต่ละตัวได้รับวัคซีนในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะต้องหยุดให้น้ำไก่เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนทำวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ไก่กระหายน้ำและกินน้ำผสมวัคซีนให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ระยะเวลาในการอดน้ำจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อุปกรณ์ให้น้ำต้องเพียงพอสำหรับไก่จำนวน 2 ใน 3 ของคอกสามารถเข้าไปกินน้ำได้พร้อมๆ กัน ถ้าไม่พออาจเพิ่มอุปกรณ์ให้น้ำขึ้นมาชั่วคราวสำหรับการนี้โดยเฉพาะ จุดนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัยที่สุด เพราะการล้มเหลวจากการให้วัคซีนนี้มักเกิดจากระบบน้ำไม่ถูกต้องและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ สำหรับปริมาณน้ำที่ใช้ละลายวัคซีนจะผันแปรไปตามอายุของไก่ ดังนี้
อายุ 1 สัปดาห์ใช้น้ำ2-5ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว
อายุ 2-3 สัปดาห์ใช้น้ำ9-11ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว
อายุ 5-7 สัปดาห์ใช้น้ำ14-18ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว
อายุมากกว่า 7 สัปดาห์ใช้น้ำ20-23ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว
6. การสเปรย์ เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับการทำวัคซีนครั้งแรกในลูกไก่อายุ 1 วัน เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อจากไวรัสในระบบะทางเดินหายใจ อาจสเปรย์ตั้งแต่ในโรงฟักหรือโรงเรือนที่เลี้ยง โดยสเปรย์ใส่ลูกไก่ที่อยู่ในกล่องเลย ลูกไก่จะได้รับวัคซีนผ่านทางลูกตาหรือจมูก เป็นวิธีที่ทำได้รวดเร็ว สามารถให้วัคซีนแก่ไก่จำนวนมากๆ ในระยะเวลาอันสั้น แต่ประมาณวัคซีนที่ได้รับอาจแตกต่างกันไป การสเปรย์ควรสเปรย์ให้พอหมาดๆ ไม่ควรให้ตัวลูกไก่เปียกโชก และควรทิ้งลูกไก่ไว้ 10-15 นาที เพื่อให้ตัวแห้ง
ข้อควรปฏิบัติในการทำวัคซีน
1. อายุของไก่และระยะเวลาในการทำวัคซีนจะมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของไก่เป็นอย่างมาก ดังนั้นในการทำวัคซีนจึงควรทำตามกำหนดเวลาอย่างถูกต้อง
2. สุขภาพของไก่ขณะที่ทำวัคซีนจะต้องมีความสมบูรณ์ แจ่มใส แข็งแรง ไม่เป็นโรคระบาด และต้องปลอดภัยจากพยาธิ เพราะอาจจะทำให้การทำวัคซีนไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทั้งอาจทำให้ไก่ป่วยมีอาการขั้นรุนแรงได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของไก่และอาการแทรกซ้อนต่างๆ จึงควรให้ยาปฏิชีวนะหรือไวตามิน 3 วันติดต่อกัน กล่าวคือ ก่อนและหลังทำวัคซีน 1 วัน และในวันทำวัคซีนอีก 1 วัน
3. วัคซีนที่ใช้ต้องไม่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ และควรซื้อวัคซีนจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
4. การเก็บรักษาวัคซีน จะต้องเก็บไว้ในที่เย็นจัด เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น หรือตามคำแนะนำของการใช้วัคซีนนั้น การขนส่งจะต้องบรรจุในกระติดน้ำแข็งผสมเกลือ และควรระวังอย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงอาทิตย์ เพราะจะทำให้วัคซีนเสื่อมสภาพได้
5. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำวัคซีนทุกชิ้นจะต้องได้รับการทำความสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อ อาจเป็นวิธีต้ม นึ่งไอน้ำ แล้วทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง ในกรณีที่ทำวัคซีนละลายน้ำ ควรล้างภาชนะต่างๆ ให้สะอาดก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง
6. ในการผสมวัคซีน จะต้องผสมในอัตราที่ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อผสมเสร็จแล้วควรรีบใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง
7. วัคซีนที่ผสมแล้วเหลือใช้ รวมทั้งหลอดหรือขวดบรรจุวัคซีน ก่อนทิ้งควรผ่านการต้มฆ่าเชื้อเสียก่อน

โปรแกรมวัคซีนในไก่ไข่

อายุไก่
ชนิดวัคซีน
วิธีทำ
หมายเหตุ
1 วัน
1 วัน
มาเร็กซ์
หลอดลมอักเสบ
ฉีดใต้ผิวหนัง
หยอดตา
ทำจากโรงฟัก
ทำเมื่อลูกไก่ถึงฟาร์ม
10 วัน
นิวคาสเซิลลาโซต้าหยอดตา
14 วัน
กัมโบโรละลายน้ำชนิดเชื้อเป็น
4 สัปดาห์
นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ
ผีดาษ
หยอดตา
แทงปีก
5 สัปดาห์
วัคซีนหวัด
กล่องเสียงอักเสบ
ฉีดเข้ากล้าม
หยอดตา
1/2 โด๊ส ในพื้นที่ที่มีโรค
1/2 โด๊ส ระบาดรุนแรง
8 สัปดาห์
นิวคาสเซิล + หลอดลม
นิวคาสเซิล
หยอดตา
ฉีดเข้ากล้าม
ชนิดเชื้อเป็น
ชนิดเชื้อตาย
10 สัปดาห์
กล่องเสียงอักเสบหยอดตา
14 สัปดาห์
วัคซีนหวัด
หลอดลมอักเสบ
ฉีดเข้ากล้าม
หยอดตา
16 สัปดาห์
* อี.ดี.เอส + นิวคาสเซิลฉีดเข้ากล้ามชนิดเชื้อตาย
22 สัปดาห์
นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบละลายน้ำ
32 สัปดาห์
นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบละลายน้ำ
40 สัปดาห์
นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบละลายน้ำ
48 สัปดาห์
นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบละลายน้ำ
56 สัปดาห์
นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบละลายน้ำ
64 สัปดาห์
นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบละลายน้ำ
* โปรแกรมวัคซีนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะของโรคระบาดที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องที่
ที่มา:http://www.dld.go.th/region9/index.php?option=com_content&view=article&id=69:2011-02-01-23-38-17&catid=50:2011-02-01-22-54-48&Itemid=78