ไปรท์ค่ะYou

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โรคติดเชื้อในแพะ

โรคติดเชื้อในแพะ

       สาเหตุของโรคในแพะอาจเนื่องมาจากอาหาร การจัดการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกวิธี ทำให้สัตว์เกิดความเครียด อ่อนแอ ไม่มีความต้านทานโรคพอผู้เลี้ยงแพะต้องทราบถึงสาเหตุและสันนิฐานได้ซึ่งจะช่วยในการรักษาและป้องกันการระบาดของโรคได้
           โดยให้สังเกตว่าแพะจะแสดงอาการหลายประการ เช่น การกินอาหารลดลงกว่าปกติ มีอาการไอ จาม ท้องเสีย ขนไม่เป็นเงา จมูกแห้ง ซึมหงอย เป็นต้น โรคที่เกิดในแพะที่ควรรู้จักมีดังต่อไปนี้

โรคปากเปื่อย


    เกิดจากเชื้อไวรัส อาการคือพบแผลนูนคล้ายหูด บริเวณริมฝีปาก รอบจมูก รอบตา บางครั้งลุกลามไปตามลำตัว ถ้าเป็นแพะโตอาการรุนแรงและแผลจะตกสะเก็ด แห้งไปเองภายในประมาณ 28 วัน
     การรักษา ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) หรือทิงเจอร์ไอโอดีน ทาแผล วันละ 1-2 ครั้ง

     การป้องกัน ในประเทศไทย ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ถ้าพบแพะ เป็นโรคนี้ให้รีบแยกตัวป่วยออกทันที และรักษาจนกว่าจะหายจึงนำเข้าร่วมฝูงได้

โรคปากและเท้าเปื่อย


 เกิดจากเชื้อไวรัส อาการที่แพะจะซึม น้ำลายไหลยืด ไม่กินอาหารบริเวณปากและแก้มบวมแดง มีเม็ดตุ่มใสเป็นแผลบริเวณกีบและเท้า แพะจะเดินขากระเผลก แสดงอาการเจ็บปวดและถ้าติดเชื้อโรคแทรกซ้อนอาจทำให้แพะตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน แพะที่ตั้งท้องอาจแท้งลูกได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มีทางรักษาโดยตรง การป้องกัน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และการกักกันแพะที่จะเข้ามาเลี้ยงใหม่เป็นเวลา 14 วัน ก่อนเข้าฝูง ที่สำคัญมากคือการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียทำให้เป็นหนองที่แผล เม็ดตุ่มพองแตกออกและจะหายช้ามากหรืออาจลุกลาม เกิดเลือดเป็นพิษถึงตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน
ผู้เลี้ยงอาจทราบว่าแพะเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ โดยสังเกตดูจากอาการเจ็บปาก แผลเม็ดตุ่ม น้ำลายไหล ไม่กินอาหาร ขากะเผลกไม่เดิน

     การรักษา ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) ทาที่แผลที่ปากและ กีบ หัวยม วันละครั้ง และฉีดยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทั้งนี้ควรขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์
     การป้องกัน
      1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท่าเปื่อยปีละ 1 ครั้ง
      2. กักแพะที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ เป็นเวลา 14 วัน จนแน่ใจว่าไม่เป็นโรคแล้วจึงนำเข้ารวมฝูง


โรคมงคล่อพิษเทียม

   โรคนี้ติดต่อถึงคนได้เช่นกัน และพบว่าจนถึงปัจจุบันมีคนเป็นโรคนี้กันมากแล้ว ผู้เลี้ยงแพะจึงควรทราบจะได้ระมัดระวังไว้ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ติดต่อโดยการกินเชื้ออยู่ในดิน น้ำ อาหาร และหญ้าและติดต่อได้โดยการสัมผัสทางบาดแผล อาการที่พบในแพะคือ ซูบผอมลง อ่อนเพลีย ซึม เบื่ออาหาร ซีด ดีซ่าน มีไข้ มีน้ำมูก ข้อขาหน้าบวมชักและตาย เมื่อผ่าซากแพะจะพบฝีมากมายตามอวัยวะภายใน เช่น ปอด ม้าม ไต ตับ ใต้ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง และข้ออักเสบมีหนอง เชื้อนี้มักดื้อยา การรักษาไม่ค่อยไผล ดังนั้นควรทำลายและกำจัดซากโดยการเผา ไม่ควรนำซากแพะมาบริโภคโดยเด็ดขาด การป้องกันและควบคุมโรคต้องกำจัดซากแพะทันทีควรตรวจเลือดแพะทุกๆ 1 ปี ถ้าพบเป็นโรคให้กำจัดออกจากฝูงและทำลาย

     การรักษา ไม่แนะนำให้รักษาควรกำจัดออกจากฝูง เพราะโรคนี้รักษาหายยากและติดต่อถึงคนได้
     การป้องกัน
      1. กำจัดแพะป่วย และทำลายซากห้ามนำมาบริโภค
        2. ตรวจสุขภาพแพะ โดยเจาะเลือดส่งห้องปฏิบัติการทุกๆ 2 ปี
        3. ตรวจเลือดแพะทุกตัวที่นำเข้ามาใหม่ ถ้าพบให้ทำลายทิ้ง



โรคปอดปวม
         โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นได้กับแพะทุกอายุ พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะแพะที่อ่อนแอและไม่เคยถ่ายพยาธิ พบภาวะโรคนี้บ่อยๆในฤดูฝนเชื้อติดต่อได้รวดเร็ว โดยการกินเชื้อที่มีอยู่ในน้ำ อาหาร หายใจ เชื้อในอากาศ การอยู่รวมฝูงกับแพะป่วยด้วยโรคนี้ อาการของแพะที่ป่วย ได้แก่ มีไข้ จมูกแห้งมีน้ำมูก หอบ หายใจเสียงดัง ไอ ถ้าเป็นเรื้อรังแพะจะ แคระแกรน อ่อนแอ แพะป่วยจะตายถึง 60-90 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะแพะที่มีพยาธิมาก และลูกแพะหลังหย่านมใหม่จะตายมากที่สุด

     การรักษา โดยฉีดยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน อ๊อกซิเตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนนิคอล อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลาอย่างหนึ่งเป็นเวลา 3-5 วันต่อกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษา สัตวแพทย์ในการรักษา โรคนี้ป้องกันได้โดยจัดการโรงเรือนให้ สะอาด พื้นคอกแห้ง อย่าให้ฝนสาดหรือลมโกรกแพะ และควรยกพื้นโรงเรือน ประมาณ 1-1.5 เมตร แพะป่วยให้แยกขังไว้ในคอกสัตว์ป่วยต่างหาก จนกว่าจะหายดีแล้วจึงค่อยนำเข้ารวมฝูงเดิมใหม่ นอกจากนี้ควรถ่ายพยาธิ แพะ เป็นประจำตามโปรแกรมทุกๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อให้แพะแข็งแรงและควร ดูแลแพะหลังหย่านมเป็นพิเศษด้วยการเสริมอาหารที่มีคุณภาพดี

โรคแท้งติดต่อ
         เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพะจะแท้งในช่วงลูกอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ แต่ไม่ค่อยเกิดโรคนี้บ่อย โรคนี้ติดต่อถึงคนได้ จึงต้องระวังในการดื่มนมแพะ อาการของแพะสังเกตยาก ต้องตรวจจากเลือดเท่านั้น ดังนั้นควรได้มีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ ทำลายแพะที่เป็นประจำ โดยการตรวจเลือดปีละ 1ครั้ง

       วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ทำลายแพะที่เป็นโรค และไม่คัดเลือกแพะที่พ่อ-แม่พันธุ์เคยมีประวัติเป็นโรคมาเลี้ยง    

โรคไข้นม
        โรคนี้เกิดในระยะที่แพะใกล้คลอด หรือขณะที่กำลังอยู่ในระยะให้นม สาเหตุเกิดจากแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เนื่องจากถูกนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม อาการของแพะที่เป็นโรคไข้นมคือ ตื่นเต้นตกใจง่าย การทรงตัวไม่ดี กล้ามเนื้อเกร็ง นอนตะแคงและคอบิด ซีด หอบ อ่อนเพลีย ถ้าเป็นมากรักษาไม่ทันก็ถึงตายได้

       การรักษา ให้รีบติดต่อสัตวแพทย์ในท้องที่มารักษา การป้องกันโดยการเพิ่มอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมในช่วงที่แพะคลอดและให้นม    

โรคขาดแร่ธาตุ
        มักเกิดกับแพะเพศเมีย โดยที่แพะไม่ได้รับแร่ธาตุหรืออาหารข้นเสริมในภูมิประเทศที่มีแร่ธาตุในดินต่ำจะพบแพะป่วยด้วยโรคนี้มาก สาเหตุเกิดจากขาดแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้น อาการที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มลงนอนตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3 การรักษาทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้นอาการที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มนอนตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3 วัน การรักษาทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุแก่แพะเลียกิน ให้วิตามินและแร่ธาตุไว้ในโรงเรือนให้แพะได้เลียกินตลอดเวลา

โรคท้องอืด
        เกิดจากกินหญ้าอ่อนมาเกินไป หรืออาหารข้นที่มีโปรตีนสูงมากเกินไป ( เกิน 3% ของน้ำหนักตัว )
หรือการที่แพะป่วยและนอนตะแคงด้านซ้าย การแก้ไขผู้เลี้ยงแพะต้องเจาะท้องเอาแก๊สออก และกระตุ้นให้แพะลุกขึ้นเดิน







โรคพยาธิในแพะ

โรคพยาธิในแพะ


           พยาธิมีผลกระทบต่อการผลิตแพะทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งพบว่าพยาธิภายในเป็นตัวก่อปัญหากับการเลี้ยงมากกว่าพยาธิภายนอก ถ้าแพะมีพยาธิภายในจำนวนมากจะทำให้เกิดโรคเฉียบพลันมีความรุนแรงถึงตายได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยจะไม่ถึงตาย แต่ทำให้ผลผลิตลดลง เช่น เนื้อ นม นอกจากนี้ทำให้แพะอ่อนแอ เป็นโรคอื่นๆ ได้ง่าย ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากผลผลิตที่ลดลงและเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการซื้อยาถ่ายพยาธิด้วยมีแนวโน้นว่าพยาธิจะมีการดื้อยาขึ้น การใช้ยาจึงต้องไม่ใช้ยาชนิดเดียวกันทั้งปี พยาธิภายในแพะมีหลายชนิดด้วยกัน เกิดกับแพะทุกภาคที่เลี้ยงแพะ โดยเฉพาะในเขต เอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด และพยาธิตัวแบน เป็นต้น ดังที่กล่าวในรายละเอียดให้เกษตรกรรู้จักดังต่อไปนี้
พยาธิตัวกลม    แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือพยาธิตัวกลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ได้แก่

พยาธิเส้นลวด



 อยู่ในกระเพาะอาหารส่วนอโบมาซุ่มของแพะ เป็นพยาธิที่ทำอันตรายต่อสัตว์มากที่สุด ตัวผู้ยาว 10- 20 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว18 – 30 มิลลิเมตร ตัวผู้มีสีแดง ส่วนตัวเมียมีสีแดงสลับขาว มีวงจรชีวิตคือ เมื่อพยาธิตัวแก่ไข่อกมาและแพะถ่ายอุจจาระออกมาไข่จะมีตัวอ่อนอยู่ภายใน เมื่อตัวอ่อนฟักตัวออกมานอกไข่ และเจริญเป็นตัวอ่อนระยะติดโรคแล้วแพะมากินเข้าไปจะเข้าไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอโบมาซุ่ม ดังกล่าว และภายใน 19วัน ตัวอ่อนก็จะเจริญเป็นตัวแก่และเริ่มออกไข่ อันตรายที่เกิดกับแพะก็คือพยาธิชนิดนี้จะดูดเลือดทั้งเม็ดเลือดและโปรตีนในเลือด ทำให้แพะเกิดโลหิตจางและถ้ามีอาการรุนแรง แพะจะมีอาการบวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง และแพะจะ ไม่เจริญเติบโต น้ำหนักลด ท้องร่วง หรือท้องผูก ร่างกายอ่อนแอ ความต้านทานโรคต่ำและตายได้ อาการในลูกสัตว์จะเป็นแบบเฉียบพลัน เพราะการเสียเลือดอย่างรวดเร็ว โดยไม่แสดงอาการโลหิตจางให้เห็น
นอกจากนี้ก็มีพยาธิเส้นดายที่อาศัยในลำไส้เล็ก มันจะแย่งอาหารทำให้ลำไส้อักเสบ แต่ความรุนแรงของพยาธินี้ไม่มากนัก และพยาธิเม็ดตุ่ม พบในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้อักเสบ แพะจะถ่ายเป็นมูกเหลว การเจริญเติบโตลดลง ขนหยาบกระด้าง ท้องร่วง ผอมแห้งตาย บางครั้งอุจจาระมีเลือดปน


             วงจรชีวิตพยาธิตัวตืดของแพะ



พยาธิใบไม้ในตับ
  พบในตับและท่อน้ำดีของแพะ ขนาดตัวยาว 25 – 75 มิลลิเมตร กว้าง 12 มิลลิเมตร มีวงจรชีวิตคือตัวอ่อนที่ฟักออกมา จากไข่พยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตในหอยน้ำจืด ใช้เวลาเจริญเติบโตในหอย 4 – 7 สัปดาห์ กลายเป็นตัวอ่อนว่ายออกมาจากหอยมาเกาะวัชพืชน้ำ และกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดโรค รอให้แพะมากิน ความรุนแรงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นขณะที่ตัวอ่อนของพยาธิเดินทางไปที่ตับ จะเกิดโรค 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลัน และชนิดรุนแรง เนื้อตับจะถูกทำลายอย่างมาก มีเลือดตก ในช่องท้อง ซึ่งมักพบในแกะ แพะที่ป่วยจะไม่อยากเคลื่อนไหว หายใจลำบาก แสดงอาการเจ็บปวดบริเวณท้องเมื่อถูกสัมผัส และพยาธินี้ทำให้การย่อยอาหารไม่ดี ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต เช่น เนื้อ และ ปริมาณนม เป็นต้น


             วงจรชีวิตพยาธิใบไม้ในตับของแพะ

เชื้อบิด



   ระบาดทั่วไปในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะแพะที่เลี้ยงรวมกัน ภายในคอก หรือแปลงหญ้าขนาดเล็ก มักไม่ค่อยพบในแพะที่เลี้ยงปล่อยเชื้อฟักอาศัยในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ของแพะ ทำให้ลำไส้อักเสบ แพะจะแสดงอาการเบื่ออาหาร สุขภาพไม่สมบูรณ์ ท้องว่าง อุจจาระมีกลิ่นเหม็น แพะจะมีเพลีย และถ้าไม่รักษาจะตายได้ อัตราการรอดตายจากโรค ค่อนข้างสูง การป้องกันควรแยกแพะที่เป็นโรคออกจากฝูง ทำความสะอาด ภาชนะใส่อาหารและรั้ว และพื้นคอกให้สะอาด
การตรวจวินิจฉัยโรค โดยสังเกตดูอาการว่า แพะจะเบื่ออาหาร ซูบผอม ซึม ขนยุ่ง ท้องเสีย บวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง และจากการตรวจอุจจาระพบไข่หรือ ตัวอ่อนพยาธิซึ่งเกษตรกรควรติดต่อเจ้าหน้าที่ กรมปศุสัตว์ ตรวจเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง



 ข้อแนะนำการป้องกันและควบคุมพยาธิภายในของแพะ

1. ถ่ายพยาธิเป็นประจำตามโปรแกรม โดยถ่ายทุก 4-6 สัปดาห์ ยาถ่ายพยาธิที่ใช้ประกอบด้วย
   - ยาถ่ายพยาธิตัวกลม เช่น อัลเบนดาโซล , ไทอาเบ็นดาโซล, ไพแรนเทล, เลวามิซอล เป็นต้น
   - ยาถ่ายพยาธิตัวตืด เช่น นิโคลซาไมด์ , เมเบนดาโซล เป็นต้น
   - ยาถ่ายพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ราฟอกซาไนด์ , ไนโตรไซนิล เป็นต้น
   - ยากำจัดเชื้อบิด เช่น โทลทราซูริล , ซัลฟาควินอกซาลีน ,เป็นต้น หรือถ้าพบมีปัญหา พยาธิภายในและเชื้อบิดร่วมกัน อาจใช้ยาทั้งสามชนิด และควรถ่ายทุก
    4-6 สัปดาห์
   - สำหรับพยาธิตัวกลม ควรเริ่มถ่ายพยาธิครั้งแรกเมื่ออายุ 8 สัปดาห์
2. ทำความสะอาดโรงเรือนแพะอย่างสม่ำเสมอ พื้นโรงเรือนแพะต้องเป็นแบบเว้นช่อง เพื่ออุจจาระตกลงไปข้างล่าง และต้องล้อมรอบ ใต้ถุนไว้ไม่ให้แพะเข้าไปได้    มิฉะนั้นจะติดโรคพยาธิจากอุจจาระได้
3. อุจจาระและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ให้ฝังหรือเผาทำลายให้หมด
4. ใช้ระบบแปลงหญ้าหมุนเวียนโดยการแบ่งแปลงหญ้าออกเป็นแปลงย่อยแต่ละแปลงล้อมรั้วกั้นไว้ ปล่อยแพะเข้าแทะเล็มหญ้านานแปลงละ 2 สัปดาห์
    หลังจากนั้น ไปเลี้ยงแปลงอื่นต่อโดยจะต้องจัดการแปลงที่แพะเล็มแล้ว ด้วยการตัดหญ้าให้สั้นลงมากที่สุด หรือให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินเพื่อให้ไข่และตัวอ่อน
    ของพยาธิตาย และหญ้าเจริญงอกงามเร็ว สำหรับเลี้ยงแพะที่จะเข้ามาแทะเล็มใหม่ หมุนเวียนกันไปหรือวิธีจำกัดพื้นที่แทะเล็ม โดยการผูกล่ามแพะไม่ซ้ำที่เดิม
5. ทำลายตัวนำกึ่งกลางของพยาธิ เช่น ไร และหอยน้ำจืด
6. ไม่ควรให้แพะลงแปลงหญ้าชื้นๆ แฉะๆ เพระจะติดพยาธิได้ง่ายจากตัวอ่อนพยาธิที่อาศัยอยู่นานในแปลงหญ้าที่ชื้นนั้น




วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรื่องของสัตว์เลี้ยง

โรคอ้วนในสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของคุณ
        เพราะความรักที่เรามอบให้กับสัตว์เลี้ยง บางครั้งเราก็เผลอให้อาหารกับเขามากจนเกินพอดี จนกระทั่งเรา มารู้ตัวอีกที น้องหมาน้องแมวก็มีน้ำหนักตัวเกินพิกัด
         แต่เราก็อาจจะมองว่าไม่เห็นเป็นอะไรเลยก็น่ารักไปอีกแบบ ซึ่งจริงๆแล้วน้ำหนักตัวที่เกินพอดีของสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นสาเหตุนำพาไปสู่อาการเจ็บป่วยด้านอื่นๆตามมา
         วันนี้เรามานั่งพูดคุยกับ ผศ.สพ.ญ.ดร.อุตรา จามีกร จากคลินิกโภชนบำบัด โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเรื่องราวของความอ้วนในสัตว์เลี้ยง และการใช้โภชนบำบัดเข้าช่วยในการควบคุมน้ำหนักของน้องหมาน้องแมว
Q : สัญญาณที่บอกว่าสัตว์เลี้ยงอ้วน  

A : "ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ความอ้วนนั้นไม่ใช่เชื้อโรคเพราะฉะนั้นเราไม่เรียกว่าเป็นโรค ความอ้วนในสัตว์จะไม่เหมือนกับคน คือ ในคนเราจะมีโรคอ้วน เช่น ไม่ทานอาหารก็อ้วน ทานอะไรนิดเดียวก็อ้วน แต่ของสัตว์เกิดจากเจ้าของตามใจ สุนัขได้กินอย่างอิสระ ขอคนนั้นทีขอคนนี้ที ทำให้เกิดสภาวะอ้วน"

"โดยทั่วไปแล้ว เราจะมีมาตรฐานน้ำหนักตัวของสุนัขแต่ละพันธุ์ คุณหมอจำเป็นต้องทราบว่า สุนัขแต่ละสายพันธุ์นั้นมีน้ำหนักตัวโตเต็มที่ประมาณเท่าไหร่ เช่น ชิวาว่าจะมีน้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่แล้วประมาณ 2กิโลกรัม ถ้าเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ก็อาจจะมีน้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่มากถึง 30 กิโลกรัม จากนั้นก็จะมีวิธีคำนวณ กล่าวคือ เมื่อไหร่ที่สุนัขมีน้ำหนักตัวมากกว่า 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัวมาตรฐานของพันธุ์นั้นๆ ก็จะจัดว่าสุนัขตัวนั้นอยู่ในสภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน"

"วิธีการที่จะดูว่าสัตว์เลี้ยงอ้วนหรือไม่อีกวิธีก็คือ การให้คะแนนโครงร่าง ซึ่งมีทั้งแบบคะแนนเต็ม 5 และคะแนนเต็ม 9 แต่ที่เราใช้จะเป็นคะแนนเต็ม 5 หมายความว่า ถ้าคะแนนเท่ากับ 3 คือ กำลังดี หุ่นได้มาตรฐาน แต่ถ้า 1 จะหมายถึงผอมมาก มองไปจะเห็นเลยว่าซี่โครงบาน มองเห็นซี่โครงชัดเจน เดินโซซัดโซเซมาอยู่ในสภาวะขาดอาหาร ส่วนตรงกันข้ามถ้าเป็น 5 ก็จะเห็นเลยว่าสุนัขอ้วนชัดเจน ซึ่งถ้าเป็นในต่างประเทศ เขาจะมีอุปกรณ์ต่างๆมากมายในการตรวจดูว่าสัตว์เลี้ยงอ้วนหรือไม่ สามารถคำนวณส่วนที่เป็นไขมันว่ามีเท่าไหร่ ส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อมีเท่าไหร่"

Q : ความอ้วนก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง
A : "โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะอ้วนจะมาพร้อมกับอายุของสัตว์เลี้ยงที่มากขึ้น ยิ่งถ้าไปทำหมัน น้ำหนักตัวก็จะขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะความขยันลดลง ชอบนอนมากขึ้นในขณะที่กินเท่าเดิม เช่นนี้เมื่อน้ำหนักตัวมากขึ้นก็จะทำให้ข้อต่อกระดูก ข้อสะโพก ข้อขา ก็ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นตามไปด้วย


จนนำไปสู่ปัญหาในการคลอดลูกสำหรับสุนัขเพศเมีย เพศผู้อาจจะพบในเรื่องของปัญหาในการขับถ่าย อาจจะเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ต่อมไทรอยด์ ความอ้วนยังเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดความผิดปกติอีกหลายอย่างตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ"


Q : แล้วโภชนบำบัดช่วยสัตว์เลี้ยงได้อย่างไร


A : "โภชนบำบัดสำหรับสัตว์เลี้ยงนั้น บางคนก็มองว่าเป็นความผิดปกติ แต่บางคนก็ไม่ได้มองว่าเป็นความผิดปกติ เช่น ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน รวมไปถึงในสัตว์ป่วยเป็นโรคบางโรค เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ หรือแม้แต่โรคมะเร็ง ซึ่งมีผลต่อสรีระร่างกายของสัตว์"

"โภชนบำบัดจะใช้หลักการเดียวกันกับชีวจิต หรือเราจะเรียกว่าการแพทย์ทางเลือก คือเวลาที่สัตว์เลี้ยงมาที่คลินิก นอกจากจะได้รับการรักษาทางยาแล้ว การจัดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของอาหารจะช่วยชะลอวิวัฒนาการของโรคหรือช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรคได้ จะเห็นว่าทุกวันนี้มีอาหารที่ใช้ร่วมกับการบำบัดโรค เช่น โรคไต หรือสัตว์ที่มีสภาวะเป็นนิ่วชนิดต่างๆ รวมทั้งอาหารสำหรับสัตว์ที่เพิ่งฟื้นไข้ และอาหารที่เสริมสารบางอย่างเพื่อช่วยในเรื่องการทำงานของข้อต่อกระดูก"

"พูดโดยย่อโภชนบำบัดก็คือ การนำการจัดการ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอาหารเข้ามาช่วยประกอบร่วมกันกับการรักษาโรค แต่จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาหารในที่นี้ไม่ได้เป็นยา แต่จะเป็นการปรับแปลงเปลี่ยนเพิ่ม หรือลดอาหารบางชนิดจนสามารถช่วยให้สัตว์มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เจ็บป่วยทุกข์ทรมานน้อยลง หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"
Q : เช่นนี้จะอ้วนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของสัตว์เลี้ยงเป็นสำคัญ?

A : "ใช่ เราจะคุยกับเจ้าของสัตว์ เพราะเราต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าของสัตว์เป็นหลัก การที่จะลดน้ำหนักของสัตว์เลี้ยง ความร่วมมือและความตั้งใจจริงจากเจ้าของสัตว์เป็นสิ่งสำคัญ เจ้าของรับปากแล้ว เจ้าของทำได้ไหม บางคนเลี้ยงแบบใกล้ชิด พอตักข้าวเข้าปาก น้องหมาก็มานั่งมอง กลัวว่าถ้าไม่ให้น้องหมาจะไม่รัก จะงอน จะน้อยใจก็เลยแอบให้ อันนี้คือปัญหาหลัก ตรงนี้ถ้าสุนัขไม่ได้มีปัญหาสุขภาพด้านอื่นมาเกี่ยวข้อง เจ้าของก็อาจจะไม่ให้ความร่วมมือเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราบอกว่า น้ำหนักตัวเกินนะ ต้องลดน้ำหนัก ไม่เช่นนั้นเขาจะมีปัญหาเรื่องข้อสะโพก อาจจะต้องมาผ่าตัด ตรงนี้ก็จะได้รับความร่วมมือมากขึ้น"

"แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นปัญหา เจ้าของว่าจะทำ แต่ก็ให้เพราะคิดว่านิดเดียวเอง ไม่น่ามีปัญหา แต่จริงๆแล้วมันมีผล เพราะเวลาที่เราวางโปรแกรมให้อาหาร เรามีการคำนวณแล้วว่าสุนัขและแมวต้องการพลังงานเท่าไหร่ ต้องการอาหารเท่าไหร่ในแต่ละวัน หลักการของการลดน้ำหนักก็คือ พลังงานที่สัตว์ได้รับจะต้องน้อยกว่าพลังงานที่สัตว์จะใช้ พอเราคำนวณไปแล้วและเจ้าของไปเพิ่มปริมาณอาหารให้

นอกจากร่างกายจะไม่ได้ดึงส่วนเกินหรือไขมันมาใช้แล้ว ยังมีของใหม่เข้าไปเพิ่มอีก เพราะฉะนั้นการไม่ประสบความสำเร็จมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มากกว่า อีกอย่างก็คือ ต้องพาสุนัขและแมวไปออกกำลังกายบ้าง เช่น พาไปเดินพาไปวิ่ง แต่เราต้องเข้าใจด้วยว่าเมื่อสุนัขและแมวอ้วน การทนต่อการออกกำลังกายของเขาก็จะน้อยลงไปด้วย"

Q : แนวทางป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงอ้วน
A : "ถ้าเราป้องกันได้ตั้งแต่เริ่มก็จะดีกว่าการปล่อยให้อ้วนแล้วถึงมาลดน้ำหนัก เจ้าของจึงต้องใส่ใจกับอาหารที่จะให้สัตว์เลี้ยงทาน เริ่มตั้งแต่เขายังเด็กเลย ทุกวันนี้อาหารสำเร็จรูปก็มีการออกแบบมาสำหรับสุนัขในแต่ละช่วงวัย หรือแต่ละสายพันธุ์ เจ้าของควรสังเกตจากฉลากว่า ถ้าสัตว์น้ำหนักตัวเท่านี้ต้องให้อาหารปริมาณเท่าไหร่ ตรงนี้จะเป็นค่าเฉลี่ย เป็นค่าโดยคร่าวๆ ถ้าทานแล้วเขาไม่อิ่ม หรือมีน้ำหนักตัวลดลงก็ต้องปรับเพิ่ม แต่ถ้าทานไปแล้วสัตว์มีความตุ้ยนุ้ยขึ้นมาอย่างรวดเร็วก็ต้องปรับลด เจ้าของก็ต้องสังเกตดูด้วย"

"แต้ถ้าเจ้าของมีเวลา และปรุงอาหารให้สุนัขทานเอง ตรงนี้สัตว์เลี้ยงก็จะเสี่ยงต่อการมีภาวะน้ำหนักตัวเกินได้มากกว่า เพราะส่วนใหญ่จะหนีไม่พ้นข้าวแล้วก็เนื้อสัตว์เอามาต้มซึ่งในทางหนึ่งก็ดี เพราะเป็นอาหารสด โดยธรรมชาติ แล้วโดยทั่วไปสุนัขและแมวไม่ค่อยชอบทานน้ำ จนอาจนำมาสู่การเป็นนิ่ว หรือโรคไต อาหารปรุงเองจะมีน้ำปนอยู่มากพอสมควร แต่อาหารปรุงเองก็มีข้อดีข้อเสีย เพราะปรุงเองก็อาจจะอ้วนง่ายเพราะความน่ากินมีสูง แต่ก็ขาดวิตามินบางอย่าง ขึ้นอยู่กับเจ้าของว่าจะต้องคอยสังเกตน้ำหนักตัวของสุนัขอยู่เรื่อยๆ"


         ผ่านไปแล้วกับเรื่องราวของ "ความอ้วน" ในสัตว์เลี้ยง สุดท้ายแล้วเจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกท่านก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการป้องกันให้สัตว์เลี้ยงของตัวเองอ้วน เช่นนี้ถ้าจะแสดงความรักให้กับเขาด้วยการมอบอาหารและขนมให้กับน้องหมาน้องแมว ก็ควรให้ในปริมาณที่พอดี เลือกอาหารที่เหมาะกับช่วงอายุและสายพันธุ์ของเขา ความอ้วนก็จะไม่มาถามหาสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างแน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลือกพันธุ์และการประมาณอายุแพะ

การเลือกพันธุ์แพะ 


          การที่จะให้การเลี้ยงแพะประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่ง ก็คือพันธุ์แพะที่จะใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ เพราะพ่อ – แม่พันธุ์ ที่ดีหากเลี้ยงอย่างถูกวิธี จะให้ผลผลิตที่ดีด้วย

          การเริ่มต้นในการเลี้ยงแพะ ควรเริ่มจากการเลี้ยงแพะเมืองหรือแพะลูกผสมระหว่างแพะพันธุ์พื้นเมือง กับแพะพันธุ์พื้นเมือง กับแพะพันธุ์ต่างประเทศที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แล้ว เพราะนอกจากจะเลี้ยงดูง่ายแล้วยังลงทุนต่ำอีกด้วย เมื่อมีความรู้และประสบการณ์แล้วก็เริ่มเลี้ยงแพะพันธุ์แท้ ซึ่งอาจจะใช้แต่พ่อพันธุ์แพะที่ดี นำมาผสมพันธุ์กับแม่แพะหรือปรับปรุงพันธุ์แพะในฝูงให้ดีขึ้น

          การเลือกพ่อ – แม่พันธุ์แพะ ที่จะทำการเลี้ยง นั้น พ่อพันธุ์ควร คัดเลือกแพะ ที่มีสายเลือดแพะพันธุ์แท้ รูปร่างสูงใหญ่ น้ำหนักตัวมากที่สุดในฝูงมีความแข็งแรง มีความสมบูรณ์พันธุ์โดยควรคัดพ่อพันธุ์แพะที่เกิดจากแม่แพะที่ให้ลุกแฝดสูง และที่สำคัญคือพ่อพันธุ์แพะควรมีความกระตือรือร้นที่จะทำการผสมพันธุ์กับแม่แพะที่เป็นสัด

          แม่พันธุ์แพะที่จะเลือกควรเป็นแม่พันธุ์ที่มีรูปร่างลักษณะดี ลำตัวยาวเต้านมมีขนาดใหญ่ สมส่วน นิ่ม และหัวนมยาวสม่ำเสมอกัน ปริมาณน้ำนมมาก สามารถผสมติง่ายและให้ลูกแฝด



  การประมาณอายุแพะ 

     การประมาณอายุของแพะสามารถดูได้จากฟันของแพะ แพะมีฟันล่าง 8 ซี่ ฟันแท้ของแพะจะงอกขึ้นมาแทนฟันน้ำนมเป็นคู่ ตั้งแต่อายุ 1 ปี ถึง 4 ปี และหลังจากแพะอายุได้ 4 ปี แล้วฟันแท้จะค่อยๆหลุดไปซึ่งจะเข้าใจมากขึ้นเมื่อดูจากภาพประกอบ

                                                              

                                              อายุประมาณ 13 - 15 เดือน                                    
                               ฟันแท้ซี่กลาง 2 ซี่ งอกขึ้นมาแทนฟันน้ำนม

                                          

                                                  อายุประมาณ 18 - 21 เดือน
                       ฟันแท้อีก 2 ซี่ งอกเพิ่มขึ้นมาแทนฟันน้ำนม รวมเป็นฟันแท้ 4 ซี่


                                          



                   อายุประมาณ 22 - 26 เดือน ฟันแท้อีก 2 ซี่งอกเพิ่มขึ้นมาแทนฟันน้ำนม
                       รวมเป็นฟันแท้ 6 ซี่ จึงเหลือฟันน้ำนม 2 ซี่อยู่ด้านข้าง ข้างละ 1 ซี่

                                          



                                                อายุประมาณ 27 - 32 เดือน
                                                   แพะจะมีฟันแท้ทั้ง 8 ซี่

        

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พันธุ์แพะ

พันธุ์แพะ
          1.แพะพื้นเมืองในประเทศไทย มีหลายพันธุ์ด้วยกัน แพะทางแถบตะวันตก เช่น ที่จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแพะท่าจากประเทศอินเดีย หรือปากีสถานมีรูปร่างใหญ่กว่าแพะทางใต้ ส่วนแพะทางใต้ของประเทศไทย มีขนาดเล็กเข้าใจกันว่ามีสายพันธุ์เดียวกับแพะพื้นเมืองของมาเลเซีย คือพันธุ์แกมบิงกัตจัง แพะพื้นเมืองทางใต้มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 20-25 กิโลกรัม ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนมต่ำ






        2.แพะพันธุ์ต่างประเทศ เนื่องจากแพะพื้นเมืองของประเทศไทย มีขนาดเล็ก ให้ผลผลิตต่ำ กรมปศุสัตว์มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงพันธุ์แพะของประเทศไทยให้มีคุณภาพสูงขึ้น ให้แพะเป็นสัตว์ที่ให้ทั้งผลผลิตทั้งเนื้อและนม ดังนั้น จึงได้นำแพะพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ให้เกษตรกรนำไปผสมพันธุ์กับแพะพื้นเมือง เพื่อให้คุณภาพของแพะดีขึ้น สำหรับแพะพันธุ์ต่างประเทศที่กรมปศุสัตว์นำเข้ามาขยายพันธุ์ ได้แก่


 2.1 แพะพันธุ์ซาเนน เป็นแพะนมที่มีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตนมสูงกว่าแพะพันธุ์อื่นๆ แพะพันธุ์นี้มีขนสั้น ดั้งจมูกและใบหน้ามีลักษณะตรง ใบหูเล็กและตั้งชี้ไปข้างหน้า ปกติจะไม่มีเขาทั้งในเพศผู้และเพศเมีย แต่เนื่องจากมีแพะกระเทยในแพะพันธุ์นี้มาก จึงควรคัดเฉพาะแพะที่มีเขาไว้เป็นพ่อพันธุ์ เพราะมีรายงานว่าลักษณะกระเทยมีความสัมพันธ์ทางพันธุ์กรรมอยู่กับลักษณะของการไม่มีเขา แพะพันธุ์นี้มีสีขาว สีครีม หรือสีน้ำตาลอ่อนๆน้ำหนักโตเต็มที่ประมาณ 60 กิโลกรัม สูงประมาณ 70-90 เซนติเมตร ให้น้ำนมประมาณวันละ 2 ลิตร ระยะเวลาการให้นมนานถึง 200 วัน มีหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เลี้ยงแพะพันธุ์นี้อยู่มาก เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทย แต่ก็มีปัญหาเพราะว่าแพะพันธุ์นี้ปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศในแถบนี้ไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้าหากเลี้ยงแพะพันธุ์นี้ไว้ในลักษณะขังคอกตลอดเวลา ก็จะทำให้ปัญหาเรื่องเจ็บป่วยลดลงให้ผลผลิตดี 





          2.2 แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน กรมปศุสัตว์นำเข้ามาเลี้ยงขยายพันธุ์กว่า 20 ปีแล้ว เพื่อปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แพะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ น้ำหนักตัว มีน้ำหนักแรกเกิด 2-5 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม ( 3 เดือน ) 15 กิโลกรัม ดั้งจมูกมีลักษณะโด่งและงุ้ม ใบหูยาวและปรกลง ปกติแพะพันธุ์นี้จะไม่มีเขา แต่ถ้าหากมีเขาเขาจะสั้นและเอนแนบติดกับหนังหัว ขนสั้นละเอียดเป็นมัน มีขายาวซึ่งช่วยให้เต้านมอยู่สูงกว่า ระดับพื้นมากและทำให้ง่ายต่อการรีดนม และยังช่วยให้เต้านมไม่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากหนามวัชพืชเกี่ยว แพะพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น ดำ เทา ครีม น้ำตาล น้ำตาลแดง และมีจุดหรือด่างขนาดต่างๆได้ผลผลิตน้ำมันประมาณ 1.5 ลิตรต่อวัน ระยะเวลาให้น้ำนมประมาณ 165 วัน


       2.3 แพะพันธุ์เบอร์ กรมปศุสัตว์นำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นแพะเนื้อขนาดใหญ่ ลักษณะเด่น คือมีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก มีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 65 กิโลกรัม






พันธุ์ซาเนน                                   พันธุ์แองโกลนูเบียน                          พันธุ์บอร์

การเลี้ยงแพะ

  ลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะโดยทั่วไปสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 แบบด้วยกัน คือ


     1. การเลี้ยงแบบผูกล่าม การเลี้ยงแบบนี้ใช้เชือกผูกล่ามที่คอแพะแล้วนำไปผูกให้แพะหาหญ้ากินรอบบริเวณที่ผูก โดยปกติเชือกที่ใช้ผูกล่ามแพะมักมีความยาวประมาณ 5-10 เมตร การเลี้ยงแบบนี้ผู้เลี้ยงจะต้องมีน้ำและอาหารแร่ธาตุไว้ให้แพะกินเป็นประจำด้วย ในเวลากลางคืนก็ต้องนำแพะกลับไปเลี้ยงไว้ในคอกหรือเพิงที่มีที่หลบฝน การผูกล่ามแพะควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาที่แพะสามารถหลบแดดหรือฝนไว้บ้าง หากจะให้ดีเมื่อฝนตกควรได้นำแพะกลับเข้าเลี้ยงในคอก



   2.การเลี้ยงแบบปล่อย การเลี้ยงแบบปล่อยนี้เกษตรกรมักปล่อยแพะให้ออกหากินอาหารใน เวลากลางวัน
โดยเจ้าของจะคอยดูแลตลอดเวลา หรือเป็นบางเวลาเท่านั้นลักษณะ การเลี้ยงแบบนี้ที่นิยมเลี้ยงกันมากในบ้านเรา
เพราะเป็นการเลี้ยงที่ประหยัด เกษตรกรไต้องตัดหญ้ามาเลี้ยงแพะ การปล่อยแพะหาอาหารกินอาจปล่อยในแปลงผัก
หลังการเก็บเกี่ยวหรือปล่อยให้กินหญ้าในสวนยาง แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้แพะเที่ยวทำความเสียหายให้แก่
พืชเกษตรกรเพาะปลูก ทั้งนี้เพราะแพะกินพืชได้หลายชนิด การปล่อยแพะออกหากินอาหารกินไม่ควรปล่อยเวลาที่
แดดร้อนจัดหรือฝนตก เพราะแพะอาจจะเจ็บป่วยได้ โดยปกติเกษตรกรมักปล่อยแพะหากินอาหาร ตอนสายแล้ว
ไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเที่ยง หรือปล่อยแพะออกหากินอาหารกินตอนบ่ายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเย็น หาก
พื้นที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์แพะจะกินอาหารเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว




  3.การเลี้ยงแบบขังคอกการเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรขังแพะไว้ในคอกรอบๆ คอกอาจมีแปลงหญ้าและรั้วรอบแปลงหญ้าเพื่อให้แพะได้อออกกินหญ้าในแปลง บางครั้งเกษตรกรต้องตัดหญ้าเนเปียร์หรือกินนีให้แพะกินบ้างนคอกต้องมีน้ำและอาหารข้นให้กิน การเลี้ยงวิธีนี้ประหยัดพื้นที่และแรงงานในการดูแลแพะ แต่ต้องลงทุนสูง เกษตรกรจึงไม่นิยมทำการเลี้ยงกัน




4. การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช การเลี้ยงแบบนี้ ทำการเลี้ยงได้ 3 ลักษณะ ที่กล่าวข้างต้น แต่การเลี้ยงลักษณะนี้เกษตรกร จะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมันและปลุกมะพร้าว ในภาคใต้ของประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากที่ทำการเลี้ยงแพะควบคู่ไปกับการทำสวนยาง โดยให้แพะหากินหญ้าใต้ยางที่มีขนาดโตพอสมควร การเลี้ยงแบบนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการเพาะปลูกเพียงอย่างเดียว





        1.พื้นที่ตั้งของคอก คอกแพะควรอยู่ในที่เนินน้ำไม่ท่วมขัง แต่ถ้าหากพื้นที่ที่ทำการเลี้ยงแพะมีน้ำท่วมขังเวลาฝนตก ก็ควรสร้างโรงเรือนแพะให้สูงจากพื้นดินตามความเหมาะสม แต่ทางเดินสำหรับแพะขึ้นลงไม่ควรมีความสูงลาดสูงกว่า 45 องศา เพราะหากสูงมากแพะจะไม่ค่อยขึ้นลง พื้นคอกที่ยกระดับจากพื้นดินควรให้เป็นร่อง โดยใช้ไม้หนาขนาด 1 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ปูพื้นให้เว้นร่องระหว่างไม้แต่ละอันห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้พื้นคอนกรีต โดยปูพื้นคอกแพะด้วยสแลตที่ปูพื้นคอกสุกรก็ได้ พื้นที่เป็นร่องนี้จะทำให้มูลของแพะตกลงข้างล่าง พื้นคอกจะแห้งและสะอาดอยู่เสมอ





        2.ผนังคอก ผนังคอกแพะควรสร้างให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ผนังคอกควรความสูงไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้แพะ กระโดดหรือปีนข้ามออกไปได้


        3.หลังคาโรงเรือน แบบของหลังคาโรงเรือนเลี้ยงแพะมีหลายแบบ เช่น เพิงหมาแหงน หรือ แบบหน้าจั่ว เกษตรกรที่จะสร้างควรเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และทุนทรัพย์ หลังคาโดยปกติมักจะสร้างให้สูงจากพื้นคอกประมาณ 2 เมตร ไม่ควรสร้างโรงเรือนให้หลังคาต่ำเกินไป เพราะอาจจะทำให้ร้อนและอากาศถ่ายเทไม่ดี สำหรับวัสดุที่ใช้มุงหลังคาจะใช้จาก หรือแฝก หรือสังกะสีก็ได้


        4.ความต้องการพื้นที่ของแพะ แพะมีความต้องการพื้นที่ในการอยู่อาศัยในโรงเรือนประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือนประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือนออกเป็นคอกๆแต่ละคอกขังแพะรวมฝูงกันประมาณ 10 ตัว โดยคัดขนาดของแพะ ให้ใกล้เคียงกันขังรวมฝูงกัน แต่ถ้าหากเห็นว่าสิ้นเปลืองค่าก่อสร้างก็อาจขังแพะรวมกันเป็นฝูงใหญ่ในโรงเรือนเดียวกัน โดยแบ่งเป็นคอกๆก็ได้


        5.รั้วคอกแพะ เกษตรกรบางรายเลี้ยงแพะไว้ในโรงเรือนและมีบริเวณสำหรับให้แพะเดินรอบโรงเรือน บริเวณเหล่านี้จะทำรั้วล้อมรอบป้องกันไม่ให้แพะออกไปภายนอกได้ รั้วที่ล้อมรอบโรงเรือนแพะไม่ควรใช้ลวดหนามเป็นวัสดุ เพราะแพะเป็นสัตว์ซุกซน อาจได้รับอันตรายจากลวดหนามได้ รั้วควรจะสร้างด้วยไม้ไผ่หรือลวดตาข่าย ทุกระยะ 3-4 เมตร จะมีเสาปักเพื่อยึดให้รั้วแข็งแรง หากจะสร้างรั้วให้ประหยัดอาจใช่กระถินปลูกเป็นแนวรั้วปนกับใช้ไม้ไผ่ก็จะทำให้รั้วไม้ไผ่คงทนและใช้งานได้นาน โดยระยะแรกสร้างรั้วไม้ไผ่แล้วปลูกกระถินเป็นแนวข้างรั้วไผ่ เมื่อกระถิ่นโตขึ้นก็จะเป็นรั้วทดแทนต่อไป






วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

การผสมพันธุ์ปลาดุก(ผสมเทียม)

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย 
1. การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย


 ควรเลี้ยงในบ่อดินที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป โดยปล่อยในอัตรา 20-30 ตัว/ตรม. ที่ระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร ควรมีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี และพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของปลาให้มีไข่และน้ำเชื้อดียิ่งขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน
ฤดูกาลผสมพันธุ์ปลาดุก จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม- ตุลาคมก่อนฤดูกาลผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ควรเริ่มคัดปลาที่มีไข่แก่สมบูรณ์บางส่วนมาเริ่มดำเนินการผสมเทียม.
2. การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย


พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่นำมาใช้ควรเป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ และควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป การสังเกตลักษณะปลาเพศเมียที่ดีในการเพาะพันธุ์ดูได้ จากส่วนท้องจะอูมเป่ง ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ติ่งเพศจะมีลักษณะกลมมีสีแดง หรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบา ๆ ที่ท้องจะมีไข่ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีน้ำตาลอ่อนใสไหลออกมา ส่วนปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียว มีสีชมพูเรื่อ ๆ ปลาไม่ควรมีขนาดอ้วนหรือผอมจนเกินไป ขนาดพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุก ควรมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 200 กรัมขึ้นไป หรือปลาที่มีอายุประมาณ 7-8 เดือน หรือ 1 ปี ให้อาหารที่มีคุณภาพดี เพื่อให้มีไข่แก่ จะใช้เวลา 3-4 เดือน มีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลาถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ส่วนปลาดุกเทศเพศผู้นิยมใช้ ขนาดน้ำหนักตัวมากกว่า 500 กรัมขึ้นไป และควรเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ลำตัวเพรียวยาวและไม่อ้วนจนเกินไป

3. อุปกรณ์และวิธีการผสมเทียม
3.1. พ่อ-แม่พันธุ์ปลา
3.2. ฮอร์โมนต่อมใต้สมองปลา หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ
3.3. โกร่งบดต่อมใต้สมอง
3.4. เข็มฉีดยา
3.5. เครี่องชั่งน้ำหนัก สามารถชั่งได้ถึงจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
3.6. ภาชนะสำหรับผสมไข่ปลากับน้ำเชื้อ ได้แก่ กะละมังพลาสติก และขนไก่
3.7. น้ำเกลือและน้ำกลั่น
3.8. อุปกรณ์ในการกกไข่ปลา เช่น กระชัง อวนมุ้งเขียว
3.9. อุปกรณ์ในการอนุบาลลูกปลา


4. ชนิดและวิธีการฉีดฮอร์โมน ฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกมีไข่แก่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อนั้นมีหลายชนิดซึ่งสามารถแยกได้ ดังนี้
4.1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ได้แก่ ต่อมใต้สมองปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ต่อมใต้สมองปลาจีน ปลาโรฮู่ ปลาสวาย ปลาไน เป็นต้น มีหน่วยความเข้มข้นคือโดส ซึ่งมีสูตรการคำนวณ คือ



จำหน่ายพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย

การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองจะต้องฉีดสองครั้ง ครั้งแรกฉีดที่ระดับความเข้มข้น 1 โดส ทิ้งระยะห่าง 6 ชั่วโมง จึงฉีดครั้งที่สองที่ระดับความเข้มข้น 2 โดส หลังจากนั้นประมาณ 9 - 10 ชั่วโมง เมื่อสังเกตเห็นว่ามีไข่ตกออกมาจากช่องท้องของแม่ปลาบางตัวแล้ว จึงรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ สามารถไข้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุก โดยไข้ความเข้มข้นของฮอร์โมนได้เช่นเดียวกับการฉีดปลาดุกอุย แต่ระยะเวลาการรีดไข่หลังการฉีดเข็มสองจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งต่างจากปลาดุกอุย 5-6 ชั่วโมง
การใช้ต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่ อาจใช้ร่วมกับฮอร์โมนสกัดเพื่อให้การฉีดไข่สะดวกขึ้น โดยใส่ฮอร์โมนสกัดในระดับความเข้มข้น 100-300 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใช้ต่อมใต้สมองในอัตราเท่าเดิม
ส่วนปลาเพศผู้สามารถกระตุ้นให้มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยใช้ต่อมใต้สมองที่ระดับความเข้มข้น 0.5 โดส ฉีดให้กับพ่อปลาพร้อมกับการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ปลาครั้งที่สอง
4.2. ฮอร์โมนสกัด (Extract hormone) ได้แก่ เอช ซี จี HCG (Human chorionic Gonadotropin) มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไอ.ยู. (l.U. - lnternational unit)
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCE) สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 3,000-5,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสกัดเป็นเวลาประมาณ 15 -16(1/2) ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCG) ฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวเหมือนกับปลาดุกอุยที่ระดับความเข้มข้น 2,000 -4,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนเป็นเวลาประมาณ 9(1/2) - 11 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมเทียมได้
ในเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสกัดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 200 - 400ไอยู/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ประมาณ 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าเอาถุงน้ำเชื้อออกมาไข้ในการผสมเทียม
4.3. ฮอร์โมนสังเคราะห์ (Synthetic hormone) ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไมโครกรัม (ug) ซึ่งในการฉีดกับปลาดุกต้องใช้ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบการหลั่งฮอร์โมนคือ โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium) ซึ่งมีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (mg) ขนาดที่มีขายโดยทั่วไปคือ เม็ดละ 1O มิลลิกรัม
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยไข้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกอุยมีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 20-30 ไมโครกรัมแม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/ แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์นี้เป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกเทศมีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัม / แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
ในปลาเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 5 ไมโครกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ก่อนผ่าถุงน้ำเชื้อประมาณ 10 ชั่วโมง

5. ปริมาณสารละลายที่ใช้
หลังจากที่เตรียมฮอร์โมนที่จะฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกแล้ว การคำนวณสารละลายที่จะผสมกับฮอร์โมนเพื่อฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเป็นเรื่องที่ควรคำนึง คือ จะต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดเติมในปริมาณที่เหมาะสม โดยการฉีดปลาดุกขนาด 200-500 กรัม จะใช้ปริมาณสารละลายผสมแล้ว ประมาณ 0.3-0.7 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 500-2,000 กรัม ควรใช้ปริมาณสารละลายผสมประมาณ 0.4 -1.2 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 2,000 กรัมขึ้นไปใช้ สารละลายประมาณ 1.0-2.5 ซีซี
6. ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน
การฉีดฮอร์โมนปลาดุกนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 22-24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว/(2 เซนติเมตร)
ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครั้งที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรกหลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุก แล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก
ตำแหน่งที่เหมาะสมในการฉีดฮอร์โมน คือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว
ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครังที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรก หลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุกแล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก

ชนิดและปริมาณต่อมใต้สมองในการฉีดกระตุ้นให้ปลาดุกอุยวางไข่

ชนิดต่อม ฉีดครั้งที่ 1 (โดส) ฉีดครั้งที่ 2 (โดส) 
ปลาสวาย 1.5 2.5 
ปลาจีน 1 2 
ปลาไน 0.8 1.8 

7. การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ
การรีดไข่ของปลาดุกเพื่อผสมกับน้ำเชื้อนั้นใช้วิธีกึ่งเปียก เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด นำแม่ปลาที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนและมีไข่แก่เต็มที่แล้วมารีดไข่ใส่ในภาชนะผิวเรียบ เช่น กะละมังเคลือบ พร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียว แล้วขยี้ให้ละเอียดพร้อมกับเทน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 0.7 % หรือน้ำสะอาดลงบนผ้ามุ้งเขียวที่ขยี้ถุงน้ำเชื้อให้น้ำไหลผ่านเพื่อให้น้ำเชื้อลงไปผสมกับไข่ ผสมไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากันโดยการคนเบา ๆ ด้วยขนไก่ประมาณ 2-3 นาที จึงนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไปล้างน้ำสะอาด 1 ครั้ง แล้วนำไปฟัก
น้ำเชื้อจากปลาตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับไข้ที่ได้จากการรีดปลาเพศเมียประมาณ 10 ตัว


การรีดไข่จากแม่ปลาดุกอุย

ผ่าท้องพ่อพันธุ์เพื่อเอาถุงน้ำเชื้อ


ผสมน้ำเชื้อกับไข่

คนให้น้ำเชื้อและไข่ผสมกันอย่างทั่วถึง

8. การฟักไข่
ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลม มีน้ำตาลเข้ม ไข่ของปลาดุกเทศก็เป็นไข่ติด เช่นเดียวกับปลาดุกอุย ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลมและมีสีเขียวเข้ม นำไข่ปลาดุกที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วไปฟัก โดยโรยไข่บนผ้ามุ้งเขียวเบอร์ 20 ที่ขึงตึงที่ระดับต่ำกว่าผิวน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยระดับน้ำในบ่อที่ขึงผ้ามุ้งเขียวนั้นมีระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและควรมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อกกไข่ปลาด้วย ไข้ปลาดุกที่ได้รับการผสมจะพัฒนาและฟักเป็นตัวโดยใช้เวลาประมาณ 21-26 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 28-30 องศาเซลเซียส ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัว จะหลุดลอดตาของมุ้งเขียวลงสู่พื้นก้นบ่อด้านล่าง หลังจากลูกปลาหลุดลอดลงสู่พื้นก้นบ่อหมดแล้วจึงย้ายผ้ามุ้งเขียวที่ใช้ฟักไข่ออกจากบ่อฟักจะใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง ลูกปลาจะค่อย ๆ พัฒนาเจริญขึ้นเป็นลำดับจนมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมง จึงเริ่มกินอาหาร บ่อเพาะฟักลูกปลาดุกควรมีหลังคาปกคลุมป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้แม่ปลาขนาดประมาณ 1 กิโลกรัม จะได้ลูกปลาประมาณ 5,000 -20,000 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดแม่ปลา