ไปรท์ค่ะYou

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โรคติดเชื้อในแพะ

โรคติดเชื้อในแพะ

       สาเหตุของโรคในแพะอาจเนื่องมาจากอาหาร การจัดการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกวิธี ทำให้สัตว์เกิดความเครียด อ่อนแอ ไม่มีความต้านทานโรคพอผู้เลี้ยงแพะต้องทราบถึงสาเหตุและสันนิฐานได้ซึ่งจะช่วยในการรักษาและป้องกันการระบาดของโรคได้
           โดยให้สังเกตว่าแพะจะแสดงอาการหลายประการ เช่น การกินอาหารลดลงกว่าปกติ มีอาการไอ จาม ท้องเสีย ขนไม่เป็นเงา จมูกแห้ง ซึมหงอย เป็นต้น โรคที่เกิดในแพะที่ควรรู้จักมีดังต่อไปนี้

โรคปากเปื่อย


    เกิดจากเชื้อไวรัส อาการคือพบแผลนูนคล้ายหูด บริเวณริมฝีปาก รอบจมูก รอบตา บางครั้งลุกลามไปตามลำตัว ถ้าเป็นแพะโตอาการรุนแรงและแผลจะตกสะเก็ด แห้งไปเองภายในประมาณ 28 วัน
     การรักษา ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) หรือทิงเจอร์ไอโอดีน ทาแผล วันละ 1-2 ครั้ง

     การป้องกัน ในประเทศไทย ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ถ้าพบแพะ เป็นโรคนี้ให้รีบแยกตัวป่วยออกทันที และรักษาจนกว่าจะหายจึงนำเข้าร่วมฝูงได้

โรคปากและเท้าเปื่อย


 เกิดจากเชื้อไวรัส อาการที่แพะจะซึม น้ำลายไหลยืด ไม่กินอาหารบริเวณปากและแก้มบวมแดง มีเม็ดตุ่มใสเป็นแผลบริเวณกีบและเท้า แพะจะเดินขากระเผลก แสดงอาการเจ็บปวดและถ้าติดเชื้อโรคแทรกซ้อนอาจทำให้แพะตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน แพะที่ตั้งท้องอาจแท้งลูกได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มีทางรักษาโดยตรง การป้องกัน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และการกักกันแพะที่จะเข้ามาเลี้ยงใหม่เป็นเวลา 14 วัน ก่อนเข้าฝูง ที่สำคัญมากคือการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียทำให้เป็นหนองที่แผล เม็ดตุ่มพองแตกออกและจะหายช้ามากหรืออาจลุกลาม เกิดเลือดเป็นพิษถึงตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน
ผู้เลี้ยงอาจทราบว่าแพะเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ โดยสังเกตดูจากอาการเจ็บปาก แผลเม็ดตุ่ม น้ำลายไหล ไม่กินอาหาร ขากะเผลกไม่เดิน

     การรักษา ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) ทาที่แผลที่ปากและ กีบ หัวยม วันละครั้ง และฉีดยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทั้งนี้ควรขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์
     การป้องกัน
      1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท่าเปื่อยปีละ 1 ครั้ง
      2. กักแพะที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ เป็นเวลา 14 วัน จนแน่ใจว่าไม่เป็นโรคแล้วจึงนำเข้ารวมฝูง


โรคมงคล่อพิษเทียม

   โรคนี้ติดต่อถึงคนได้เช่นกัน และพบว่าจนถึงปัจจุบันมีคนเป็นโรคนี้กันมากแล้ว ผู้เลี้ยงแพะจึงควรทราบจะได้ระมัดระวังไว้ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ติดต่อโดยการกินเชื้ออยู่ในดิน น้ำ อาหาร และหญ้าและติดต่อได้โดยการสัมผัสทางบาดแผล อาการที่พบในแพะคือ ซูบผอมลง อ่อนเพลีย ซึม เบื่ออาหาร ซีด ดีซ่าน มีไข้ มีน้ำมูก ข้อขาหน้าบวมชักและตาย เมื่อผ่าซากแพะจะพบฝีมากมายตามอวัยวะภายใน เช่น ปอด ม้าม ไต ตับ ใต้ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง และข้ออักเสบมีหนอง เชื้อนี้มักดื้อยา การรักษาไม่ค่อยไผล ดังนั้นควรทำลายและกำจัดซากโดยการเผา ไม่ควรนำซากแพะมาบริโภคโดยเด็ดขาด การป้องกันและควบคุมโรคต้องกำจัดซากแพะทันทีควรตรวจเลือดแพะทุกๆ 1 ปี ถ้าพบเป็นโรคให้กำจัดออกจากฝูงและทำลาย

     การรักษา ไม่แนะนำให้รักษาควรกำจัดออกจากฝูง เพราะโรคนี้รักษาหายยากและติดต่อถึงคนได้
     การป้องกัน
      1. กำจัดแพะป่วย และทำลายซากห้ามนำมาบริโภค
        2. ตรวจสุขภาพแพะ โดยเจาะเลือดส่งห้องปฏิบัติการทุกๆ 2 ปี
        3. ตรวจเลือดแพะทุกตัวที่นำเข้ามาใหม่ ถ้าพบให้ทำลายทิ้ง



โรคปอดปวม
         โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นได้กับแพะทุกอายุ พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะแพะที่อ่อนแอและไม่เคยถ่ายพยาธิ พบภาวะโรคนี้บ่อยๆในฤดูฝนเชื้อติดต่อได้รวดเร็ว โดยการกินเชื้อที่มีอยู่ในน้ำ อาหาร หายใจ เชื้อในอากาศ การอยู่รวมฝูงกับแพะป่วยด้วยโรคนี้ อาการของแพะที่ป่วย ได้แก่ มีไข้ จมูกแห้งมีน้ำมูก หอบ หายใจเสียงดัง ไอ ถ้าเป็นเรื้อรังแพะจะ แคระแกรน อ่อนแอ แพะป่วยจะตายถึง 60-90 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะแพะที่มีพยาธิมาก และลูกแพะหลังหย่านมใหม่จะตายมากที่สุด

     การรักษา โดยฉีดยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน อ๊อกซิเตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนนิคอล อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลาอย่างหนึ่งเป็นเวลา 3-5 วันต่อกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษา สัตวแพทย์ในการรักษา โรคนี้ป้องกันได้โดยจัดการโรงเรือนให้ สะอาด พื้นคอกแห้ง อย่าให้ฝนสาดหรือลมโกรกแพะ และควรยกพื้นโรงเรือน ประมาณ 1-1.5 เมตร แพะป่วยให้แยกขังไว้ในคอกสัตว์ป่วยต่างหาก จนกว่าจะหายดีแล้วจึงค่อยนำเข้ารวมฝูงเดิมใหม่ นอกจากนี้ควรถ่ายพยาธิ แพะ เป็นประจำตามโปรแกรมทุกๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อให้แพะแข็งแรงและควร ดูแลแพะหลังหย่านมเป็นพิเศษด้วยการเสริมอาหารที่มีคุณภาพดี

โรคแท้งติดต่อ
         เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพะจะแท้งในช่วงลูกอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ แต่ไม่ค่อยเกิดโรคนี้บ่อย โรคนี้ติดต่อถึงคนได้ จึงต้องระวังในการดื่มนมแพะ อาการของแพะสังเกตยาก ต้องตรวจจากเลือดเท่านั้น ดังนั้นควรได้มีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ ทำลายแพะที่เป็นประจำ โดยการตรวจเลือดปีละ 1ครั้ง

       วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ทำลายแพะที่เป็นโรค และไม่คัดเลือกแพะที่พ่อ-แม่พันธุ์เคยมีประวัติเป็นโรคมาเลี้ยง    

โรคไข้นม
        โรคนี้เกิดในระยะที่แพะใกล้คลอด หรือขณะที่กำลังอยู่ในระยะให้นม สาเหตุเกิดจากแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เนื่องจากถูกนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม อาการของแพะที่เป็นโรคไข้นมคือ ตื่นเต้นตกใจง่าย การทรงตัวไม่ดี กล้ามเนื้อเกร็ง นอนตะแคงและคอบิด ซีด หอบ อ่อนเพลีย ถ้าเป็นมากรักษาไม่ทันก็ถึงตายได้

       การรักษา ให้รีบติดต่อสัตวแพทย์ในท้องที่มารักษา การป้องกันโดยการเพิ่มอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมในช่วงที่แพะคลอดและให้นม    

โรคขาดแร่ธาตุ
        มักเกิดกับแพะเพศเมีย โดยที่แพะไม่ได้รับแร่ธาตุหรืออาหารข้นเสริมในภูมิประเทศที่มีแร่ธาตุในดินต่ำจะพบแพะป่วยด้วยโรคนี้มาก สาเหตุเกิดจากขาดแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้น อาการที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มลงนอนตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3 การรักษาทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้นอาการที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มนอนตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3 วัน การรักษาทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุแก่แพะเลียกิน ให้วิตามินและแร่ธาตุไว้ในโรงเรือนให้แพะได้เลียกินตลอดเวลา

โรคท้องอืด
        เกิดจากกินหญ้าอ่อนมาเกินไป หรืออาหารข้นที่มีโปรตีนสูงมากเกินไป ( เกิน 3% ของน้ำหนักตัว )
หรือการที่แพะป่วยและนอนตะแคงด้านซ้าย การแก้ไขผู้เลี้ยงแพะต้องเจาะท้องเอาแก๊สออก และกระตุ้นให้แพะลุกขึ้นเดิน







โรคพยาธิในแพะ

โรคพยาธิในแพะ


           พยาธิมีผลกระทบต่อการผลิตแพะทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งพบว่าพยาธิภายในเป็นตัวก่อปัญหากับการเลี้ยงมากกว่าพยาธิภายนอก ถ้าแพะมีพยาธิภายในจำนวนมากจะทำให้เกิดโรคเฉียบพลันมีความรุนแรงถึงตายได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยจะไม่ถึงตาย แต่ทำให้ผลผลิตลดลง เช่น เนื้อ นม นอกจากนี้ทำให้แพะอ่อนแอ เป็นโรคอื่นๆ ได้ง่าย ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากผลผลิตที่ลดลงและเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการซื้อยาถ่ายพยาธิด้วยมีแนวโน้นว่าพยาธิจะมีการดื้อยาขึ้น การใช้ยาจึงต้องไม่ใช้ยาชนิดเดียวกันทั้งปี พยาธิภายในแพะมีหลายชนิดด้วยกัน เกิดกับแพะทุกภาคที่เลี้ยงแพะ โดยเฉพาะในเขต เอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด และพยาธิตัวแบน เป็นต้น ดังที่กล่าวในรายละเอียดให้เกษตรกรรู้จักดังต่อไปนี้
พยาธิตัวกลม    แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือพยาธิตัวกลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ได้แก่

พยาธิเส้นลวด



 อยู่ในกระเพาะอาหารส่วนอโบมาซุ่มของแพะ เป็นพยาธิที่ทำอันตรายต่อสัตว์มากที่สุด ตัวผู้ยาว 10- 20 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว18 – 30 มิลลิเมตร ตัวผู้มีสีแดง ส่วนตัวเมียมีสีแดงสลับขาว มีวงจรชีวิตคือ เมื่อพยาธิตัวแก่ไข่อกมาและแพะถ่ายอุจจาระออกมาไข่จะมีตัวอ่อนอยู่ภายใน เมื่อตัวอ่อนฟักตัวออกมานอกไข่ และเจริญเป็นตัวอ่อนระยะติดโรคแล้วแพะมากินเข้าไปจะเข้าไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอโบมาซุ่ม ดังกล่าว และภายใน 19วัน ตัวอ่อนก็จะเจริญเป็นตัวแก่และเริ่มออกไข่ อันตรายที่เกิดกับแพะก็คือพยาธิชนิดนี้จะดูดเลือดทั้งเม็ดเลือดและโปรตีนในเลือด ทำให้แพะเกิดโลหิตจางและถ้ามีอาการรุนแรง แพะจะมีอาการบวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง และแพะจะ ไม่เจริญเติบโต น้ำหนักลด ท้องร่วง หรือท้องผูก ร่างกายอ่อนแอ ความต้านทานโรคต่ำและตายได้ อาการในลูกสัตว์จะเป็นแบบเฉียบพลัน เพราะการเสียเลือดอย่างรวดเร็ว โดยไม่แสดงอาการโลหิตจางให้เห็น
นอกจากนี้ก็มีพยาธิเส้นดายที่อาศัยในลำไส้เล็ก มันจะแย่งอาหารทำให้ลำไส้อักเสบ แต่ความรุนแรงของพยาธินี้ไม่มากนัก และพยาธิเม็ดตุ่ม พบในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้อักเสบ แพะจะถ่ายเป็นมูกเหลว การเจริญเติบโตลดลง ขนหยาบกระด้าง ท้องร่วง ผอมแห้งตาย บางครั้งอุจจาระมีเลือดปน


             วงจรชีวิตพยาธิตัวตืดของแพะ



พยาธิใบไม้ในตับ
  พบในตับและท่อน้ำดีของแพะ ขนาดตัวยาว 25 – 75 มิลลิเมตร กว้าง 12 มิลลิเมตร มีวงจรชีวิตคือตัวอ่อนที่ฟักออกมา จากไข่พยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตในหอยน้ำจืด ใช้เวลาเจริญเติบโตในหอย 4 – 7 สัปดาห์ กลายเป็นตัวอ่อนว่ายออกมาจากหอยมาเกาะวัชพืชน้ำ และกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดโรค รอให้แพะมากิน ความรุนแรงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นขณะที่ตัวอ่อนของพยาธิเดินทางไปที่ตับ จะเกิดโรค 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลัน และชนิดรุนแรง เนื้อตับจะถูกทำลายอย่างมาก มีเลือดตก ในช่องท้อง ซึ่งมักพบในแกะ แพะที่ป่วยจะไม่อยากเคลื่อนไหว หายใจลำบาก แสดงอาการเจ็บปวดบริเวณท้องเมื่อถูกสัมผัส และพยาธินี้ทำให้การย่อยอาหารไม่ดี ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต เช่น เนื้อ และ ปริมาณนม เป็นต้น


             วงจรชีวิตพยาธิใบไม้ในตับของแพะ

เชื้อบิด



   ระบาดทั่วไปในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะแพะที่เลี้ยงรวมกัน ภายในคอก หรือแปลงหญ้าขนาดเล็ก มักไม่ค่อยพบในแพะที่เลี้ยงปล่อยเชื้อฟักอาศัยในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ของแพะ ทำให้ลำไส้อักเสบ แพะจะแสดงอาการเบื่ออาหาร สุขภาพไม่สมบูรณ์ ท้องว่าง อุจจาระมีกลิ่นเหม็น แพะจะมีเพลีย และถ้าไม่รักษาจะตายได้ อัตราการรอดตายจากโรค ค่อนข้างสูง การป้องกันควรแยกแพะที่เป็นโรคออกจากฝูง ทำความสะอาด ภาชนะใส่อาหารและรั้ว และพื้นคอกให้สะอาด
การตรวจวินิจฉัยโรค โดยสังเกตดูอาการว่า แพะจะเบื่ออาหาร ซูบผอม ซึม ขนยุ่ง ท้องเสีย บวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง และจากการตรวจอุจจาระพบไข่หรือ ตัวอ่อนพยาธิซึ่งเกษตรกรควรติดต่อเจ้าหน้าที่ กรมปศุสัตว์ ตรวจเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง



 ข้อแนะนำการป้องกันและควบคุมพยาธิภายในของแพะ

1. ถ่ายพยาธิเป็นประจำตามโปรแกรม โดยถ่ายทุก 4-6 สัปดาห์ ยาถ่ายพยาธิที่ใช้ประกอบด้วย
   - ยาถ่ายพยาธิตัวกลม เช่น อัลเบนดาโซล , ไทอาเบ็นดาโซล, ไพแรนเทล, เลวามิซอล เป็นต้น
   - ยาถ่ายพยาธิตัวตืด เช่น นิโคลซาไมด์ , เมเบนดาโซล เป็นต้น
   - ยาถ่ายพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ราฟอกซาไนด์ , ไนโตรไซนิล เป็นต้น
   - ยากำจัดเชื้อบิด เช่น โทลทราซูริล , ซัลฟาควินอกซาลีน ,เป็นต้น หรือถ้าพบมีปัญหา พยาธิภายในและเชื้อบิดร่วมกัน อาจใช้ยาทั้งสามชนิด และควรถ่ายทุก
    4-6 สัปดาห์
   - สำหรับพยาธิตัวกลม ควรเริ่มถ่ายพยาธิครั้งแรกเมื่ออายุ 8 สัปดาห์
2. ทำความสะอาดโรงเรือนแพะอย่างสม่ำเสมอ พื้นโรงเรือนแพะต้องเป็นแบบเว้นช่อง เพื่ออุจจาระตกลงไปข้างล่าง และต้องล้อมรอบ ใต้ถุนไว้ไม่ให้แพะเข้าไปได้    มิฉะนั้นจะติดโรคพยาธิจากอุจจาระได้
3. อุจจาระและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ให้ฝังหรือเผาทำลายให้หมด
4. ใช้ระบบแปลงหญ้าหมุนเวียนโดยการแบ่งแปลงหญ้าออกเป็นแปลงย่อยแต่ละแปลงล้อมรั้วกั้นไว้ ปล่อยแพะเข้าแทะเล็มหญ้านานแปลงละ 2 สัปดาห์
    หลังจากนั้น ไปเลี้ยงแปลงอื่นต่อโดยจะต้องจัดการแปลงที่แพะเล็มแล้ว ด้วยการตัดหญ้าให้สั้นลงมากที่สุด หรือให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินเพื่อให้ไข่และตัวอ่อน
    ของพยาธิตาย และหญ้าเจริญงอกงามเร็ว สำหรับเลี้ยงแพะที่จะเข้ามาแทะเล็มใหม่ หมุนเวียนกันไปหรือวิธีจำกัดพื้นที่แทะเล็ม โดยการผูกล่ามแพะไม่ซ้ำที่เดิม
5. ทำลายตัวนำกึ่งกลางของพยาธิ เช่น ไร และหอยน้ำจืด
6. ไม่ควรให้แพะลงแปลงหญ้าชื้นๆ แฉะๆ เพระจะติดพยาธิได้ง่ายจากตัวอ่อนพยาธิที่อาศัยอยู่นานในแปลงหญ้าที่ชื้นนั้น




วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรื่องของสัตว์เลี้ยง

โรคอ้วนในสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของคุณ
        เพราะความรักที่เรามอบให้กับสัตว์เลี้ยง บางครั้งเราก็เผลอให้อาหารกับเขามากจนเกินพอดี จนกระทั่งเรา มารู้ตัวอีกที น้องหมาน้องแมวก็มีน้ำหนักตัวเกินพิกัด
         แต่เราก็อาจจะมองว่าไม่เห็นเป็นอะไรเลยก็น่ารักไปอีกแบบ ซึ่งจริงๆแล้วน้ำหนักตัวที่เกินพอดีของสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นสาเหตุนำพาไปสู่อาการเจ็บป่วยด้านอื่นๆตามมา
         วันนี้เรามานั่งพูดคุยกับ ผศ.สพ.ญ.ดร.อุตรา จามีกร จากคลินิกโภชนบำบัด โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเรื่องราวของความอ้วนในสัตว์เลี้ยง และการใช้โภชนบำบัดเข้าช่วยในการควบคุมน้ำหนักของน้องหมาน้องแมว
Q : สัญญาณที่บอกว่าสัตว์เลี้ยงอ้วน  

A : "ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ความอ้วนนั้นไม่ใช่เชื้อโรคเพราะฉะนั้นเราไม่เรียกว่าเป็นโรค ความอ้วนในสัตว์จะไม่เหมือนกับคน คือ ในคนเราจะมีโรคอ้วน เช่น ไม่ทานอาหารก็อ้วน ทานอะไรนิดเดียวก็อ้วน แต่ของสัตว์เกิดจากเจ้าของตามใจ สุนัขได้กินอย่างอิสระ ขอคนนั้นทีขอคนนี้ที ทำให้เกิดสภาวะอ้วน"

"โดยทั่วไปแล้ว เราจะมีมาตรฐานน้ำหนักตัวของสุนัขแต่ละพันธุ์ คุณหมอจำเป็นต้องทราบว่า สุนัขแต่ละสายพันธุ์นั้นมีน้ำหนักตัวโตเต็มที่ประมาณเท่าไหร่ เช่น ชิวาว่าจะมีน้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่แล้วประมาณ 2กิโลกรัม ถ้าเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ก็อาจจะมีน้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่มากถึง 30 กิโลกรัม จากนั้นก็จะมีวิธีคำนวณ กล่าวคือ เมื่อไหร่ที่สุนัขมีน้ำหนักตัวมากกว่า 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัวมาตรฐานของพันธุ์นั้นๆ ก็จะจัดว่าสุนัขตัวนั้นอยู่ในสภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน"

"วิธีการที่จะดูว่าสัตว์เลี้ยงอ้วนหรือไม่อีกวิธีก็คือ การให้คะแนนโครงร่าง ซึ่งมีทั้งแบบคะแนนเต็ม 5 และคะแนนเต็ม 9 แต่ที่เราใช้จะเป็นคะแนนเต็ม 5 หมายความว่า ถ้าคะแนนเท่ากับ 3 คือ กำลังดี หุ่นได้มาตรฐาน แต่ถ้า 1 จะหมายถึงผอมมาก มองไปจะเห็นเลยว่าซี่โครงบาน มองเห็นซี่โครงชัดเจน เดินโซซัดโซเซมาอยู่ในสภาวะขาดอาหาร ส่วนตรงกันข้ามถ้าเป็น 5 ก็จะเห็นเลยว่าสุนัขอ้วนชัดเจน ซึ่งถ้าเป็นในต่างประเทศ เขาจะมีอุปกรณ์ต่างๆมากมายในการตรวจดูว่าสัตว์เลี้ยงอ้วนหรือไม่ สามารถคำนวณส่วนที่เป็นไขมันว่ามีเท่าไหร่ ส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อมีเท่าไหร่"

Q : ความอ้วนก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง
A : "โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะอ้วนจะมาพร้อมกับอายุของสัตว์เลี้ยงที่มากขึ้น ยิ่งถ้าไปทำหมัน น้ำหนักตัวก็จะขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะความขยันลดลง ชอบนอนมากขึ้นในขณะที่กินเท่าเดิม เช่นนี้เมื่อน้ำหนักตัวมากขึ้นก็จะทำให้ข้อต่อกระดูก ข้อสะโพก ข้อขา ก็ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นตามไปด้วย


จนนำไปสู่ปัญหาในการคลอดลูกสำหรับสุนัขเพศเมีย เพศผู้อาจจะพบในเรื่องของปัญหาในการขับถ่าย อาจจะเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ต่อมไทรอยด์ ความอ้วนยังเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดความผิดปกติอีกหลายอย่างตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ"


Q : แล้วโภชนบำบัดช่วยสัตว์เลี้ยงได้อย่างไร


A : "โภชนบำบัดสำหรับสัตว์เลี้ยงนั้น บางคนก็มองว่าเป็นความผิดปกติ แต่บางคนก็ไม่ได้มองว่าเป็นความผิดปกติ เช่น ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน รวมไปถึงในสัตว์ป่วยเป็นโรคบางโรค เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ หรือแม้แต่โรคมะเร็ง ซึ่งมีผลต่อสรีระร่างกายของสัตว์"

"โภชนบำบัดจะใช้หลักการเดียวกันกับชีวจิต หรือเราจะเรียกว่าการแพทย์ทางเลือก คือเวลาที่สัตว์เลี้ยงมาที่คลินิก นอกจากจะได้รับการรักษาทางยาแล้ว การจัดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของอาหารจะช่วยชะลอวิวัฒนาการของโรคหรือช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรคได้ จะเห็นว่าทุกวันนี้มีอาหารที่ใช้ร่วมกับการบำบัดโรค เช่น โรคไต หรือสัตว์ที่มีสภาวะเป็นนิ่วชนิดต่างๆ รวมทั้งอาหารสำหรับสัตว์ที่เพิ่งฟื้นไข้ และอาหารที่เสริมสารบางอย่างเพื่อช่วยในเรื่องการทำงานของข้อต่อกระดูก"

"พูดโดยย่อโภชนบำบัดก็คือ การนำการจัดการ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอาหารเข้ามาช่วยประกอบร่วมกันกับการรักษาโรค แต่จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาหารในที่นี้ไม่ได้เป็นยา แต่จะเป็นการปรับแปลงเปลี่ยนเพิ่ม หรือลดอาหารบางชนิดจนสามารถช่วยให้สัตว์มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เจ็บป่วยทุกข์ทรมานน้อยลง หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"
Q : เช่นนี้จะอ้วนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของสัตว์เลี้ยงเป็นสำคัญ?

A : "ใช่ เราจะคุยกับเจ้าของสัตว์ เพราะเราต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าของสัตว์เป็นหลัก การที่จะลดน้ำหนักของสัตว์เลี้ยง ความร่วมมือและความตั้งใจจริงจากเจ้าของสัตว์เป็นสิ่งสำคัญ เจ้าของรับปากแล้ว เจ้าของทำได้ไหม บางคนเลี้ยงแบบใกล้ชิด พอตักข้าวเข้าปาก น้องหมาก็มานั่งมอง กลัวว่าถ้าไม่ให้น้องหมาจะไม่รัก จะงอน จะน้อยใจก็เลยแอบให้ อันนี้คือปัญหาหลัก ตรงนี้ถ้าสุนัขไม่ได้มีปัญหาสุขภาพด้านอื่นมาเกี่ยวข้อง เจ้าของก็อาจจะไม่ให้ความร่วมมือเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราบอกว่า น้ำหนักตัวเกินนะ ต้องลดน้ำหนัก ไม่เช่นนั้นเขาจะมีปัญหาเรื่องข้อสะโพก อาจจะต้องมาผ่าตัด ตรงนี้ก็จะได้รับความร่วมมือมากขึ้น"

"แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นปัญหา เจ้าของว่าจะทำ แต่ก็ให้เพราะคิดว่านิดเดียวเอง ไม่น่ามีปัญหา แต่จริงๆแล้วมันมีผล เพราะเวลาที่เราวางโปรแกรมให้อาหาร เรามีการคำนวณแล้วว่าสุนัขและแมวต้องการพลังงานเท่าไหร่ ต้องการอาหารเท่าไหร่ในแต่ละวัน หลักการของการลดน้ำหนักก็คือ พลังงานที่สัตว์ได้รับจะต้องน้อยกว่าพลังงานที่สัตว์จะใช้ พอเราคำนวณไปแล้วและเจ้าของไปเพิ่มปริมาณอาหารให้

นอกจากร่างกายจะไม่ได้ดึงส่วนเกินหรือไขมันมาใช้แล้ว ยังมีของใหม่เข้าไปเพิ่มอีก เพราะฉะนั้นการไม่ประสบความสำเร็จมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มากกว่า อีกอย่างก็คือ ต้องพาสุนัขและแมวไปออกกำลังกายบ้าง เช่น พาไปเดินพาไปวิ่ง แต่เราต้องเข้าใจด้วยว่าเมื่อสุนัขและแมวอ้วน การทนต่อการออกกำลังกายของเขาก็จะน้อยลงไปด้วย"

Q : แนวทางป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงอ้วน
A : "ถ้าเราป้องกันได้ตั้งแต่เริ่มก็จะดีกว่าการปล่อยให้อ้วนแล้วถึงมาลดน้ำหนัก เจ้าของจึงต้องใส่ใจกับอาหารที่จะให้สัตว์เลี้ยงทาน เริ่มตั้งแต่เขายังเด็กเลย ทุกวันนี้อาหารสำเร็จรูปก็มีการออกแบบมาสำหรับสุนัขในแต่ละช่วงวัย หรือแต่ละสายพันธุ์ เจ้าของควรสังเกตจากฉลากว่า ถ้าสัตว์น้ำหนักตัวเท่านี้ต้องให้อาหารปริมาณเท่าไหร่ ตรงนี้จะเป็นค่าเฉลี่ย เป็นค่าโดยคร่าวๆ ถ้าทานแล้วเขาไม่อิ่ม หรือมีน้ำหนักตัวลดลงก็ต้องปรับเพิ่ม แต่ถ้าทานไปแล้วสัตว์มีความตุ้ยนุ้ยขึ้นมาอย่างรวดเร็วก็ต้องปรับลด เจ้าของก็ต้องสังเกตดูด้วย"

"แต้ถ้าเจ้าของมีเวลา และปรุงอาหารให้สุนัขทานเอง ตรงนี้สัตว์เลี้ยงก็จะเสี่ยงต่อการมีภาวะน้ำหนักตัวเกินได้มากกว่า เพราะส่วนใหญ่จะหนีไม่พ้นข้าวแล้วก็เนื้อสัตว์เอามาต้มซึ่งในทางหนึ่งก็ดี เพราะเป็นอาหารสด โดยธรรมชาติ แล้วโดยทั่วไปสุนัขและแมวไม่ค่อยชอบทานน้ำ จนอาจนำมาสู่การเป็นนิ่ว หรือโรคไต อาหารปรุงเองจะมีน้ำปนอยู่มากพอสมควร แต่อาหารปรุงเองก็มีข้อดีข้อเสีย เพราะปรุงเองก็อาจจะอ้วนง่ายเพราะความน่ากินมีสูง แต่ก็ขาดวิตามินบางอย่าง ขึ้นอยู่กับเจ้าของว่าจะต้องคอยสังเกตน้ำหนักตัวของสุนัขอยู่เรื่อยๆ"


         ผ่านไปแล้วกับเรื่องราวของ "ความอ้วน" ในสัตว์เลี้ยง สุดท้ายแล้วเจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกท่านก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการป้องกันให้สัตว์เลี้ยงของตัวเองอ้วน เช่นนี้ถ้าจะแสดงความรักให้กับเขาด้วยการมอบอาหารและขนมให้กับน้องหมาน้องแมว ก็ควรให้ในปริมาณที่พอดี เลือกอาหารที่เหมาะกับช่วงอายุและสายพันธุ์ของเขา ความอ้วนก็จะไม่มาถามหาสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างแน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลือกพันธุ์และการประมาณอายุแพะ

การเลือกพันธุ์แพะ 


          การที่จะให้การเลี้ยงแพะประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่ง ก็คือพันธุ์แพะที่จะใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ เพราะพ่อ – แม่พันธุ์ ที่ดีหากเลี้ยงอย่างถูกวิธี จะให้ผลผลิตที่ดีด้วย

          การเริ่มต้นในการเลี้ยงแพะ ควรเริ่มจากการเลี้ยงแพะเมืองหรือแพะลูกผสมระหว่างแพะพันธุ์พื้นเมือง กับแพะพันธุ์พื้นเมือง กับแพะพันธุ์ต่างประเทศที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แล้ว เพราะนอกจากจะเลี้ยงดูง่ายแล้วยังลงทุนต่ำอีกด้วย เมื่อมีความรู้และประสบการณ์แล้วก็เริ่มเลี้ยงแพะพันธุ์แท้ ซึ่งอาจจะใช้แต่พ่อพันธุ์แพะที่ดี นำมาผสมพันธุ์กับแม่แพะหรือปรับปรุงพันธุ์แพะในฝูงให้ดีขึ้น

          การเลือกพ่อ – แม่พันธุ์แพะ ที่จะทำการเลี้ยง นั้น พ่อพันธุ์ควร คัดเลือกแพะ ที่มีสายเลือดแพะพันธุ์แท้ รูปร่างสูงใหญ่ น้ำหนักตัวมากที่สุดในฝูงมีความแข็งแรง มีความสมบูรณ์พันธุ์โดยควรคัดพ่อพันธุ์แพะที่เกิดจากแม่แพะที่ให้ลุกแฝดสูง และที่สำคัญคือพ่อพันธุ์แพะควรมีความกระตือรือร้นที่จะทำการผสมพันธุ์กับแม่แพะที่เป็นสัด

          แม่พันธุ์แพะที่จะเลือกควรเป็นแม่พันธุ์ที่มีรูปร่างลักษณะดี ลำตัวยาวเต้านมมีขนาดใหญ่ สมส่วน นิ่ม และหัวนมยาวสม่ำเสมอกัน ปริมาณน้ำนมมาก สามารถผสมติง่ายและให้ลูกแฝด



  การประมาณอายุแพะ 

     การประมาณอายุของแพะสามารถดูได้จากฟันของแพะ แพะมีฟันล่าง 8 ซี่ ฟันแท้ของแพะจะงอกขึ้นมาแทนฟันน้ำนมเป็นคู่ ตั้งแต่อายุ 1 ปี ถึง 4 ปี และหลังจากแพะอายุได้ 4 ปี แล้วฟันแท้จะค่อยๆหลุดไปซึ่งจะเข้าใจมากขึ้นเมื่อดูจากภาพประกอบ

                                                              

                                              อายุประมาณ 13 - 15 เดือน                                    
                               ฟันแท้ซี่กลาง 2 ซี่ งอกขึ้นมาแทนฟันน้ำนม

                                          

                                                  อายุประมาณ 18 - 21 เดือน
                       ฟันแท้อีก 2 ซี่ งอกเพิ่มขึ้นมาแทนฟันน้ำนม รวมเป็นฟันแท้ 4 ซี่


                                          



                   อายุประมาณ 22 - 26 เดือน ฟันแท้อีก 2 ซี่งอกเพิ่มขึ้นมาแทนฟันน้ำนม
                       รวมเป็นฟันแท้ 6 ซี่ จึงเหลือฟันน้ำนม 2 ซี่อยู่ด้านข้าง ข้างละ 1 ซี่

                                          



                                                อายุประมาณ 27 - 32 เดือน
                                                   แพะจะมีฟันแท้ทั้ง 8 ซี่

        

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พันธุ์แพะ

พันธุ์แพะ
          1.แพะพื้นเมืองในประเทศไทย มีหลายพันธุ์ด้วยกัน แพะทางแถบตะวันตก เช่น ที่จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแพะท่าจากประเทศอินเดีย หรือปากีสถานมีรูปร่างใหญ่กว่าแพะทางใต้ ส่วนแพะทางใต้ของประเทศไทย มีขนาดเล็กเข้าใจกันว่ามีสายพันธุ์เดียวกับแพะพื้นเมืองของมาเลเซีย คือพันธุ์แกมบิงกัตจัง แพะพื้นเมืองทางใต้มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 20-25 กิโลกรัม ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนมต่ำ






        2.แพะพันธุ์ต่างประเทศ เนื่องจากแพะพื้นเมืองของประเทศไทย มีขนาดเล็ก ให้ผลผลิตต่ำ กรมปศุสัตว์มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงพันธุ์แพะของประเทศไทยให้มีคุณภาพสูงขึ้น ให้แพะเป็นสัตว์ที่ให้ทั้งผลผลิตทั้งเนื้อและนม ดังนั้น จึงได้นำแพะพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ให้เกษตรกรนำไปผสมพันธุ์กับแพะพื้นเมือง เพื่อให้คุณภาพของแพะดีขึ้น สำหรับแพะพันธุ์ต่างประเทศที่กรมปศุสัตว์นำเข้ามาขยายพันธุ์ ได้แก่


 2.1 แพะพันธุ์ซาเนน เป็นแพะนมที่มีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตนมสูงกว่าแพะพันธุ์อื่นๆ แพะพันธุ์นี้มีขนสั้น ดั้งจมูกและใบหน้ามีลักษณะตรง ใบหูเล็กและตั้งชี้ไปข้างหน้า ปกติจะไม่มีเขาทั้งในเพศผู้และเพศเมีย แต่เนื่องจากมีแพะกระเทยในแพะพันธุ์นี้มาก จึงควรคัดเฉพาะแพะที่มีเขาไว้เป็นพ่อพันธุ์ เพราะมีรายงานว่าลักษณะกระเทยมีความสัมพันธ์ทางพันธุ์กรรมอยู่กับลักษณะของการไม่มีเขา แพะพันธุ์นี้มีสีขาว สีครีม หรือสีน้ำตาลอ่อนๆน้ำหนักโตเต็มที่ประมาณ 60 กิโลกรัม สูงประมาณ 70-90 เซนติเมตร ให้น้ำนมประมาณวันละ 2 ลิตร ระยะเวลาการให้นมนานถึง 200 วัน มีหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เลี้ยงแพะพันธุ์นี้อยู่มาก เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทย แต่ก็มีปัญหาเพราะว่าแพะพันธุ์นี้ปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศในแถบนี้ไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้าหากเลี้ยงแพะพันธุ์นี้ไว้ในลักษณะขังคอกตลอดเวลา ก็จะทำให้ปัญหาเรื่องเจ็บป่วยลดลงให้ผลผลิตดี 





          2.2 แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน กรมปศุสัตว์นำเข้ามาเลี้ยงขยายพันธุ์กว่า 20 ปีแล้ว เพื่อปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แพะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ น้ำหนักตัว มีน้ำหนักแรกเกิด 2-5 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม ( 3 เดือน ) 15 กิโลกรัม ดั้งจมูกมีลักษณะโด่งและงุ้ม ใบหูยาวและปรกลง ปกติแพะพันธุ์นี้จะไม่มีเขา แต่ถ้าหากมีเขาเขาจะสั้นและเอนแนบติดกับหนังหัว ขนสั้นละเอียดเป็นมัน มีขายาวซึ่งช่วยให้เต้านมอยู่สูงกว่า ระดับพื้นมากและทำให้ง่ายต่อการรีดนม และยังช่วยให้เต้านมไม่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากหนามวัชพืชเกี่ยว แพะพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น ดำ เทา ครีม น้ำตาล น้ำตาลแดง และมีจุดหรือด่างขนาดต่างๆได้ผลผลิตน้ำมันประมาณ 1.5 ลิตรต่อวัน ระยะเวลาให้น้ำนมประมาณ 165 วัน


       2.3 แพะพันธุ์เบอร์ กรมปศุสัตว์นำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นแพะเนื้อขนาดใหญ่ ลักษณะเด่น คือมีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก มีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 65 กิโลกรัม






พันธุ์ซาเนน                                   พันธุ์แองโกลนูเบียน                          พันธุ์บอร์

การเลี้ยงแพะ

  ลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะโดยทั่วไปสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 แบบด้วยกัน คือ


     1. การเลี้ยงแบบผูกล่าม การเลี้ยงแบบนี้ใช้เชือกผูกล่ามที่คอแพะแล้วนำไปผูกให้แพะหาหญ้ากินรอบบริเวณที่ผูก โดยปกติเชือกที่ใช้ผูกล่ามแพะมักมีความยาวประมาณ 5-10 เมตร การเลี้ยงแบบนี้ผู้เลี้ยงจะต้องมีน้ำและอาหารแร่ธาตุไว้ให้แพะกินเป็นประจำด้วย ในเวลากลางคืนก็ต้องนำแพะกลับไปเลี้ยงไว้ในคอกหรือเพิงที่มีที่หลบฝน การผูกล่ามแพะควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาที่แพะสามารถหลบแดดหรือฝนไว้บ้าง หากจะให้ดีเมื่อฝนตกควรได้นำแพะกลับเข้าเลี้ยงในคอก



   2.การเลี้ยงแบบปล่อย การเลี้ยงแบบปล่อยนี้เกษตรกรมักปล่อยแพะให้ออกหากินอาหารใน เวลากลางวัน
โดยเจ้าของจะคอยดูแลตลอดเวลา หรือเป็นบางเวลาเท่านั้นลักษณะ การเลี้ยงแบบนี้ที่นิยมเลี้ยงกันมากในบ้านเรา
เพราะเป็นการเลี้ยงที่ประหยัด เกษตรกรไต้องตัดหญ้ามาเลี้ยงแพะ การปล่อยแพะหาอาหารกินอาจปล่อยในแปลงผัก
หลังการเก็บเกี่ยวหรือปล่อยให้กินหญ้าในสวนยาง แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้แพะเที่ยวทำความเสียหายให้แก่
พืชเกษตรกรเพาะปลูก ทั้งนี้เพราะแพะกินพืชได้หลายชนิด การปล่อยแพะออกหากินอาหารกินไม่ควรปล่อยเวลาที่
แดดร้อนจัดหรือฝนตก เพราะแพะอาจจะเจ็บป่วยได้ โดยปกติเกษตรกรมักปล่อยแพะหากินอาหาร ตอนสายแล้ว
ไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเที่ยง หรือปล่อยแพะออกหากินอาหารกินตอนบ่ายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเย็น หาก
พื้นที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์แพะจะกินอาหารเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว




  3.การเลี้ยงแบบขังคอกการเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรขังแพะไว้ในคอกรอบๆ คอกอาจมีแปลงหญ้าและรั้วรอบแปลงหญ้าเพื่อให้แพะได้อออกกินหญ้าในแปลง บางครั้งเกษตรกรต้องตัดหญ้าเนเปียร์หรือกินนีให้แพะกินบ้างนคอกต้องมีน้ำและอาหารข้นให้กิน การเลี้ยงวิธีนี้ประหยัดพื้นที่และแรงงานในการดูแลแพะ แต่ต้องลงทุนสูง เกษตรกรจึงไม่นิยมทำการเลี้ยงกัน




4. การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช การเลี้ยงแบบนี้ ทำการเลี้ยงได้ 3 ลักษณะ ที่กล่าวข้างต้น แต่การเลี้ยงลักษณะนี้เกษตรกร จะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมันและปลุกมะพร้าว ในภาคใต้ของประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากที่ทำการเลี้ยงแพะควบคู่ไปกับการทำสวนยาง โดยให้แพะหากินหญ้าใต้ยางที่มีขนาดโตพอสมควร การเลี้ยงแบบนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการเพาะปลูกเพียงอย่างเดียว





        1.พื้นที่ตั้งของคอก คอกแพะควรอยู่ในที่เนินน้ำไม่ท่วมขัง แต่ถ้าหากพื้นที่ที่ทำการเลี้ยงแพะมีน้ำท่วมขังเวลาฝนตก ก็ควรสร้างโรงเรือนแพะให้สูงจากพื้นดินตามความเหมาะสม แต่ทางเดินสำหรับแพะขึ้นลงไม่ควรมีความสูงลาดสูงกว่า 45 องศา เพราะหากสูงมากแพะจะไม่ค่อยขึ้นลง พื้นคอกที่ยกระดับจากพื้นดินควรให้เป็นร่อง โดยใช้ไม้หนาขนาด 1 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ปูพื้นให้เว้นร่องระหว่างไม้แต่ละอันห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้พื้นคอนกรีต โดยปูพื้นคอกแพะด้วยสแลตที่ปูพื้นคอกสุกรก็ได้ พื้นที่เป็นร่องนี้จะทำให้มูลของแพะตกลงข้างล่าง พื้นคอกจะแห้งและสะอาดอยู่เสมอ





        2.ผนังคอก ผนังคอกแพะควรสร้างให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ผนังคอกควรความสูงไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้แพะ กระโดดหรือปีนข้ามออกไปได้


        3.หลังคาโรงเรือน แบบของหลังคาโรงเรือนเลี้ยงแพะมีหลายแบบ เช่น เพิงหมาแหงน หรือ แบบหน้าจั่ว เกษตรกรที่จะสร้างควรเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และทุนทรัพย์ หลังคาโดยปกติมักจะสร้างให้สูงจากพื้นคอกประมาณ 2 เมตร ไม่ควรสร้างโรงเรือนให้หลังคาต่ำเกินไป เพราะอาจจะทำให้ร้อนและอากาศถ่ายเทไม่ดี สำหรับวัสดุที่ใช้มุงหลังคาจะใช้จาก หรือแฝก หรือสังกะสีก็ได้


        4.ความต้องการพื้นที่ของแพะ แพะมีความต้องการพื้นที่ในการอยู่อาศัยในโรงเรือนประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือนประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือนออกเป็นคอกๆแต่ละคอกขังแพะรวมฝูงกันประมาณ 10 ตัว โดยคัดขนาดของแพะ ให้ใกล้เคียงกันขังรวมฝูงกัน แต่ถ้าหากเห็นว่าสิ้นเปลืองค่าก่อสร้างก็อาจขังแพะรวมกันเป็นฝูงใหญ่ในโรงเรือนเดียวกัน โดยแบ่งเป็นคอกๆก็ได้


        5.รั้วคอกแพะ เกษตรกรบางรายเลี้ยงแพะไว้ในโรงเรือนและมีบริเวณสำหรับให้แพะเดินรอบโรงเรือน บริเวณเหล่านี้จะทำรั้วล้อมรอบป้องกันไม่ให้แพะออกไปภายนอกได้ รั้วที่ล้อมรอบโรงเรือนแพะไม่ควรใช้ลวดหนามเป็นวัสดุ เพราะแพะเป็นสัตว์ซุกซน อาจได้รับอันตรายจากลวดหนามได้ รั้วควรจะสร้างด้วยไม้ไผ่หรือลวดตาข่าย ทุกระยะ 3-4 เมตร จะมีเสาปักเพื่อยึดให้รั้วแข็งแรง หากจะสร้างรั้วให้ประหยัดอาจใช่กระถินปลูกเป็นแนวรั้วปนกับใช้ไม้ไผ่ก็จะทำให้รั้วไม้ไผ่คงทนและใช้งานได้นาน โดยระยะแรกสร้างรั้วไม้ไผ่แล้วปลูกกระถินเป็นแนวข้างรั้วไผ่ เมื่อกระถิ่นโตขึ้นก็จะเป็นรั้วทดแทนต่อไป






วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

การผสมพันธุ์ปลาดุก(ผสมเทียม)

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย 
1. การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย


 ควรเลี้ยงในบ่อดินที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป โดยปล่อยในอัตรา 20-30 ตัว/ตรม. ที่ระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร ควรมีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี และพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของปลาให้มีไข่และน้ำเชื้อดียิ่งขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน
ฤดูกาลผสมพันธุ์ปลาดุก จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม- ตุลาคมก่อนฤดูกาลผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ควรเริ่มคัดปลาที่มีไข่แก่สมบูรณ์บางส่วนมาเริ่มดำเนินการผสมเทียม.
2. การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย


พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่นำมาใช้ควรเป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ และควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป การสังเกตลักษณะปลาเพศเมียที่ดีในการเพาะพันธุ์ดูได้ จากส่วนท้องจะอูมเป่ง ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ติ่งเพศจะมีลักษณะกลมมีสีแดง หรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบา ๆ ที่ท้องจะมีไข่ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีน้ำตาลอ่อนใสไหลออกมา ส่วนปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียว มีสีชมพูเรื่อ ๆ ปลาไม่ควรมีขนาดอ้วนหรือผอมจนเกินไป ขนาดพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุก ควรมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 200 กรัมขึ้นไป หรือปลาที่มีอายุประมาณ 7-8 เดือน หรือ 1 ปี ให้อาหารที่มีคุณภาพดี เพื่อให้มีไข่แก่ จะใช้เวลา 3-4 เดือน มีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลาถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ส่วนปลาดุกเทศเพศผู้นิยมใช้ ขนาดน้ำหนักตัวมากกว่า 500 กรัมขึ้นไป และควรเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ลำตัวเพรียวยาวและไม่อ้วนจนเกินไป

3. อุปกรณ์และวิธีการผสมเทียม
3.1. พ่อ-แม่พันธุ์ปลา
3.2. ฮอร์โมนต่อมใต้สมองปลา หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ
3.3. โกร่งบดต่อมใต้สมอง
3.4. เข็มฉีดยา
3.5. เครี่องชั่งน้ำหนัก สามารถชั่งได้ถึงจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
3.6. ภาชนะสำหรับผสมไข่ปลากับน้ำเชื้อ ได้แก่ กะละมังพลาสติก และขนไก่
3.7. น้ำเกลือและน้ำกลั่น
3.8. อุปกรณ์ในการกกไข่ปลา เช่น กระชัง อวนมุ้งเขียว
3.9. อุปกรณ์ในการอนุบาลลูกปลา


4. ชนิดและวิธีการฉีดฮอร์โมน ฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกมีไข่แก่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อนั้นมีหลายชนิดซึ่งสามารถแยกได้ ดังนี้
4.1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ได้แก่ ต่อมใต้สมองปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ต่อมใต้สมองปลาจีน ปลาโรฮู่ ปลาสวาย ปลาไน เป็นต้น มีหน่วยความเข้มข้นคือโดส ซึ่งมีสูตรการคำนวณ คือ



จำหน่ายพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย

การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองจะต้องฉีดสองครั้ง ครั้งแรกฉีดที่ระดับความเข้มข้น 1 โดส ทิ้งระยะห่าง 6 ชั่วโมง จึงฉีดครั้งที่สองที่ระดับความเข้มข้น 2 โดส หลังจากนั้นประมาณ 9 - 10 ชั่วโมง เมื่อสังเกตเห็นว่ามีไข่ตกออกมาจากช่องท้องของแม่ปลาบางตัวแล้ว จึงรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ สามารถไข้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุก โดยไข้ความเข้มข้นของฮอร์โมนได้เช่นเดียวกับการฉีดปลาดุกอุย แต่ระยะเวลาการรีดไข่หลังการฉีดเข็มสองจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งต่างจากปลาดุกอุย 5-6 ชั่วโมง
การใช้ต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่ อาจใช้ร่วมกับฮอร์โมนสกัดเพื่อให้การฉีดไข่สะดวกขึ้น โดยใส่ฮอร์โมนสกัดในระดับความเข้มข้น 100-300 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใช้ต่อมใต้สมองในอัตราเท่าเดิม
ส่วนปลาเพศผู้สามารถกระตุ้นให้มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยใช้ต่อมใต้สมองที่ระดับความเข้มข้น 0.5 โดส ฉีดให้กับพ่อปลาพร้อมกับการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ปลาครั้งที่สอง
4.2. ฮอร์โมนสกัด (Extract hormone) ได้แก่ เอช ซี จี HCG (Human chorionic Gonadotropin) มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไอ.ยู. (l.U. - lnternational unit)
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCE) สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 3,000-5,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสกัดเป็นเวลาประมาณ 15 -16(1/2) ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCG) ฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวเหมือนกับปลาดุกอุยที่ระดับความเข้มข้น 2,000 -4,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนเป็นเวลาประมาณ 9(1/2) - 11 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมเทียมได้
ในเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสกัดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 200 - 400ไอยู/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ประมาณ 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าเอาถุงน้ำเชื้อออกมาไข้ในการผสมเทียม
4.3. ฮอร์โมนสังเคราะห์ (Synthetic hormone) ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไมโครกรัม (ug) ซึ่งในการฉีดกับปลาดุกต้องใช้ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบการหลั่งฮอร์โมนคือ โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium) ซึ่งมีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (mg) ขนาดที่มีขายโดยทั่วไปคือ เม็ดละ 1O มิลลิกรัม
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยไข้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกอุยมีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 20-30 ไมโครกรัมแม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/ แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์นี้เป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกเทศมีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัม / แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
ในปลาเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 5 ไมโครกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ก่อนผ่าถุงน้ำเชื้อประมาณ 10 ชั่วโมง

5. ปริมาณสารละลายที่ใช้
หลังจากที่เตรียมฮอร์โมนที่จะฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกแล้ว การคำนวณสารละลายที่จะผสมกับฮอร์โมนเพื่อฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเป็นเรื่องที่ควรคำนึง คือ จะต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดเติมในปริมาณที่เหมาะสม โดยการฉีดปลาดุกขนาด 200-500 กรัม จะใช้ปริมาณสารละลายผสมแล้ว ประมาณ 0.3-0.7 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 500-2,000 กรัม ควรใช้ปริมาณสารละลายผสมประมาณ 0.4 -1.2 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 2,000 กรัมขึ้นไปใช้ สารละลายประมาณ 1.0-2.5 ซีซี
6. ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน
การฉีดฮอร์โมนปลาดุกนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 22-24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว/(2 เซนติเมตร)
ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครั้งที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรกหลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุก แล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก
ตำแหน่งที่เหมาะสมในการฉีดฮอร์โมน คือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว
ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครังที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรก หลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุกแล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก

ชนิดและปริมาณต่อมใต้สมองในการฉีดกระตุ้นให้ปลาดุกอุยวางไข่

ชนิดต่อม ฉีดครั้งที่ 1 (โดส) ฉีดครั้งที่ 2 (โดส) 
ปลาสวาย 1.5 2.5 
ปลาจีน 1 2 
ปลาไน 0.8 1.8 

7. การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ
การรีดไข่ของปลาดุกเพื่อผสมกับน้ำเชื้อนั้นใช้วิธีกึ่งเปียก เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด นำแม่ปลาที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนและมีไข่แก่เต็มที่แล้วมารีดไข่ใส่ในภาชนะผิวเรียบ เช่น กะละมังเคลือบ พร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียว แล้วขยี้ให้ละเอียดพร้อมกับเทน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 0.7 % หรือน้ำสะอาดลงบนผ้ามุ้งเขียวที่ขยี้ถุงน้ำเชื้อให้น้ำไหลผ่านเพื่อให้น้ำเชื้อลงไปผสมกับไข่ ผสมไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากันโดยการคนเบา ๆ ด้วยขนไก่ประมาณ 2-3 นาที จึงนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไปล้างน้ำสะอาด 1 ครั้ง แล้วนำไปฟัก
น้ำเชื้อจากปลาตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับไข้ที่ได้จากการรีดปลาเพศเมียประมาณ 10 ตัว


การรีดไข่จากแม่ปลาดุกอุย

ผ่าท้องพ่อพันธุ์เพื่อเอาถุงน้ำเชื้อ


ผสมน้ำเชื้อกับไข่

คนให้น้ำเชื้อและไข่ผสมกันอย่างทั่วถึง

8. การฟักไข่
ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลม มีน้ำตาลเข้ม ไข่ของปลาดุกเทศก็เป็นไข่ติด เช่นเดียวกับปลาดุกอุย ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลมและมีสีเขียวเข้ม นำไข่ปลาดุกที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วไปฟัก โดยโรยไข่บนผ้ามุ้งเขียวเบอร์ 20 ที่ขึงตึงที่ระดับต่ำกว่าผิวน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยระดับน้ำในบ่อที่ขึงผ้ามุ้งเขียวนั้นมีระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและควรมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อกกไข่ปลาด้วย ไข้ปลาดุกที่ได้รับการผสมจะพัฒนาและฟักเป็นตัวโดยใช้เวลาประมาณ 21-26 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 28-30 องศาเซลเซียส ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัว จะหลุดลอดตาของมุ้งเขียวลงสู่พื้นก้นบ่อด้านล่าง หลังจากลูกปลาหลุดลอดลงสู่พื้นก้นบ่อหมดแล้วจึงย้ายผ้ามุ้งเขียวที่ใช้ฟักไข่ออกจากบ่อฟักจะใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง ลูกปลาจะค่อย ๆ พัฒนาเจริญขึ้นเป็นลำดับจนมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมง จึงเริ่มกินอาหาร บ่อเพาะฟักลูกปลาดุกควรมีหลังคาปกคลุมป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้แม่ปลาขนาดประมาณ 1 กิโลกรัม จะได้ลูกปลาประมาณ 5,000 -20,000 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดแม่ปลา

พันธุ์โคนม



     โคนมจัดเป็นสัตว์กระเพาะรวม หรือ สัตว์เคี้ยวเอี้อง (Ruminant) สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามแหล่งกำเนิด ได้แก่
1.โคนมในเขตหนาว (Bos taurus) เป็นโคที่มีถิ่นเกิดในเขตหนาว หรือมักเรียกว่าโคยุโรป ลักษณะทั่วไป แนวสันหลังเรียบตรง ไม่มีโหนก มีขนค่อนข้างยาว ใบหูสั้นปลายมน ตัวอย่างพันธุ์โคนมในกลุ่มนี้ ได้แก่ พันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน, พันธุ์บราวสวิส, พันธุ์เจอร์ซี่ และพันธุ์เรดเดน เป็นต้น
ลักษณะเด่นทั่วไป เป็นโคที่ให้ผลผลิตน้ำนมสูงเหมาะสำหรับการเลี้ยงในเชิงธุรกิจเพื่อรีดนมจำหน่าย
ลักษณะด้อยทั่วไป ไม่ทนต่ออากาศร้อน อ่อนแอต่อโรคแมลงในเขตร้อนโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับพยาธิในเลือด ที่มีเห็บและแมลงดูดเลือดเป็นพาหะนำโรค เช่น โรคอะนาพลาสโมซีส (Anaplasmosis), โรคไข้เยี่ยวแดง (Babesiosis), โรคไทเลอริโอซีส (Theileriosis) และโรคทริปปาโนโซเมียซีส (Trypanosomiasis)
2.โคนมในเขตร้อน (Bos indicus) เป็นโคที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน หรือ มักมักจะเรียกว่าโคอินเดีย บางครั้งมักเรียกรวม ๆ ว่าโคซีบู (Zebu) ลักษณะทั่วไปมีโหนกที่หลัง มีเหนียงหย่อนยานใต้คอ โครงร่างมีขนาดเล็ก ขนค่อนข้างสั้น ผิวหนังค่อนข้างหย่อนย่นทำให้กระตุกไล่แมลงได้ดี ตัวอย่างพันธุ์โคในกลุ่มนี้ ได้แก่  พันธุ์ซาฮิวาล (Sahiwal), พันธุ์เรดซินดี้ (Red Sindhi) เป็นต้น
ลักษณะเด่นทั่วไป เป็นโคทนทานต่ออากาศร้อน ตลอดจนแมลงและโรคพยาธิในเลือด
ลักษณะด้อยทั่วไป ผลผลิตน้ำนมต่ำ ระยะรีดนมสั้น อั้นนมต้องใช้ลูกโคกระตุ้นจึงปล่อยน้ำนม รีดนมยาก มักเตะขณะรีดนม   จึงไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงในเชิงธุรกิจเพื่อรีดนมจำหน่าย แต่เหมาะสำหรับเลี้ยงเพื่อรีดนมกินในครัวเรือน



พันธุ์โคนม
 พันธุ์โฮลสตน์ฟรีเชียน หรือพันธุ์ขาว - ดำ (Holstein - Friesian)
 พันธุ์เรดเดน (Red Dane)
 พันธุ์บราวสวิส (Brown Swiss)
 พันธุ์เจอร์ซี่ (Jersey)
 พันธุ์เรดซินดี (Red Sindhi)
 พันธุ์ซาฮิวาล (Sahiwal)


พันธุ์โคนมที่เลี้ยงในประเทศไทย
 พันธุ์ไทยฟรีเชียน (Thai Friesian)
 พันธุ์ ที เอ็ม แซด (Thai Milking Zebu)
 พันธุ์โฮลสตน์ฟรีเชียน หรือพันธุ์ขาว - ดำ (Holstein - Friesian)
 พันธุ์ซาฮิวาล (Sahiwal)
สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาในการคัดเลือกพันธุ์โคนม

 พันธุ์โฮลสตน์ฟรีเชียน หรือพันธุ์ขาว - ดำ (Holstein - Friesian)

พันธุ์เรดเดน (Red Dane)


พันธุ์บราวสวิส (Brown Swiss
 พันธุ์เจอร์ซี่ (Jersey)
 พันธุ์เรดซินดี (Red Sindhi)
พันธุ์ซาฮิวาล (Sahiwal)
พันธุ์ไทยฟรีเชียน (Thai Friesian)
พันธุ์ ที เอ็ม แซด (Thai Milking Zebu


1.รูปร่างและสี โคแต่ละพันธุ์จะมีรูปร่างและสีเฉพาะ และแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น โคพันธุ์โฮลสไตน์ จะมีสีขาวดำ รูปร่างสูงกว่าพันธุ์เจอร์ซี่ ซึ่งมีสีเหลืองออกน้ำตาล ซึ่งรูปร่างลักษณะและสีนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้น้ำนม แต่อาจมีความสัมพันธ์ทางความพอใจของผู้เลี้ยง
2.ขนาดของพันธุ์ มีความสัมพันธ์ทางการให้นม ถ้าเป็นโคพันธุ์เดียวกัน โคขนาดใหญ่ปกติจะให้นม มากกว่าขนาดเล็ก
3.จำนวนนมที่โคให้ได้ โคแต่ละพันธุ์ให้นมได้เฉลี่ยไม่เท่ากัน โคพันธุ์โฮลสไตน์จะให้นมมากกว่าพันธุ์อื่นๆ รองลงมาคือพันธุ์บราวสวิส เรดเดน พันธุ์เจอร์ซี่มีขนาดเล็กให้นมน้อย และโคพันธุ์อินเดียให้นมน้อยกว่าพันธุ์ยุโรป
4.เปอร์เซนต์ไขมันและส่วนประกอบอื่นๆ โคที่ให้นมน้อยมักจะไขมันนมสูง นอกจากนี้ยังอาจพิจารณาถึงส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น โปรตีน ขนาดของเม็ดไขมัน และสีของเม็ดไขมัน
5.การให้เนื้อ ความต้องการใช้เนื้อปัจจุบันมีมาก และนิยมใช้ตัวผู้จากฝูงโคนมมาเลี้ยงเป็นโคเนื้อ ถ้าเลือกพันธุ์ ที่มีขนาดใหญ่และให้เนื้อมาก และมีคุณสมบัติทางการให้นมดีด้วยก็จะให้ประโยชน์เต็มที่ทั้งโคตัวเมียและตัว ผู้ เช่น พันธุ์โฮลสไตน์ บราวสวิส เรดเดน
6.ความทนทาน ในเมืองไทยซึ่งเป็นประเทศร้อนและมีแมลงมาก ความทนทานต่ออากาศร้อนและแมลงนี้ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญต่อการเลี้ยงในประเทศไทย
7.ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โคบางพันธุ์ตื่นตกใจง่าย หรือมีสิ่งผิดปกติในคอกที่เลี้ยง ซึ่งมีผลไปถึงการให้น้ำนมด้วย โคอินเดียจะไม่ยอมปล่อยน้ำนมหรือหยุดนมเมื่อไม่ให้ลูกดูดนมก่อนรีด โคพันธุ์เจอร์ซี่ จะต้องกระตุ้นเร้าเต้านมก่อนรีด เป็นต้น











วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

การผสมเทียมปลาบึก


ปลาบึก (อังกฤษ: Mekong Giant Catfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาว เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก
ปลาบึกถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pangasinodon[1] ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า
อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ
ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็นปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ปลาบึกถือเป็นอาหารที่ราคาสูงในประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ปลาบึกมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช"
ปลาบึกที่มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม โดยกรมประมงสามารถผสมเทียมและได้ลูกออกมานำไปปล่อยไปในแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศ อาทิเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา[2], บ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม[3] เป็นต้น




http://www.youtube.com/watch?v=A-pO5pocGQk

การผสมเทียมวัว



http://www.youtube.com/watch?v=2xdh_pyZCFg&feature=related

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

เกษตรสมหวัง(msu)




http://www.youtube.com/watch?v=SAO2BxwOEkw

COWboyควงปืน



http://www.youtube.com/watch?v=yr4vXuidavU

โชว์การตีแซ่



http://www.youtube.com/watch?v=6y38ryM0u9U&feature=relmfu

ล้มวัวมือเปล่า



http://www.youtube.com/watch?v=4O8gQNAgp08&feature=related

การล้มโค



http://www.youtube.com/watch?v=2icXIwSIC3w

การเลี้ยงหมูหลุม

ชื่อเทคโนโลยี : การเลี้ยงหมูหลุมแบบเกษตรธรรมชาติ  
การเลี้ยงหมูหลุม เป็นการเลี้ยงสุกรแนวทางธรรมชาติของประเทศเกาหลี โดยมีอาจารย์โชคชัย สารากิจ จากศูนย์เรียนรู้การพัฒนายั่งยืนภาคเหนือ ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เป็นผู้ริเริ่มนำหลักการเลี้ยงสุกรแนวทางธรรมชาติเข้ามาในประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาทำการดัดแปลงวิธีการเลี้ยงให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ประเทศไทย จนมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือ


ประโยชน์ของการเลี้ยง


1. ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 70 %
2. ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกร เนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
3. ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู " ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน"
4. ได้ปุ๋ยอินทรีย์


การสร้างโรงเรือนหมูหลุม


1. ควรสร้างบนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง
2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
3. วัสดุมุงหลังคา เช่น แฝก จาก กระเบื้อง(ขึ้นกับงบประมาณ)
4. พื้นที่สร้างคอก คำนวณจาก จำนวนสุกร 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.2 ตารางเมตร(คอกขนาด 2x3 เมตร เลี้ยงได้ 5 ตัว)


การเตรียมพื้นที่คอกหมูหลุม
1. ขุดดินออกในส่วนพท้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 ซม.
2. ใส่แผ่นไม้หรืออิฐบล๊อค กั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุม สูงประมาณ 1 ฟุต
3. ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย



ขี้เลื่อย หรือแกลบ          100 ส่วน
ดินส่วนที่ขุดออก              10 ส่วน
เกลือ                                 0.5 ส่วน

ผสมขี้เลื่อยหรือแกลบกับดินและเกลือใส่ลงไปเป็นชั้น ๆ สูงชั้นละ 30 ซม. แล้วราดด้วยน้ำหมักชีวภาพลงบนแกลบ ให้มีความชื้นพอหมาด ๆ (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) โรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ ทำจนครบ 3 ชั้น  ชั้นบนสุดโดรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ


4. ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง


การจัดการเลี้ยงดู



การนำลูกหมู ควนมีน้ำหนักตั้งแต่ 15-20 กก.
ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อน หลังจากนั้นเมื่อเป็นหมูรุ่น (น้ำหนัก 30-40 กก.) ค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารผสมพวกรำ  ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
น้ำดื่มให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร น้ำหมักผลไม้ อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
หากขี้เลื่อยหรือกลบยุบตัวลงให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม

สูตรอาหารหมักสำหรับหมูหลุม


วัตถุดิบ
- พืชสีเขียวหรือผลไม้   100 กิโลกรัม
- น้ำตาลทรายแดง           4  กิโลกรัม
- เกลือเม็ด                       1  กิโลกรัม


วิธีการทำ
1. นำผลไม้หรือพืชผักสีเขียวที่เหลือใช้จากครัวเรือนหรือการเกษตร เช่น หยวกกล้วย บอน ปอสา พืชสีเขียวหรือเศษผักต่าง ๆ นำมาสับให้ละเอียด
2. นำน้ำตาลทราบอดงและเกลือเม็ดโรยคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. เอาบรรจุลงในถังหมักโดยให้มีพื้นที่ว่างเหลือ 1 ใน 3 ส่วนของถัง ปิดด้วยกระดาษที่อากาศผ่านเข้าออกได้หมักไว้ 7 วัน ถ้าอากาศร้อน 5 วัน ก็ใช้ได้


วิธีการใช้
               นำส่วนพืชหมักผสมกับรำข้าวอ่อนและปลายข้าวในอัตราส่วน พืชหมัก : รำอ่อน : ปลายข้าว : เท่ากับ  2 : 2 : 1 ให้หมูกินวันละ 2 มื้อ เช้า เย็น


 ส่วนน้ำที่ได้จากการหมักก็นำมารดคอกหมู เพื่อลดกลิ่นหมูได้

ตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี







โรคในโคและกะบือ


ไข้น้ำนม (Milk fever)


โรคนี้มักจะพบในแม่โคที่คลอดลูกตัวที่ 3 (มีลูกมาแล้ว 3 ตัวขึ้นไป) โดยพบอาการป่วยในระยะ 24-27 ชั่วโมงหลังคลอด
สาเหตุ
เกิดจากระดับแคลเซี่ยมในเลือดในระยะหลังคลอดลดลง เนื่องจากฮอร์โมนที่ทำหน้าที่
ดึงแคลเซียมจากกระดูกอยู่ในภาวะเฉื่อยมักพบในโคนมที่อ้วนและให้นมสูง ร่างกายแม่โค ไม่สามารถที่จะดึงแคลเซียมที่สะสมไว้ในร่างกายมาผลิตน้ำนมได้พอเพียง ทำให้เกิดการขาดแคลเซี่ยมอย่างฉับพลันในกระแสเลือด

อาการ
แม่โคมักจะนอนคอพับหันหน้าไปทางสวาบ ขาหลังอ่อน ปลายหูและปลายขาจะเย็น
ม่านตาขยาย หายใจหอบ จมูกแห้ง แม่โคไม่กินอาหาร ระบบย่อยอาหารไม่ทำงาน
ถ้าไม่ได้ทำการรักษาโดยเร็วแม่โคจะตายเนื่องจากอาการท้องอืด หรือจากระบบ
การหายใจล้มเหลว
การรักษา
กรณีสงสัยว่าแม่โคป่วย ด้วยโรคนี้ควรให้แคลเซี่ยมโบโรกลูโคเนต 25% เข้าเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอ (Jugular vein) อย่างช้าๆ ประมาณ 250 ซี.ซี. และอีกประมาณ 200 ซี.ซี.
ฉีดเข้าใต้หนังหลายๆ จุด จุดละประมาณ 50 ซี.ซี. และควรให้สารละลายฟอสฟอรัส เช่น
คาโตซาล โทโนฟอสฟาน หรือฟอสโฟโทนิคฉีดเข้ากล้ามตามไปด้วย นอกจากนี้ควรฉีดวิตามิน AD3E เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยม ซ้ำอีกประมาณ 6 ชั่วโมงต่อมา
โดยทั่วไปแม่โคจะลุกได้เองภายใน 4 ชั่วโมงหลังจากให้ยาครั้งแรก
การป้องกัน
1. ในระยะ 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด ควรลดระดับแคลเซี่ยมในอาหาร เพื่อกระตุ้นให้ฮอร์โมนที่มีหน้าที่ดึงแคลเซี่ยมจากกระดูกมาใช้อยู่ในสภาพ เตรียมพร้อมที่จะนำ
แคลเซี่ยมมาใช้ได้ทันทีในระยะหลังคลอด
2. ไม่ควรให้แม่โคอ้วนเกินไปในระยะพักรีดนม เพราะจะทำให้แม่โคกินอาหารได้น้อยและยังไปลดการดูดซึมแคลเซี่ยมที่ลำไส้ใน ระยะหลังคลอด ทำให้เกิดการขาดแคลเซี่ยมในกระแสโลหิตอย่างกระทันหันได้
3. ควรตรวจดูระดับอัตราส่วนแคลเซี่ยมต่อฟอสฟอรัสในอาหารให้อยู่ในระดับสมดุลย์ (1:1-2:1) ไม่ควรให้เกิน 3:1

โรควัณโรค (Tuberculosis)
วัณโรคเป็นโรคที่ติดต่อเรื้อรัง สามารถติดต่อระหว่างคนกับสัตว์ได้ เชื้อโรคนี้มี
ความทนทานสามารถอยู่ในซากสัตว์ได้หลายสัปดาห์ และสามารถอยู่ในน้ำนมได้ประมาณ 10 วัน
สาเหตุและการแพร่โรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ไมโคแบคทีเรียม โบวิส (Mycobacterium bovis) 
ตัวการที่แพร่โรค คือ คนและสัตว์ที่ป่วย การติดต่อเกิดขึ้นได้หลายทาง คือ 
การหายใจ พบมากที่สุดถึง 70%
การกินน้ำ อาหาร น้ำนม
การสัมผัสทางผิวหนังที่เป็นแผล
ติดต่อจากแม่ที่ป่วยไปยังลูกในท้องโดยผ่านทางสายสะดือ
การผสมพันธุ์
อาการ
สัตว์จะเบื่ออาหารซูบผอมลงเรื่อยๆ ในกรณีที่เกิดขึ้นที่ปอดช่องอก สัตว์อาจจะมีไข้ได้
เล็กน้อย อาการอื่นๆ นอกจากนี้จะขึ้นกับอวัยวะที่เป็น เช่น เกิดวัณโรคที่ปอด สัตว์จะไอในตอนกลางคืนหรือเมื่อทำงานหนัก วัณโรคที่ลำไส้จะมีอาการท้องเสียร่วมด้วย วัณโรคที่ลูกอัณฑะ ลูกอัณฑะจะบวมโต วัณโรคที่เต้านม เต้านมจะอักเสบ วัณโรคที่สมองจะพบว่าสัตว์มีอาการทางประสาท เมื่อชำแหละซากสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะพบตุ่มเป็นก้อนสีเทามันๆ ตรงกลางจะเป็นหนองสีเหลือง หนองแข็ง หรือแบบมีหินปูนแทรกขึ้นกับระยะเวลาที่เป็นโรคตุ่มนี้มักพบตามอวัยวะหรือ ต่อมน้ำเหลือง
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจดูลักษณะอาการทั่วไป : น้ำหนักลด ซูบผอม มีอาการเกี่ยวกับระบบหายใจ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต
การทดสอบทางผิวหนัง เน้นการทดสอบโรคโดยการฉีดสารทูเบอร์คูลินเข้าชั้น
ผิวหนัง ที่บริเวณใต้โคนหาง หรือแผงคอ อ่านผลโดยการวัดความหนาของชั้น
ผิวหนังหลังฉีด 72 ชั่วโมง
การตรวจในห้องปฏิบัติการ เช่น การแยกหาเชื้อแบคทีเรีย การตรวจทาง
จุลพยาธิวิทยา การย้อมสี และการตรวจทางซีรั่มวิทยา การตรวจดีเอ็นเอ 
และอาร์เอ็นเอ
การดูแลรักษาเบื้องต้น
ไม่มียารักษา เมื่อพบสัตว์ป่วยให้แยกออกจากฝูง แล้วทำลาย
การควบคุมและป้องกัน
ควรติดต่อสัตวแพทย์ในท้องที่ให้ทำการทดสอบโค ด้วยวิธีการทดสอบทางผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง
ถ้าพบว่าสัตว์ในฝูงเป็นโรคหรือสงสัยว่าเป็นโรค ควรแยกสัตว์นั้นออกจากฝูงและทำลายสัตว์
ฟาร์มที่เคยมีประวัติการเป็นโรค หรือยังคงมีโรคนี้อยู่ต้องมีการตรวจโรคสม่ำเสมอ และทำการเฝ้าระวังโรค
การนำสัตว์เข้า-ออก จากฟาร์ม ต้องทำการตรวจโรค

แยกหาเชื้อแบคทีเรีย : เก็บวิการแช่เย็น/แช่แข็ง
ตรวจทางจุลพยาธิวิทยา : เก็บวิการแช่ในน้ำยาฟอร์มาลินบัฟเฟอร์ 10%



โรคท้องร่วง (Diarrhea)

ท้องร่วง ท้องเสีย หรือท้องเดิน หมายถึง ภาวะที่สัตว์มีอาการถ่ายอุจจาระบ่อย อุจจาระเหลวมากกว่าปกติ หรือถ่ายเป็นน้ำ เป็นมูกหรือมูกเลือด โรคนี้เกิดได้กับโคทุกอายุ
พบมากในลูกโคและมักจะมีอาการรุนแรง
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่
     1.1 เชื้อแบคทีเรีย ที่สำคัญ ได้แก่ อี คอไล, ซาลโมเนลล่า และ คลอสตริเดียม เพอฟรินเจน (E.coli, Salmonella spp. และ Clostridium perfringens)
เชื้ออี คอไล (E. coli) เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมากที่สุด
     1.2 เชื้อไวรัส ได้แก่ โรทาไวรัส และโคโรนาไวรัส (Rotavirus และ Coronavirus)
     1.3 โปรโตซัว ได้แก่ คอกซิเดีย (Coccidia)
     1.4 เชื้อรา ได้แก่ แอสเปอจิลลัส, มิวเคอ และแคนดิดา (Aspergillus spp., Mucor spp. และ Candida spp.) เป็นต้น
เกิดจากการกินอาหารหรือนม ที่ทำให้ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ โคกินอาหารหรือนมที่มีคุณภาพต่ำ หรือไม่เหมาะสม และการให้อาหารไม่ถูกวิธี เช่น กินอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีวิตามินต่ำ โดยเฉพาะวิตามินเอ อาหารที่ย่อยยาก อาหาร
ที่เป็นพิษ หรือการเปลี่ยนอาหารอย่างกระทันหัน เป็นต้น นอกจากนี้ การขาดธาตุทองแดง ก็ทำให้ท้องเสียได้เช่นกัน สำหรับลูกโค ส่วนมากอาการท้องเสียมักเกิดจากกินนมมากเกินไป กินนมที่เย็นจัด หรือกินอาหารนมที่มีอัตราส่วนของ
คาร์โบไฮเดรทไม่เหมาะสม
กินพืชที่มีพิษหรือสารเคมี เช่น สารหนู ตะกั่ว และทองแดง
อาการท้องร่วงเนื่องจากเป็นโรคอื่น มักเป็นกับโครุ่นอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ได้แก่ โรคโบวายไวรัลไดอะเรีย, มิวโคซัลดิซีส, มาลิกแนน คาทารัล ฟีเวอร์,
พาราทูเบอร์คูโลซีส, แอคคิว แมสไตติส หรือเซพติค เมทไทรติส (Bovine viral diarrhea, Mucosal disease, Malignant catarrhal fever, Paratuberculosis (Johne's disease), Acute mastitis หรือ Septic metritis) เป็นต้น
โรคนี้มักมีสาเหตุโน้มนำ คือ
1. ลุกโคไม่ได้กินนมน้ำเหลืองทันทีหลังคลอด หรือกินได้ไม่เพียงพอ
2. เกิดจากความเครียด ได้แก่ คอกสกปรก ชื้นแฉะ โคอยู่กันอย่างแออัดกระทบกับอากาศเย็นเกินไป
3. เกิดจากการติดเชื้อภายหลังคลอด เช่น สายสะดืออักเสบ ข้ออักเสบ ปอดบวม หรือจากเต้านมที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน
4. การสุขาภิบาลและการจัดการดูแลอื่นๆ ที่ไม่เหมาะสม
อาการ
จำแนกออกตามสาเหตุได้ดังนี้
1. โคไลแบซิลโลซิส (Colibacillosis) เกิดจากเชื้ออี. โคไล (E.coli) เป็นกับลูกโคอายุต่ำกว่า 2 สัปดาห์ มีอาการรุนแรงและอัตราการตายสูง ส่วนใหญ่เกิดกับลูกโคตั้งแต่
แรกเกิดถึง 5 วัน โดยทั่วไปลูกโคจะแสดงอาการทันทีด้วยการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ
มีสีเหลืองปนขาวหรือขาว (White scour) มีเลือดปน กลิ่นเหม็น ซึม มีไข้ ไม่กินอาหาร
มีอาการขาดน้ำ อ่อนเพลีย เบ้าตาลึก ขนหยาบกระด้าง ก้าวเดินไม่ค่อยออก อาจมีอาการปวดท้อง หรืออาการทางประสาทร่วมด้วย ถ้าไม่รักษา หรือเกิดร่วมกับไวรัส จะทำให้
ลูกโคตายภายใน 1-3 วัน ลูกโคที่เป็นอย่างเฉียบพลัน จะตายทันทีโดยไม่แสดงอาการท้องร่วงหรือมีไข้
ในรายที่เป็นเรื้อรังจะซูบผอม ท้องป่อง ท้องเสีย แคระแกรน มักมีอาการปอดบวม (Pneumonia) ข้ออักเสบ (Arthritis) เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) หรือเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) ร่วมด้วย
2. ซัลโมเนลโลซีส (Salmonellosis) เกิดจากเชื้อซัลโมเนลล่า (Salmonella) เป็นกับโคอยุ 2 สัปดาห์ ขึ้นไป อาการแบบรุนแรงมักพบในลูกโค อายุ 2-6 สัปดาห์ สำหรับลูกโคอายุ 2 สัปดาห์ มักจะแสดงอาการโลหิตเป็นพิษ (Septicemia) อาการทั่วไปของโรค คือถ่ายเหลวมีเลือดปนออกมา อาจมีกลิ่นเหม็น มีเยื่อเมื่อกหรือมูก ไข้สูง (105-107 องศาฟาเราไฮท์) ซึม เบื่ออาหารอ่อนเพลีย ร่างกายขาดน้ำและซูบผอมอย่างรวดเร็ว บางครั้งมีอาการปวดท้องกระวนกระวายกระหายน้ำร่วมด้วย โคอาจตายภายใน 6-36 ชั่วโมง และบางตัวอาจตายภายใน 2-5 วัน หลังแสดงอาการ โคที่กำลังให้นม น้ำนมจะลดลงหรือหยุดเลย โคที่ท้องจะแท้ง ถ้าเป็นอย่างเฉียบพลัน โคจะตายอย่างกระทันหันโดยไม่แสดงอาการ
อาการแบบไม่รุนแรงหรือเรื้อรัง มักเป็นกับโค อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยมีอาการเบื่ออาหาร ไข้สูงๆ ต่ำๆ น้ำหนักลด ซูบผอม เซื่องซึม เลี้ยงไม่โต ขนหยาบ กระด้าง
ท้องป่อง ท้องเสียอาจมีเลือดหรือมูกปน ร่างกายขาดน้ำ และผอมลงเรื่อยๆ
โคที่เป็นโรคนี้ อาจมีอาการทางระบบหายใจ เช่น ไอ น้ำมูกไหล และปวดบวมร่วมด้วย
3. คลอสตริเดียล เอนเตอโรท๊อกซีเมีย (Clostridial enterotoxaemia) เกิดจากพิษของเชื้อ คลอสตริเดียม เพอฟรินเจน (Clostridium perfringens) ทำให้เกิดลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง (Severe hemorrhage enterotoxaemia) หรือ เกิดเนื้อตายที่ลำไส้ (Necrotizing enteritis) อาการที่พบ คือ ท้องเสีย อาจมีมูกเลือดปน ปวดท้องอย่างรุนแรง น้ำลายไหล เดินโซเซ งุ่มง่าม มึนงง บางครั้งมีอาการทางประสาท ในรายที่เป็นอย่างเฉียบพลันสัตว์จะตายภายใน 2-3 ชั่วโมง โดยไม่แสดงอาการ
4. อาการที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักเป็นกับโคอายุ 1-21 วัน แต่พบมากในลูกโคอายุ 5-10 วัน มีอาการถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีเหลืองซีดหรือสีเทา มีมูกหรือนมปน บางรายพบว่า
มีเนื้ออุจจาระออกมามาก มีสีเขียวคล้ำหรือน้ำตาลอ่อนและมีมูกปน ลูกโคจะมีอาการเซื่องซึม มีไข้ เบื่ออาหาร ถ้ามีเชื้อแบคทีเรีย หรือการจัดการ และการสุขาภิบาลไม่ดี อาการจะรุนแรงมากขึ้น อาการขาดน้ำอย่างรุนแรงและซูบผอมอาจเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง และมีการติดต่อระหว่างลูกโคอย่างรวดเร็ว
5. อาการที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนใหญ่เกิดกับโคโต เนื่องจากกินอาหารที่มีเชื้อราปนเปื้อน หรือกินยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ทำให้เกิดทางเดินอาหารอักเสบ อาการท้องเสียมักเป็นแบบเรื้อรัง อุจจาระมีสีเหลืองหรือสีคล้ำ สัตว์มีอาการ ซึม เบื่ออาหาร ซูบผอม ถ้าเกิดจากอะฟล่าท๊อกซิน จะมีอาการดีซ่าน (Jaundice) ร่วมด้วยรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมักไม่ได้ผล
6. อาการที่เกิดจากอาหารไม่ย่อย มักเป็นกับลูกโคอายุไม่เกิน2เดือน มีอาการท้องร่วง ซึม อ่อนเพลีย ซูบผอม ท้องป่อง ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ถ้าพลิกตัวไปมาจะได้ยินเสียงก้อนนมกลิ้งอยู่ภายในกระเพาะ อุจจาระมีสีเหลืองซีด บางครั้งมีสีคล้ำ อาจมีเลือดออกมาด้วย ถ้ามีเชื้อแบคทีเรียแทรก อุจจาระจะมีสีขาวหรือเหลืองขาว ถ้าเป็นแบบเรื้อรัง ลูกโคจะ
ซูบผอมลงเรื่อยๆ แคระแกรน มีท้องร่วงเรื้อรัง
อาการที่เกิดจากการขาดธาตุทองแดง ส่วนใหญ่เป็นกับโค อายุ 3 เดือนถึงโตเต็มที่ อาการทั่วๆไปคือ ท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักลด โลหิตจาง ขนเปลี่ยนสี และมักพบเป็นทั้งฝูง
7. อาการจากพิษของสารเคมี เป็นกับโคได้ทุกอายุ อาการที่พบทั่วๆ ไป คือ ท้องเสียอย่างรุนแรง มีเลือดหรือมูก บางครั้งมีกลิ่นเหม็น ปวดท้อง อาจมีอาการขาดน้ำ หรืออาการทางประสาท เช่น ชัก กล้ามเนื้อสั่น โคอาจตายภายใน 4-8 ชั่วโมง หลังแสดงอาการ
การรักษา
แยกตัวป่วยออกจากฝูง ให้อยู่ในที่อบอุ่น สะอาดและแห้ง
หยุดกินนมประมาณ 2 วัน หรือลดปริมาณน้ำนมที่ให้ลง แล้วให้เกลือแร่และน้ำตาลแทน
ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Streptomycin, Neomycin, Ampicillin, Amoxycillin, Terramycin, Aureomycin หรือ Sulfonamide เป็นต้น และให้อีเล็กโตรไลท์ (electrolyte) และยาเคลือบกระเพาะ
ในรายที่เกิดจากอาหารไม่ย่อย หรือกินอาหารหรือนมมากเกินไป ถ้าอาการ
ไม่รุนแรงและนมที่จับเป็นก้อนในกระเพาะมีขนาดเล็ก ให้กินน้ำมันละหุ่ง (Castor oil)
การควบคุมและป้องกัน
การสุขาภิบาลที่ดี และการให้อาหารอย่างถูกต้อง จะช่วยลดการเกิดโรคได้ เช่น
ให้ลูกโคกินนมน้ำเหลืองทันทีภายใน 15-30 นาที หลังคลอดและให้กินเต็มที่
ภายใน 12 ชั่วโมง แล้วกินติดต่อกันอีก 3-4 วัน
ลดการติดเชื้อหลังคลอด ได้แก่ คอกคลอด คอกลูกโค รางน้ำ และอาหาร
ต้องสะอาดและแห้งอยู่เสมอ สายสะดือลูกโคต้องตัดอย่างสะอาด และฆ่าเชื้อโรคด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนทำความสะอาดเต้านมทุกครั้งที่ให้ลูกกิน หรือรีดนมแล้ว และถ้ามีลูกโค แสดงอาการป่วยให้แยกไว้ต่างหาก
ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วนและสะอาด สำหรับแม่โคก่อนคลอดควรให้กินอาหารอย่างเพียงพอโดยเฉพาะวิตามิน ส่วนลูกโคถ้าให้กินหางนม (skim milk) ต้องเพิ่มวิตามินเอด้วย
ลดความเครียดต่างๆ เช่น คอกสะอาดไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อยู่ในที่หนาวเย็น ร้อน หรือ ถูกฝนมากเกินไป ไม่ให้ลูกโคอยู่กันแน่นเกินไปและ
ไม่เลี้ยงรวมกับโคที่มีอายุ
ให้ยาถ่ายพยาธิ และตรวจโรคในฝูง อย่างสม่ำเสมอ
ล้างคอกสัตว์ป่วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
การเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ

เก็บอุจจาระ อวัยวะภายในที่มีวิการ ลำไส้ที่มีอาหารแล้วผูกหัวท้ายไว้แช่ในภาชนะที่
ควบคุมความเย็นนำส่งห้องปฏิบัติการ


โรคพาราทูเบอร์คูโลซิส (Paratuberculosis, Johne's diseases)


โรคนี้เป็นโรคติดต่อ เรื้อรังในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้แก่ โค กระบือ แพะ และแกะ ลักษณะที่สำคัญของโรค คือ ทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการท้องเสียเรื้อรังมีผลทำให้เกิดความสูญเสียทาง เศรษฐกิจอย่างมาก
สาเหตุและการแพร่โรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไมโคแบคทีเรียม พาราทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) เชื้อสามารถเจริญเติบโตและฟักตัวอยู่ได้นาน2ปีหรือมากกว่านี้ในสัตว์ป่วยโดย ยังไม่แสดงอาการ และสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นานหลายปี สัตว์ป่วยจะปล่อยเชื้อออกมาพร้อมกับอุจจาระ โดยสัตว์นั้นจะสามารถปล่อยเชื้อออกมากับอุจจาระได้
ก่อนแสดงอาการถึง 15 เดือน การติดต่อและการแพร่กระจายของโรคจึงเกิดจากการกินอาหาร น้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน ลูกโคอายุแรกเกิดถึง 6 เดือน จะติดโรคได้ง่าย
อาการ
ท้องเสียอย่างเรื้อรัง กินน้ำบ่อย น้ำหนักลด เมื่อสัตว์อยู่ในภาวะเครียด เช่น
การขนย้ายสัตว์ การคลอดลูก สัตว์จะแสดงอาการรุนแรงมากขึ้น ในที่สุดจะขาดน้ำ
อย่างรุนแรง และตายได้ ในโคนมน้ำนมจะลดในระยะที่ยังไม่แสดงอาการท้องเสีย
โคที่เป็นโรคยังกินอาหารได้ปกติ แต่กินน้ำมากกว่าปกติ อุจจาระเหลวใสเป็นเนื้อเดียว
ไม่มีกลิ่นผิดปกติ ไม่มีเลือดหรือมูกปน อาการท้องเสียเป็นติดต่อกันตลอดไป
หรือเป็นๆ หายๆ ก็ได้
การตรวจวินิจฉัย
เนื่อง จากสัตว์ที่เป็นตัวอมโรคมักจะไม่แสดงอาการให้เห็น การเฝ้าระวังโรค จึงต้องใช้วิธีการตรวจทางซีรั่มวิทยา เพื่อทำการคัดแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง ส่วนสัตว์ที่แสดงอาการของโรคแล้วก็จะต้องทำการวินิจฉัยยืนยันการเป็นโรค แบะแยกออกจากฝูงทันที
การวินิจฉัยโรคมีดังนี้
1. การตรวจหาเชื้อ ไมโคแบคทีเรียม พาราทูเบอร์คูโลซิส
     - การผ่าซาก ตรวจดูลักษณะวิการของโรคที่ลำไส้ และต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
พบลำไส้หนาตัวขึ้น ต่อมน้ำเหลืองบวมโต
     - การตรวจทางจุลพยาธิวิทยา และย้อมสีพิเศษซีลเนลเสน
     - ตรวจอุจจาระโดยการย้อมสีพิเศษซีลเนลเสน
     - การเพาะเชื้อแบคทีเรีย จาก อุจจาระ ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่มีวิการของโรค
     - การตรวจดีเอ็นเอ
2. การตรวจทางซีรั่มวิทยา เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ ไมโคแบคทีเรียม พาราทูเบอร์คูโลซิส มีหลายวิธี เช่น คอมพลีเมนต์พิกเซชั่นเทสต์ อีไลซ่า เป็นต้น

การรักษา
การรักษาไม่ ได้ผล ยาปฏิชีวนะบางตัวมีผลเพียงเล็กน้อยในการทำให้สัตว์ป่วยหยุดแสดงอาการเพียง ระยะหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีการรักษาสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้ วัคซีนไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากไม่ให้ผลคุ้มโรค
การควบคุมและป้องกัน
ตรวจสุขภาพสัตว์ประจำปีพบสัตว์ที่สงสัยเก็บซีรั่มและอุจจาระส่งห้องปฏิบัติการ
คัดแยกตัวสงสัยว่าเป็นโรคออกจากฝูงและทำลายสัตว์ป่วย
ควรเน้นการจัดการฟาร์มและดูแลความสะอาดของฟาร์ม
แยกเลี้ยงลูกโคจากแม่ที่เป็นโรคหรือสงสัยว่าเป็นโรคทันทีหลังคลอด



ตัวอย่างที่เก็บจากสัตว์ขณะมีชีวิต ได้แก่ ซีรั่ม อุจจาระ
ตัวอย่างที่เก็บจากสัตว์ที่ตายแล้ว
- ส่งตรวจแยกหาเชื้อแบคทีเรีย : ให้เก็บอุจจาระพร้อมลำไส้บริเวณรอยโรค ต่อมน้ำเหลือง แช่เย็นส่งห้องปฏิบัติการ หากส่งไม่ทันให้เก็บแช่แข็ง
- ส่งตรวจทางจุลพยาธิวิทยา : เก็บลำไส้
และต่อมน้ำเหลืองที่มีรอยโรคแช่ในน้ำยาฟอร์มาลินบัฟเฟอร์ 10% และส่งห้องปฏิบัติการ


ช่องคลอด (มดลูก) ทะลัก (Vaginal prolapse)


ช่องคลอด (มดลูก) ทะลัก คือการที่มดลูกโผล่ออกมาภายนอกร่างกาย โดยมากจะพบ
ในระยะหลังคลอดแม่โคจะเบ่งดันส่วนของปากมดลูก และโพรงปากมดลูก (vagina)
บางส่วนหรือทั้งหมดออกมาทางปากช่องคลอด

สาเหตุ
1. มักพบในแม่โคที่มีอายุมากและให้ลูกมาหลายตัวแล้ว ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณ
ปากช่องคลอดหย่อนหรือไม่แข็งแรง
2. แม่โคผอมหรือขาดการออกกำลังกายในระยะก่อนคลอด
3. เกิดจากการขาดแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซี่ยม
4. เกิดจากความผิดปกติภายในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดเบ่ง เช่น กระเพาะลำไส้อักเสบจากการติดพยาธิ โดยเฉพาะพยาธิกลุ่มตัวกลมในกระเพาะลำไส้ (Gastro-intestinal nematode) เช่น พยาธิตัวกลมขนาดเล็กสีแดง (Mecistocirrus spp.)
5. รกค้าง
การแก้ไข
ให้ลดขนาดมดลูกที่บวมน้ำ ให้เล็กลงโดยใช้น้ำตาลทรายทาบริเวณมดลูกจากนั้นใช้ยาชา (2% xylocain) ฉีดเข้าบริเวณช่องไขสันหลังส่วนล่าง (low epidural anesthesia) ประมาณ 5-8 ซี.ซี. ตามขนาดแม่โค จากนั้นใช้มือกำแน่นดันส่วนของมดลูกที่ไหลออกมาให้คืนกลับเข้าไปในช่องท้อง แล้วสอดยาปฏิชีวนะชนิดเม็ดเข้ามดลูก จากนั้นจึงเย็บปากช่องคลอดไว้ชั่วคราวด้วยไหมละลายขนาดใหญ่ แล้วฉีดฮอร์โมนพวกออกซีโทซิน (oxytocin) เพื่อให้มดลูกมีการหดตัวโดยทั่วไปภายใน 1 สัปดาห์จะตัดไหมที่เย็บไว้ออกได้
อย่างไรก็ดีควรหาสาเหตุและทำการแก้ไขสาเหตุ เช่น กรณีแม่โคเป็นโรคพยาธิภายใน
ควรทำการถ่ายพยาธิ จะช่วยลดอาการปวดเบ่งในแม่โคทำให้การรักษามดลูกทะลัก
ได้ผลดียิ่งขึ้น
การป้องกัน
1. เสริมแร่ธาตุก้อนหรือชนิดผงให้แม่โคได้เลียกินเป็นประจำ
2. ให้ยาถ่ายพยาธิภายในแก่แม่โคเป็นประจำ
3. ถ้าแม่โคมีอายุมากและเคยเป็นมดลูกทะลักมาก่อน ควรพิจารณาคัดแม่โคออกจากฝูง เพราะอาจจะเกิดซ้ำได้อีกเมื่อมีการคลอดลูกตัวต่อไป



โรคแท้งติดต่อ (Bovine brucellosis)



หรือชื่อทางการแพทย์เรียกว่า โรคบรูเซลโลซีส เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่สำคัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค กระบือ สุกร แพะ
 ม้า สุนัข เป็นต้น โรคนี้สามารถติดต่อถึงคนได้
 ลักษณะที่ควรสังเกตของโรคนี้ คือ สัตว์จะแท้งลูกในช่วงท้ายของการตั้งท้อง และอัตราการผสมติดในฝูงจะต่ำ  

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พบมีการแพร่ระบาดในทุกประเทศของโลก โดยเฉพาะ โคนม ซึ่งโคทุกอายุ สามารถติดเชื้อ นี้ได้ แต่ในโคสาว 
แม่โค โคตั้งท้อง และโคเพศผู้ที่โตเต็มวัย สามารถติดเชื้อนี้ได้ง่ายกว่าลูกโค การติดเชื้อเกิดจากการกินอาหาร น้ำที่มีเชื้อปะปน ซึ่งเชื้อนี้จะ
 ออกมากับน้ำปัสสาวะ น้ำนม น้ำคร่ำของโคที่เป็นโรค หรืออาจติดเชื้อได้โดยการสัมผัสโดยตรง เชื้อเข้าทางผิวหนังเยื่อชุ่ม โดยการหายใจ
 การผสมพันธุ์โดย วิธีธรรมชาติ   

อาการ
แม่โคจะแท้งลูกในระยะตั้งท้องได้ 5 - 8 เดือน จะมีรกค้าง และมดลูกอักเสบตามมาเสมอ การแท้งมักเกิดขึ้นในการ ตั้งท้องแรกเท่า
นั้น หลังจากนั้นอาจไม่แท้ง แต่จะเป็นตัวอมโรคแพร่ไปยังโคตัวอื่น ๆ ได้ โคเพศผู้ ลูกอัณฑะจะบวมโตข้างหนึ่ง และเป็นหมัน ในคนจะมี
อาการ หนาวสั่นไข้ขึ้น ๆ ลง ๆ มีเหงื่อออกมาก ในเวลากลางคืนจะปวดเมื่อยตามข้อ และตามกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียเบื่ออาหาร ตัวเหลืองซีด 

การรักษา
มักไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร ที่สำคัญควรควบคุมและป้องกัน โดยตรวจโรคทุก ๆ 6 เดือนในฝูงโคที่ยังไม่ปลอดโรค และ ทุกปีในฝูงโค
ที่ปลอดโรค สัตว์ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคควรจะแยกออกจากฝูง
คอกสัตว์ป่วยด้วย โรคนี้ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด แล้วทิ้งร้างไว้อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนนำสัตว์ใหม่เข้าคอก ทำลายลูกที่แท้ง รก 
น้ำคร่ำ โดยการฝังหรือเผา แล้วทำความสะอาดพื้นที่นั้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ กำจัด นก หนู แมลง สุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงอื่น ซึ่งเป็นตัวแพร่
โรคออกไป สัตว์ที่นำมาเลี้ยงใหม่ ต้องปลอดจากโรคนี้ก่อนนำเข้าคอก โคพันธุ์ที่ใช้ต้องไม่เป็นโรคนี้ และควรฉีดวัคซีน ป้องกันโรคนี้ในโค
 กระบือ เพศเมีย อายุ 3 - 8 เดือน ซึ่งจะทำให้มีภูมิคุ้มกันโรคได้นานถึง 6 ปี 



โรคปากและเท้าเปื่อยหรือ FMD (Foot and Mouth Disease)
           โรคปากและเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกษตรกรมักไม่ให้ความสนใจเพราะคิดว่าสัตว์ที่ ป่วยเป็นโรคแล้วไม่ตายมีอัตราการตายต่ำ การระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้อัตราการป่วยของโรคค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในกลุ่มสัตว์ที่ไม่มีภูมิ คุ้มกันโรค มีผลทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณอย่างมากในการรักษาและการควบคุมการแพร่ระบาด ที่สำคัญสูญเสียโอกาสในการส่งออกปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศ ทำให้เสียเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ประเทศผู้ซื้อจะใช้เป็นเงื่อนไขในการไม่รับซื้อสินค้าจากประเทศไทย ทั้งยังไม่สามารถนำสัตว์มาใช้งานได้ จึงอยากชี้แจงให้เกษตรกรรู้และเข้าใจโรคปากและเท้าเปื่อย เพื่อประโยชน์ในการดูแลสัตว์อย่างถูกต้อง
สาเหตุของโรค
          เกิดจากเชื้อไวรัสมี 7 ชนิด ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ ชนิดโอ (O) ชนิดเอ (A) ชนิดเอเชียวัน (Asia -1) ซึ่งเชื้อไวรัสแต่ละชนิดจะไม่มีภูมิคุ้มกันซึ่งกันและกัน เช่น สัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคชนิดโอ ก็ไม่สามารถกันโรคที่เกิดจากชนิดเอได้ 
ประเภทของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคนี้
          โรคนี้มักเกิดในสัตว์กีบคู่ทุกชนิด เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร และอาจ พบใน กวาง ช้าง อูฐ รวมทั้งในคนได้อีกด้วย แต่การติดเชื้อในคนสามารถติดจากบาดแผลทางผิวหนังหรือเยื่อบุช่องปาก การติดเชื้อจะเป็นแบบชั่วขณะมีความรุนแรงน้อย บางโอกาสจึงจะแสดงอาการ เช่น มีตุ่มที่มือ เท้า แต่การเกิดโรคปากและเท้าเปื่อยในคนจะเกิดได้ยากมาก
การติดต่อของโรค
           โรคปากและเท้าเปื่อยนี้แพร่ระบาดรวดเร็ว และกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคนี้สามารถแพร่ระบาดได้จาก การได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนมากับยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสัตว์ คน เสื้อผ้า รองเท้า อาหาร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ภายในคอกสัตว์ การสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง หรือสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ป่วย เช่น น้ำนม ลมหายใจ น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ ของเหลวจากตุ่มใส สัตว์ป่วยสามารถแพร่โรคได้แม้จะยังไม่แสดงอาการหรืออยู่ในระยะฟักตัว ในสัตว์แต่ละชนิดปริมาณไวรัสที่ขับออกมาจะ แตกต่างกัน ในสุกรขับออกมาทางลมหายใจมากกว่าโค 30 - 1,000 เท่า สุกรจึงเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคที่สำคัญ โรคปากและเท้าเปื่อยนี้แพร่ระบาดได้ อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในที่มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง 
อาการของโรค
ในระยะแรก หลังจากได้รับเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อย 2 - 8 วัน สัตว์จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร เกิดเม็ดตุ่มใสที่เยื่อบุภายในช่องปาก หรือลิ้น หรือ เหงือก หลังจากนั้นตุ่มใสจะแตก และเนื้อเยื่อจะลอก ทำให้สัตว์เจ็บปาก กินอาหารลำบากจน กระทั่งกินอาหารไม่ได้ 
       ในระยะที่สอง เชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิต และกระจายไปทั่วร่างกาย ผิวหนังที่เท้าจะบวมแต่ง มีน้ำเหลืองขังอยู่ภายใน แล้วแตกออกเป็นแผล มักพบบริเวณไรกีบหรือซอกกีบ ซึ่งอาจเปื่อย ลอกคราบ และอาจทำให้ขาสัตว์เสียได้ นอกจากนั้นหากเกิดในโคนม จะทำให้อัตราการให้นมลดลง และจะหยุดให้นมในที่สุด หากเกิดในโคเนื้อและสุกร จะทำให้สัตว์น้ำหนักลด มีผลให้เกษตรกร สูญเสียทั้งเงินและเวลาในการเลี้ยง และหากเกิดในสัตว์ที่กำลังท้องอาจทำให้สัตว์เกิดการแท้ง และมีปัญหาการผสมไม่ติดได้
การตรวจวินิจฉัยโรค
          -  การสังเกตจากอาการของสัตว์ป่วย เช่น น้ำลายไหล ขาเจ็บ เมื่อเปิดปากตรวจ พบมีตุ่มใสหรือแผลบริเวณ ลิ้น เหงือก เยื่อบุในช่องปาก แผลบริเวณซอกกีบ ไรกีบ บางรายมีการลอกของกีบ
          -  การตรวจยืนยันจากห้องปฏิบัติการ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำจากตุ่มใส หรือเนื้อเยื่อของตุ่มใสที่แตกออกทั้งในบริเวณ ลิ้น เหงือก เยื่อบุในช่องปาก บริเวณกีบ ใส่ขวดที่สะอาดมี 50 % กลีเซอรีนบัฟเฟอร์ ผสมอยู่ นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมกรอกประวัติสัตว์ที่ป่วยโดยละเอียด เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการโดยวิธี ELISA Test เพื่อทำการจำแนกชนิดของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD Typing) ว่าสัตว์ป่วยด้วยเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดใดหรือทำการแยกเชื้อไวรัส



การควบคุมและ ป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย  
1.   การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 
2.   การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โรคปากและเท้าเปื่อย โดยการฉีดวัคซีน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 
3.   การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ 
4.   การทำลายสัตว์ป่วย 
      -   กรณีที่เกิดโรคปากและเท้าเปื่อย ขึ้นในพื้นที่ที่ประกาศเป็นเขตปลอดโรคแล้ว ให้ทำลาย 100 เปอร์เซ็นต์ทันที 
      -   กรณีที่เกิดโรคปากและเท้าเปื่อยขึ้นในพื้นที่ ที่ยังไม่ได้มีการประกาศเป็นเขตปลอดโรค ให้ทำลายเฉพาะกรณี ที่ทำลายแล้วสามารถควบคุมโรคได้ 
      -   กรณีที่ตรวจพบโรคในสัตว์ที่เคลื่อนย้ายไปต่างท้องที่ การทำลายสัตว์ป่วยตามระเบียบที่กรมปศุสัตว์กำหนด สามารถชดใช้เงินให้แก่เจ้าของสัตว์ไม่เกิน 75% ของราคาสัตว์ในท้องตลาดขณะนั้น ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ยกเว้นกรณีเจ้าของสัตว์จงใจ กระทำผิดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ 2499 ส่วนการเบิกจ่ายเงินชดใช้ กรณีทำลายสัตว์ให้เบิกจ่ายให้เบิก จ่ายงบประมาณเงินหมวดอุดหนุน






พันธุ์และลักษณะโคเนื้อ


ในอดีต การเลี้ยงโคเนื้อในประเทศไทยเน้นหนักไปในทางการใช้แรงงาน เช่น ช่วยในการไถนา หรือทำไร่ เมื่อโคเหล่านี้
มีอายุมาก ใช้แรงงานไม่ไหว เจ้าของมักจะส่งเข้าโรงฆ่า ดังนั้นเนื้อโคที่ใช้บริโภคในอดีต มักจะมาจากโคที่ใช้แรงงาน
เหล่านี้ถูกขายเข้าโรงฆ่าเมื่อมีอายุมาก หรือหมดสภาพที่จะใช้แรงงานได้ ซึ่งเนื้อที่ได้จากโคที่ใช้แรงงานเหล่านี้ จะเป็น
เนื้อคุณภาพต่ำ เนื้อจะเหนียว มีไขมันแทรกในเส้นใยกล้ามเนื้อน้อย ไขมันหุ้มซากจะเป็นสีเหลือง เรียกว่า เนื้อวัวมัน ขาย
ไม่ได้ราคาเท่าใดนักและไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ หรือตลาดเนื้อคุณภาพสูงในประเทศ

และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาความรู้เรื่องโคเนื้อ และการขุนโคเพื่อให้ได้เนื้อมีคุณภาพดีมากขึ้น ทำให้เกิดการ
ปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อ มีการขุน เพื่อให้โคโตเร็ว มีไขมันแทรกตามเส้นใยกล้ามเนื้อ จนเนื้อมีความนุ่มและฉ่ำ จนกลาย
เป็นเนื้อคุณภาพดี เนื้อที่มีคุณภาพดีเหล่านี้ จะขายได้ราคาและเป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อคุณภาพสูงภายในประเทศ
เช่นตามโรงแรมต่าง ๆ และตลาดเนื้อคุณภาพสูงของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ปัจจุบันได้เกิดธุรกิจการเลี้ยงโคขุนขึ้น
และได้แพร่กระจายอยู่เกือบทุกภาคของประเทศ แต่ก่อนจะทราบถึงวิธีการเลี้ยงโคเนื้อหรือการขุนโค ควรรู้เรื้องพันธุ์โค
เนื้อและลักษณะโคเนื้อที่ดีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องการเลี้ยงและการขุนต่อไป



โคพันธุ์ขาวลำพูน
  โคพันธุ์ขาวลำพูน เป็นโคพันธุ์พื้นเมืองในภาคเหนือของไทย โดยเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว พ่อค้าที่อยู่ตามแนวชายแดน
ไทย-พม่า แถบแม่ฮ่องสอน ได้เคลื่อนย้ายโคมาจากพม่าเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายกับสินค้าอื่น ๆ โดยถ้ามีรูปร่างสวยงาม
เป็นที่ถูกใจก็จะคัดเอาไว้เลี้ยง และแม่พ่อค้าโคชาวของหรือไทยของซึ่งมีถิ่นฐานในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูนได้พบเห็นและ
ชอบใจในโคเหล่านี้จึงได้ซื้อและได้นำมาเลี้ยงผสมพันธุ์ในกลุ่มโคขาวด้วยกันเอง จนได้ลูกหลานโคที่มีผิวและขนขาวเด่น
รูปร่างสวยเพรียวขึ้นแตกต่างไปจากเดิม
เป็นโคที่มีลักษณะสวยเพรียว สันทัด สีขาวปลอด ขนตาออกสีขาวชมพู ดวงตาสีน้ำตาลอ่อน เขาสีขาว จมูกสีขาว 
ขนหางสีขาว กีบสีขาว เหนียงไม่หย่อนยานมาก มีนิสัยเชื่อง ไม่ดุ ฝึกสอนง่ายสามารถใช้ไถนาเทียมเกวียนได้อย่างดี
ได้รับความนิยมสูงในเกษตรกรภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นพันธุ์โคเอกลักษณะของจังหวัด
ลำพูน ซึ่งสมควรจะได้รับการอนุรักษ์ไว้ต่อไป (จุลสารผสมเทียม "40 ปี งานผสมเทียมในประเทศไทย")
โคพันธุ์ชาโรเลส์(Charolais) เป็นโคสายพันธุ์ยุโรป (Bos taurus) ได้รับการเรียกชื่อตามแหล่งกำเนิด  คือ
เมืองชาโรเลส์(Charolles) ในแคว้นเบอร์กันดี (Burgandy)ทางตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างปี ค.ศ. 
ี1850-1880 มีการนำโคพันธุ์ชอร์ทฮอร์น (Shorthorn) มาผสมข้ามพันธุ์เพื่อปรับปรุงให้มีลักษณะของโคเนื้อที่ดี
ียิ่งขึ้น ได้มีการยอมรับเป็นพันธุ์โคอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1864 และสามารถจัดเป็นพันธุ์แทและจดทะเบียน
้ลักษณะสายพันธุ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นพันธุ์หลักของประเทศฝรั่งเศสที่ใช้ผลิตเป็นพ่อแม่พันธุ์
หรือเป็นโคขุนส่งออกไปขายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โคพันธุ์ชาโรเลส์ได้มีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 
2515
โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคที่มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันมากในแหล่งเลี้ยง
โคเนื้อทั่วโลกว่า สามารถให้ลูกผสมที่มีคุณลักษณะทางเศรษฐกิจดีเด่นหลายประการ เช่น อัตราการเจริญเติบโตเร็ว 
มีโครงร่างที่ใหญ่ มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร (Feed conversion)สูง และสร้างเนื้อคุณภาพ
ดีได้มาก ฯลฯ
โคพันธุ์อเมริกันบราห์มัน (American Brahman) เป็นโคเนื้อเมืองร้อนสายพันธุ์โคอินเดีย (Bos
indicus) ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศอเมริกาโดยนำไปปรับปรุงพันธุ์ทางตอนใต้ของอเมริกา ซึ่งเป็น
แถบที่มีอากาศร้อนและมีเห็บมาก โคพันธุ์นี้ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาจากโคพันธุ์ในประเทศอินเดีย เช่น กูจาราต, 
เนลลอร์ และเกอร์รี่ กับพันธุ์อินดูบราซิลจากประเทศบราซิล ดังนั้น จึงตั้งชื่อว่าบราห์มัน ซึ่งแผลงมาจากคำว่าพราหมณ์ 
เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศอินเดีย และใส่อเมริกันไว้ข้างหน้า เพื่อให้ทราบว่าปรับปรุงพันธุ์จากประเทศอเมริกา ทาง
กรมปศุสัตว์ได้ทดลองนำเข้าโคพันธุ์นี้ครั้งแรกจากประเทศอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2497 หลังจากนั้นก็มีการนำเข้า
เป็นระยะ ๆ ทั้งจากหน่วยงานราชการและเอกชน ปัจจุบันเป็นที่นิยมของเกษตรอย่างมากโดยเฉพาะภาคอีสาน อีกทั้ง
ยังนิยมใช้เป็นโคพื้นฐานในการผสมพันธุ์กับโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรปอื่น ๆ เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพ
ภูมิอากาศแบบเมืองร้อนและมีความทนทานต่อโรคและแมลงดี เกิดเป็นโคพันธุ์ผสมที่ดีเด่นได้หลากหลายเช่น โคพันธุ์
ชาร์เบรย์ (Chabray), พันธุ์แบรงกัส(Brangus), พันธุ์บราห์ฟอร์ด(Brahford),
ซิมบราห์(Simbrah) ฯลฯ
โคพันธุ์เฮียร์ฟอร์ด(Hereford) มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ จัดเป็นโค
ที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ โคเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัม 
โคเพศเมียมีน้ำหนัก 800 กิโลกรัม รูปร่างเตี้ยและสั้น และมีสีขาวบริเวณหน้า 
หน้าอก เหนียงคอ พื้นท้อง โคพันธุ์นี้มักมีสุขภาพทางเพศดี สามารถให้ลูกได้
มากกว่าโคยุโรปพันธุ์อื่น ๆ แต่คุณภาพซากมักจะสู้โคยุโรปพันธุ์อื่น ๆ ไม่ได้

 โคพันธุ์ชอร์ทฮอร์น(Shorthorn) เป็นโคที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศอังกฤษทางตอนเหนือ เป็น
โคขนาดกลาง โคเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 850 กิโลกรัม โคเพศเมียมีน้ำหนักเฉลี่ย 600 กิโลกรัม มีเขาสั้น ขนหยิก
หน้าสั้น คอสั้น รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ลำตัวกว้างลึก ลำตัวสีแดงขาวหรือสีแดงแกมขาว
โคพันธุ์แองกัส(Angus) มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศสก๊อตแลนด์ เป็นโคขนาดกลางถึงเล็ก โคเพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 900 
กิโลกรัม โคเพศเมียมีน้ำหนักประมาณ 600 กิโลกรัม โคพันธุ์นี้จะมีสีดำตลอด
ตัว ไม่มีเขา ถึงวัยเจริญเร็ว แม่โคเลี้ยงลูกเก่ง โคพันธุ์นี้มีไขมันแทรกใน
กล้ามเนื้อมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ทำให้เนื้อมีคุณภาพดีเยี่ยม แต่มีข้อเสียคือ 
เนื่องจากมีขนาดเล็กอัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมไม่ดีนัก พร้อมทั้ง
ปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย คือ ร้อนชื้นไม่ดี
โคพันธุ์ลิมัวซิน(Limousin) เป็นโคที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส 
นำเข้าประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2520 โดย กรป.กลาง  (นิตยสารโคบาล
แมกกาซีน ปีที่ 2 ฉบับที่ 16 เดือน พฤศจิกายน 2548)   เป็นโคขนาดกลาง
ถึงใหญ่ โคเพศผู้หนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม โคเพศเมียหนักประมาณ
650 กิโลกรัม มีสีเหลืองอ่อนตลอดลำตัว บริเวณขอบตาและจมูก สีจะอ่อน
กว่าบริเวณลำตัว ลำตัวยาว หัวจะสั้น หน้าผากกว้าง จมูกกว้าง เขาขนานกับ
พื้นและปลายจะโค้งงอขึ้นข้างบน อกกลม ซี่โครงโค้งมีกล้ามเนื้อหลังเต็ม
บริเวณสะโพกมีกล้ามเนื้อมาก อัตราการเจริญเติบโตดี ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักสูง
คุณภาพซากดีปานกลาง มีเนื้อแดงมากแต่ความชุ่มฉ่ำมีน้อย
โคพันธุ์เดร้าท์มาสเตอร์ (Droughtmaster) มีแหล่งกำเนิดอยู่ในรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย เกิดจากการ
ผสมข้ามพันธุ์ระหว่างโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรป (Bos taurus)ได้แก่ พันธุ์เดวอน, ชอร์ทฮอร์น, เฮียร์ฟอร์ด
กับโคเนื้อสายพันธุ์อินเดีย (Bos indicus)ได้แก่พันธุ์อเมริกันบราห์มัน และมีสายเลือดพันธุ์ซานตา เกอร์ทรูดิส
ผสมอยู่ด้วย ในประเทศไทยได้มีการสั่งนำเข้ามาเลี้ยงจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2527 ด้วยเงินยืมจาก
กองทุนเกษตรกร นำมาเลี้ยงไว้ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง จ.สระบุรี

: ลักษณะประจำพันธุ์ :
     -ทนร้อนได้ดี เนื่องจากมีต่อมเหงื่อในตัวมาก พิเศษกว่าวัวพันธุ์อื่น ผิวหนังขับเหงื่อได้ดีพอ ๆ กับต่อมน้ำลาย ช่วยให้ขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกจากตัว
ได้ง่าย จึงทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีมาก
    -ผิวสีแดง สามารถจะป้องกันรังสีแสงแดดที่แผดจ้า อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้วัวเกิดโรคก้อนเนื้อในดวงตา(Eye Cancer)และโรคเยื่อตาอักเสบ(Pink eye)
    -คุณภาพเนื้อ เป็นเนื้อคุณภาพดี นุ่มไม่เหนียว สีแดงสด สันนอกและสันในมีเนื้อแดงมาก
    -กินอาหารเก่ง ช่วยให้มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว
    -เหมาะสมทุกพื้นที่ เดร้าท์มาสเตอร์ถูกพัฒนาเพื่อให้อยู่ได้ในทุกสภาพพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาทั่วแถบแปซิฟิค
และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    -เลี้ยงง่ายโตเร็ว มีความสมบูรณ์พันธุ์เร็ว สามารถเลี้ยงปล่อยให้พื้นที่แห้งแล้ง หากินหญ้าตามธรรมชาติที่มีคุณค่าต่ำได้อย่างไม่มีปัญหา
    -ให้ลูกดก กลับเป็นสัดหลังคลอดเร็ว ความสมบูรณ์พันธุ์ดี ผสมติดง่าย เปอร์เซ็นต์การผสมติด 81-92 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้ลูกดกทุกปี
    -เลี้ยงลูกเก่ง มีน้ำนมมาก ช่วยให้ลูกเจริญเติบโตเร็ว มีน้ำหนักเมื่อหย่านมสูง เฉลี่ยอัตราการรอดของลูกเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์