ไปรท์ค่ะYou

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

สุนัขไทยหลังอาน และสุนัขไทยบางแก้ว สุนัขไทยแท้ที่แจ้งเกิดให้คนทั้งโลกรู้


สุนัขไทยหลังอาน ( Thai Ridgeback Dog ) ในปัจจุบันเป็นสุนัขที่รู้จักกันดีทั่วโลก โดยส่วนใหญ่จะรู้จักกันในนามว่า “หมาไทย” ( Mah Thai ) มีการติดต่อสั่งซื้อไปเพาะเลี้ยงกันมากทั้งที่ญี่ปุ่น อังกฤษและอเมริกา จนถึงขึ้นมีการจดทะเบียนสมาคมสุนัขไทยหลังอานขึ้นในต่างประเทศ ดังเช่น Thai Ridgeback Club of The United State [TRCUS] , American Thai Ridgeback Association [ATRA

สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขประจำชาติไทย และเป็นสุนัขสายพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่งของโลก เป็นมรดกของแผ่นดิน เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยทุกคน

ถิ่นกำเนิดสุนัขไทยหลังอาน

สุนัขไทยหลังอานถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ได้อย่างไร มีการวิเคราะห์และศึกษาจากผู้รู้คิดว่าสุนัขไทยหลังอานน่าจะมาจากสุนัขในกลุ่ม Wolf , Fox, Jackal, Coyote สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมืองที่อยู่ในย่านเอเชียตะวันออกในเขตร้อน ซี่ง สุนัขพื้นเมืองในเขตนี้จะดูมีลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น สุนัขในประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย บางแถบของประเทศจีน สุนัขในแถบนี้จะมีกระโหลกศรีษะเป็นสามเหลี่ยมรูปลิ่ม มีกรามใหญ่ที่แข็งแรง มีหูทั้งสองข้างตั้งชัน มีเส้นหลังตรง มีหางตั้งยกขึ้นเหมือนดาบ

แต่สุนัขไทยหลังอานจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะคือมีขนที่เส้นหลังย้อนกลับที่เส้นกลางหลัง ที่สุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ของประเทศต่างๆ ไม่มี และนี่จึงเป็นที่มาของสุนัขไทยหลังอาน

จากตำนานที่พบตามรอยเขียนภาพตามผนังถ้ำในยุคหินใหม่ เราจะเห็นรูปสุนัขหูตั้งหางดาบ และมีการบันทึกเรื่องราวของสุนัขไทย ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสุนัขไทยหลังอาน ซึ่งในสมุดข่อยโบราณใน สมัยพระพิมลธรรม ตอนที่บวชเป็นพระ และภายหลังได้ทรงขึ้นครองราช ได้ทรงพระนามว่า "พระเจ้าทรงธรรม" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาราชวงศ์สุโขทัย พ.ศ.2163-2171 ซึ่งเป็นเวลา 300 กว่าปีมาแล้ว มีใจความในสมุดข่อยโบราณว่า

    "สุนัขตัวมันใหญ่ มันสูงเกินสองศอก มีสีต่างๆ ไม่ซ้ำกัน มันมีขนที่หลังกลับ มันร้ายมันภักดีต่อผู้เลี้ยงมัน มันหากินขุดรูหาสัตว์เล็กๆ มันชอบตามผู้เลี้ยงไปป่าหากิน มันได้สัตว์ มันจะนำมาให้เจ้าของ ถึงต้นยางมีน้ามัน มันมีกำลังกล้าหาญไม่กลัวใคร ธาตุสีทั้งหลาย รัชตะชาด มันมีโคนหาง มันมีหางเป็นดาบชาวป่า ถ้าผู้ใดมีไว้ในครอบครองจะได้รับความภักดีจากมัน"

นี่เป็นคำกล่าวของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่สำรวจ ได้จากสมุดข่อยโบราณจะเห็นได้ว่าสุนัขไทยหลังอานของเรามีมาช้านานจนสามารถที่จะกล่าวได้ว่าสุนัขไทยหลังอาน คือ "สุนัขประจำชาติไทย" ของเรา และเป็นสุนัขที่มีมาแต่โบราณกาล ที่ช่วยปกป้องเตือนภัย ดูแลทรัพย์สิน และช่วยยังชีพในการออกป่าล่าสัตว์ ของคนไทยมาแต่โบราณกาล เราจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า สุนัขไทยหลังอานของเราเคยอยู่คู่กับคนไทยเรามาตั้งแต่นมนาน ได้โดย ถ้าเราไปตามที่ชุมชนดั้งเดิมที่ยังมีการรักษาวัฒนธรรมไทยมาแต่ปู่ย่า ตายาย หรือ ตามพื้นที่นอกปริมณฑล เมื่อชาวบ้านเห็นสุนัขไทยหลังอาน พวกเขาจะเรียกชื่อสุนัขไทยหลังอาน กันอีกชื่อหนึ่งว่า "หมาพราน" เราจะเห็นได้ว่าสุนัขไทยหลังอานเราจะมีความสามารถพิเศษเฉพาะมากมาย ที่สุนัขสายพันธุ์อื่นไม่มีเหมือนหรือเปรียบเทียบได้เลยกับสุนัขไทยหลังอานของเรา ไม่ว่าจะเป็น "สายพันธุ์แท้ดั้งเดิม" ที่มีการพัฒนาด้วยตัวของมันเองมาแต่โบราณกาล มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้ ซี่งพึ่งมีคนหันมาให้ความสนใจในสุนัขไทยหลังอานและนำมาพัฒนาพันธุ์เมื่อไม่นานมานี้ มาช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์สุนัขประจำชาติไทยกันเถอะค่ะ



ประวัติความเป็นมาของสุนัขบางแก้ว

ข้อมูลจากตำนานบอกเล่าจากคนเก่าแก่บ้านบางแก้ว,บ้านชุมแสงสงคราม สรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วอยู่ที่วัดบางแก้ว ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยหลวงพ่อมากซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น ท่านได้เลี้ยงสุนัขไว้มากมายไม่ต่ำกว่า 20 ตัว และแต่ละตัวนั้นสุดแสนที่จะดุ จนเป็นที่ทราบกันดีของชาวบ้านในระแวกนั้นว่า ถ้าใครเข้าไปที่วัดโดยไม่ส่งเสียงเรียกหลวงพ่อ ก็จะต้องถูกไล่กัดกระจุยแน่นอน ด้วยความดุของสุนัขเหล่านี้นี่เอง ทำให้ชาวบ้านนิยมขอลูกสุนัขไปเลี้ยงเฝ้าบ้าน จนแพร่พันธุ์ไปมากมายตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยความที่เป็นสุนัขที่ดุและหวงแหนทรัพย์สิน รักเจ้าของอย่างถวายหัว แถมยังมีขนยาวสวยงาม จึงทำให้เป็นที่นิยมกันในตั้งแต่อดีต แต่ในอดีตนั้นไม่มีการซื้อขาย แต่จะนำสิ่งของไปแลกเปลี่ยน เช่นลูกปืนหรือสิ่งของอื่นๆ ที่ชาวบ้านจำเป็นต้องใช้ไปแลกกับลูกสุนัข หรือถ้าใครมีโอกาสผ่านไปยังบริเวณดังกล่าว ก็จะมีการนำสุนัขบางแก้ว มาเป็นของฝาก ของกำนัลให้กับเจ้านาย ซึ่งในปัจจุบันสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้รับการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องทำให้มีรูปร่างที่สวยงาม โครงสร้างใหญ่ ขนยาว กว่าในอดีต จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากและได้แพร่หลายออกไปทั่วประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น